ชื่อโครงการ
การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในพื้นที่จังหวัดมุกดาหารคำสำคัญ
การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการแบบร่วมมือ,จังหวัดมุกดาหาร,การแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
- สนับสนุนการจัดทำระบบข้อมูลความยากจน และติดตามการช่วยเหลือในการแก้ปัญหาความยากจนของจังหวัดมุกดาหาร
- เพื่อออกแบบกลไก กระบวนการวิจัย และเครื่องมือในการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการทำงานช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดมุกดาหาร
- เพื่อติดตาม วิเคราะห์ ข้อมูลคนจน และหนุนเสริมกลไกพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดมุกดาหาร
- สังเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ระดับครัวเรือน และการทำงานเชิงพื้นที่แก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดมุกดาหาร เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเชิงพื้นที่
เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed Methods) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ คนจนในฐานข้อมูล TPMAP จำนวน 3,320 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า
- การสนับสนุนการจัดทำระบบข้อมูลความยากจน และติดตามการช่วยเหลือในการแก้ปัญหาความยากจนของจังหวัดมุกดาหาร พบว่า ได้มีการวิเคราะห์บริบทและสถานการณ์ความยากจนในจังหวัดมุกดาหาร ตามแนวคิด Livelihood Model ได้ผลการวิเคราะห์ทุนในทั้ง 5 ด้าน เรียงตามลำดับจากน้อยไปหามากดังนี้
(1) ทุนมนุษย์ อ่านออกเขียนได้แต่ขาดการพัฒนาทางด้านอาชีพทางการเกษตรและอาชีพใหม่เพื่อต่อยอดจากอาชีพเดิม เช่น การแปรรูปสินค้าทางการเกษตร
(2) ทุนธรรมชาติ มีที่ดินทำกินแต่เป็น สปก. และ สทก. แต่ขาดแหล่งน้ำในการทำมาหากิน
(3) ทุนการเงิน มีเงินทุนและไม่มีหนี้สิน
(4) ทุนกายภาพ มีไฟฟ้าและอินเตอร์เน็ตใช้
(5) ด้านทุนสังคม มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่ได้รับจากภาครัฐ - การออกแบบกลไก กระบวนการวิจัย และเครื่องมือในการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการทำงานช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดมุกดาหาร พบว่า ได้มีการพัฒนาระบบการส่งต่อและช่วยเหลือคนจน ได้ดำเนินการส่งต่อความช่วยเหลือด้านการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ใน ปี พ.ศ. 2564 ในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้รับความช่วยเหลือจาก พอช. จำนวน 19 ตำบล 90 ครัวเรือน ได้รับความช่วยเหลือจาก พมจ. จำนวน 151 ครัวเรือน รวม 241 ครัวเรือน การส่งต่อการศึกษาทางด้านอาชีพ เพื่อแก้ไขในระยะยาวกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีนักศึกษาจากการสำรวจ จำนวน 22 คน
- การติดตาม วิเคราะห์ และหนุนเสริมกลไกพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดมุกดาหาร พบว่า ได้มีการพัฒนาระบบการค้นหา การสอบทานข้อมูล และการจัดกลุ่มคนจน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยจำนวน 5,060 ครัวเรือน โดยมีจำนวนคนจนจำนวน 19,608 คน โดยข้อมูลคนจนในฐานข้อมูล TPMAP จำนวน 3,320 ครัวเรือน และมีครัวเรือนเพิ่มเติมนอกจากฐานข้อมูล TPMAP จำนวน 1740 ครัวเรือน คณะผู้วิจัยได้จัดประเภทความยากจนในจังหวัดมุกดาหารออกเป็น 4 กลุ่ม พบว่า
1) กลุ่มอยู่ไม่ได้มี จำนวน 75 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 1
2) กลุ่มอยู่ยาก จำนวน 2,304 ครัวเรือน ร้อยละ 46
3) กลุ่มอยู่ได้ จำนวน 1,216 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 24
4) กลุ่มอยู่ดี จำนวน 1,465 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 29 - การสังเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ระดับครัวเรือน และการทำงานเชิงพื้นฐานแก้ไขปัญหาความยากจนจังหวัดมุกดาหาร เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเชิงพื้นที่ พบว่า ได้มีการพัฒนานวัตกรรม/โมเดลแก้จน/ระบบและกลไกการแก้ไขปัญหาความยากจนฯ ได้พัฒนาระบบและกลไกการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนในจังหวัดมุกดาหาร
คำสำคัญ: การแก้ไขปัญหาความยากจน, เบ็ดเสร็จและแม่นยำ, การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการ
Title
Research on Area Development to Entirely and Accurately Solve Poverty Area in Mukdahan ProviceKeywords
Collaboration Integrated Area development,Solve Absolute Poverty,Mukdaha ProvinceAbstract
Research Subject: Integrated and Collaborative Area Development for Comprehensive and Precise Solutions for Poverty Alleviation – Case Study of Mukdahan Province 2019.
Researcher’s Name:Mr. Tiwakorn Laoluecha
Authority: Mukdahan Community College, Community CollegeInstitute
Research Years: 2019
Abstract
This qualitative and quantitative mixed research aimed to
- support the creation of poverty database system and the monitoring of poverty alleviation assistance in Mukdahan province.
- design mechanisms, research methodologies and tools for area-based development in supporting works of poverty alleviation in Mukdahan province.
- monitor and analyze poverty-related data and foster area-based development mechanisms for poverty alleviation in Mukdahan province.
- synthesize both area-based data at household level and area-based works for poverty alleviation in Mukdahan province in order to make area-based policy
recommendations. Poor persons from 3,320 households based on TPMAP Database, and the questionnaire were its sample and tool, respectively. Regarding research findings.
- to support the creation of poverty database system and the monitoring of poverty alleviation assistance in Mukdahan province, the poverty context and situation in this province was analyzed using Livelihood Model. The capital analysis was made in all 5 aspects leading to the following results arranged in descending order.
(1) human capital (being literate but lack of development of agricultural careers and of new occupations built on previous works e.g. agricultural product processing.
(2) natural capital (despite the possession of arable land, its title deed being under Agricultural Land Reform Office (ALRO) or land right claims and no water source available for sustaining life.
(3) financial capital (availability of capital with no liability).
(4) physical capital (having electricity and internet access).
(5) social capital (being experienced in government-subsidized solutions). - To design mechanisms, research methodologies and tools for area-based development in supporting works of poverty alleviation in the said province, the assistance and referral system for poverty alleviation was developed. For example, home repair programs in 2021 for a total of 241 households in 19 sub-districts across 7 districts were aided by the Community Organizations Development Institute (CODI) (90 households) and the Provincial Social Development and Human Security Office (151 households). Respecting the referral of vocational education in collaboration with the Equitable Education Fund (EEF) for long-term solutions, 22 eligible students were found in the survey.
- To monitor, analyze, and promote area-based development mechanisms for poverty alleviation in this province, systems for searching, reviewing and grouping data pertinent to poor persons were developed. The target group in this study comprised 19,608 poor persons from 5,060 households (3,320 and 1,740 from TPMAP database and other databases, respectively). The author categorized the poverty in this province into 4 groups.
1) group with unlivable condition (75 households or 1%)
2) group with hardship living condition (2,304 households or 46%)
3) group with livable condition (1,216 households or 24%)
4) group with good living condition (1,465 households or 29%) - To synthesize both area-based data at household level and area-based work for poverty alleviation in this province in order to make area-based policy recommendations, poverty alleviation innovations/ mechanism/model/systems were developed along with system and mechanism development for sustainable poverty alleviation in Mukdahan province.
Keywords: poverty alleviation, comprehensive and precise, integrated area development