บริหารจัดการชุดโครงการ “มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่”

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 12 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13M640097
นักวิจัย ศ.ดร. วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 14 มกราคม 2023
ระยะเวลา 1 ปี 8 เดือน
สถานที่ทำวิจัย เชียงราย, เชียงใหม่, นครราชสีมา, นครศรีธรรมราช, บุรีรัมย์, ปทุมธานี, ปัตตานี, พะเยา, เพชรบุรี, แพร่, มหาสารคาม, ราชบุรี, สงขลา, สมุทรปราการ, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, อุบลราชธานี

ชื่อโครงการ

บริหารจัดการชุดโครงการ “มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่”

คำสำคัญ

การจัดการชุดโครงการ,ทุนทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

โครงการ การบริหารจัดการชุดโครงการ “มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่” ตามแผนงานย่อย “การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน และสำนึกท้องถิ่น” ภายใต้แผนงาน “มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่” โดยมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้บริหารจัดการชุดโครงการทั้ง 21 โครงการ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานให้ตอบสนองต่อเป้าหมายตามโจทย์ของการวิจัย, เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จและไม่สำเร็จของชุดโครงการ, เพื่อประสาน เสริมแรง หนุนเสริม เผยแพร่องค์ความรู้ของชุดโครงการ, เพื่อพัฒนาเครื่องมือและยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น/หรือพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่เป้าหมาย 21 พื้นที่ 4 ภูมิภาค ของประเทศไทย, เพื่อสังเคราะห์แนวทาง “มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่”, เพื่อจัดการระบบข้อมูลแผนที่ทางวัฒนธรรม และระบบการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อจัดทำประเด็นและกรอบการวิจัย “การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น” ปีงบประมาณ 2565 ผลการบริหารจัดการชุดโครงการ ได้ติดตามการดำเนินงานวิจัย ให้ข้อเสนอแนะ ร่วมแก้ปัญหา อุปสรรคเพื่อให้ทั้ง 21 โครงการ (3 กลุ่ม) บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกันของชุดโครงการ ปัจจัยความสำเร็จของโครงการ พบว่า อยู่ที่ผู้บริหารและนักวิจัยให้ความสำคัญและถือเป็นวาระของมหาวิทยาลัยในการทำพันธกิจที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ความสามารถในการสกัดคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์ การบูรณาการศาสตร์ การสร้างภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วม และการสร้างกลไกในพื้นที่เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม ส่วนความไม่สำเร็จของโครงการ พบว่า นักวิจัยไม่เข้าโจทย์และวิธีการทำงานเชิงพื้นที่ ทำงานส่วนย่อยไม่เป็นองค์รวม ไม่ใช้กระบวนการจัดทำแผนที่วัฒนธรรมสร้างการมีส่วนร่วม ไม่ได้นำคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรมไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง ในด้านการเสริมแรง ได้จัดกิจกรรมในรูปแบบการประชุมกลุ่มย่อย การประชุมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน การหนุนเสริม 2 ระบบ ได้แก่ ระบบแผนที่ทางวัฒนธรรม และ (Cultural Mapping) ระบบการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม (SROI) แม้ว่าจะยังพบปัญหาการประเมินและผลลัพธ์เป็นตัวเลขที่ใช้ฐานการคำนวณแตกต่างกัน ส่วนการเผยแพร่องค์ความรู้ของชุดโครงการ มีการประสานงานทั้งแบบทางการ และไม่เป็นทางการผ่านกลุ่ม Line และได้เผยแพร่กิจกรรมและความรู้ผ่าน Facebook ในเพจชื่อ “PMU ทุนทางวัฒนธรรม” การพัฒนาเครื่องมือและยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น ในพื้นที่เป้าหมาย 21 แห่ง 4 ภูมิภาคของประเทศไทย พบว่า สามารถอนุรักษ์ ฟื้นฟู สร้างสรรค์คุณค่าของทุนทางวัฒนธรรมได้จริง นำมาสร้างสรรค์ด้วยการออกแบบ ด้วยเทคโนโลยี เกิดเป็นนวัตกรรม ส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรมในพื้นที่วิจัย นอกจากนี้ ยังได้จัดทำกรอบวิจัย “การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่น” ปีงบประมาณ 2565 ที่ให้ความสำคัญกับคนรุ่นใหม่ และคนคืนถิ่นเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งได้สังเคราะห์แนวทาง “มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่” เพื่อนำผลสรุปมาวางแผนและพัฒนาวิธีการทำงานในระยะต่อไป

Title

Program Management Plan for “Culture Economy Driving towards Local Economy and Superintend”

Keywords

Program Management,Cultural Economy

Abstract

This abstract summarizes the Project: Management of the Project Cluster “University and Cultural Capital Driven for Area Based Development” under the sub-plan “Cultural Capital Management for Community Economy and Local Consciousness” as part of the “University for Area Based Development” plan. The project is managed by Chiang Mai University and encompasses 21 projects. The objectives of the project are to monitor the progress of the projects to meet the research goals, analyze the problems and obstacles affecting the success or failure of the projects, coordinate and disseminate knowledge generated by the projects, develop tools and enhance the community economy and Local Consciousness, or develop cultural capital in the targeted areas of Thailands four regions. The project aims to synthesize the approach of “University and Cultural Capital Driven for Area Based Development” and manage the cultural mapping information system and the social return on investment system (SROI). In the fiscal year 2022, the project management has provided research monitoring, recommendations for problem-solving, and coordination to ensure that all 21 projects (organized into three groups) achieve their shared objectives. The success factors of the projects lie in the importance given by the project managers and researchers to fulfill the universitys fourth mission of heritage conservation, the ability to extract cultural capital values for creative purposes, interdisciplinary collaboration, network building, and the creation of mechanisms within the area to stimulate cultural economy. On the other hand, the projects shortcomings include researchers lack of spatial awareness and suboptimal integration of the subprojects, failure to utilize cultural capital values effectively, and difficulties in evaluating and quantifying outcomes due to variations in calculation methods. Knowledge dissemination has been carried out both formally and informally through Line groups and Facebook pages under the name “PMU Cultural Capital ” The development of tools and the enhancement of the community economy and local awareness in the target areas have shown that cultural capital values can be preserved, restored, and creatively designed using technology, leading to cultural economy innovations in the research areas. Additionally, a research framework on “University and Cultural Capital Management for Regional Development” for the fiscal year 2022 has been developed, with a focus on empowering the younger generation and local residents to rebuild the economy following the COVID-19 pandemic. Furthermore, the project has synthesized the lessons learned to plan and develop future working methods.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น