ศูนย์ประสานงาน/บริหารจัดการเพื่อยกระดับ เสริมศักยภาพของธุรกิจท้องถิ่นพร้อมกับการสร้างแพลตฟอร์มและกลไกการทำงานร่วมกัน มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 17 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13M630060
นักวิจัย นายบัณฑิต อินณวงศ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยศิลปากร
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 เมษายน 2020
วันที่สิ้นสุด 14 มิถุนายน 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย นครปฐม, ปทุมธานี

ชื่อโครงการ

ศูนย์ประสานงาน/บริหารจัดการเพื่อยกระดับ เสริมศักยภาพของธุรกิจท้องถิ่นพร้อมกับการสร้างแพลตฟอร์มและกลไกการทำงานร่วมกัน มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

คำสำคัญ

วิสาหกิจชุมชม และ/หรือ OTOP,การติดตามและประเมินผล,การยกระดับ,วิสาหกิจชุมชน,OTOP,การติดตามและประเมินผล,การยกระดับ

บทคัดย่อ

การสร้างและพัฒนากลไกการยกระดับผู้ประกอบการ Local Enterprise ผ่านการพัฒนากลไกการสร้าง New Engine Platform ที่มีเป้าหมายในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือสร้างกระบวนการทำงานแบบเสริมพลังพร้อมทั้งการสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการ Local Enterprise-มหาวิทยาลัย- นักวิจัย-นักวิชาการ-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแหล่งทุนในการสนับสนุนทุนวิจัย โดยในปี 2563 หน่วยประสานงานนั้นมุ่งเน้นในการสร้างกลไกกการทำงานผ่านการทำงาน 2 รูปแบบ ได้แก่ การทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ จำนวน 15 แห่งซึ่งมีการทำงานร่วมกับ Local Enterprise 317 กลุ่ม และการทำงานยกระดับและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ Local Enterprise จำนวน 100 กลุ่ม หน่วยงานบพท. ได้สนับสนุนทุนภายใต้กรอบวิจัย Local Enterprise ปี 2563 ขึ้นเป็นปีแรก โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน ผ่านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีการใช้ต้นทุนในพื้นที่ อาทิ ทรัพยากรพื้นถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น จากเดิมขึ้น ร้อยละ 10 และเกิดโครงสร้างการกระจายรายได้สู่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำซึ่งเป็นคนในชุมชน เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 10 เช่นเดียวกัน มุ่งเน้นให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ ผ่านกลไกการดำเนินงาน 2 รูปแบบด้วยกัน กล่าวคือ รูปแบบที่ 1 เป็นกลไกการขับเคลื่อนจากมหาวิทยาลัยในพื้นที่ด้วยการใช้ฐานความรู้ งานวิจัย นวัตกรรมและบุคลากรที่มหาวิทายาลัยมีอยู่ เข้าหนุนเสริม เชื่อมประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง อำนวยความสะดวกให้เกิดการสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เกิดวัฒนธรรมการทำงานแบบเกื้อกูลอย่างมีธรรมภิบาลการค้า อีกทั้งก่อให้เกิดการพัฒนาระบบ กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยให้แก้ไขปัญหาสำคัญอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจชุมชนในพื้นที่ได้ อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ รวมถึงเกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มหาวิทยาลัยมีอยู่ไปใช้ประโยชน์โดยคนในชุมชน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและการจัดการปัญหาในพื้นที่ด้วยคนในพื้นที่เอง อันจะเป็นการสร้างความยั่งยืนในพื้นที่ด้วยการพึ่งพาตนเองของชุมชน หน่วยจัดการกลางได้ถอดบทเรียนการบริหารจัดการชุดโครงการที่แตกต่างกันออกเป็น 3 ระดับ ตามความสามารถในการจัดการงานวิจัยให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้า OKR 2 ข้อ ระดับที่ 1 การบริหารจัดการงานวิจัยด้วยการหนุนเสริมให้กลุ่ม Local Enterprise เป้าหมายสามารถดำเนินธุรกิจด้วยการขายผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากกระบวนการวิจัยในตลาดที่แท้จริงจากการซื้อผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ระดับที่ 2 การบริหารจัดการงานวิจัยที่มีการสร้างช่องทางจำหน่ายใหม่ เพื่อให้เกิดการขายผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในโครงการให้กับผู้บริโภคทั่วไปซึ่งอาจเป็นหรือไม่เป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จึงถือว่าเป็นการขายในตลาดที่ไม่ใช่ตลาดจริงหรือเรียกว่าตลาดเทียม ระดับที่ 3 เป็นชุดโครงการวิจัยที่มีการบริหารจัดการงานวิจัยที่ยังไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายได้ จากผลการประเมินที่มองในเรื่องการตลาดเป็นสำคัญ สามารถแบ่งเกณฑ์การประเมินของมหาวิทยาลัยที่ได้รับทุนกรอบการวิจัย Local Enterprise ปี 2563 สามารถแบ่งเป็น 3 แบบ

  1. การบริหารจัดการชุดโครงการที่เกิดผลสัมฤทธิ์จากการขายในตลาดจริง จำนวน 5 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  2. การบริหารจัดการชุดโครงการที่เกิดผลสัมฤทธิ์จากการขายในตลาดเทียม จำนวน 2 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและมหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพ
  3. การบริหารจัดการชุดโครงการที่ไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ จำนวน 8 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันนออก มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยพะเยา

รูปแบบที่ 2 เป็นการดำเนินงานวิจัยผ่านกลไกการจัดการจากหน่วยจัดการกลางภายใต้การบริหารจัดการของ ผศ.ดร. บัณฑิต อินณวงศ์ ซึ่งเน้นการค้นหาเครื่องมือสำคัญเปรียบเสมือนคานงัดอุปสรรคที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่ธุรกิจท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการวิจัยในปีนี้ โดยการทำงานทางหน่วยประสานงานมุ่งเน้นการทำงาน ภายใต้ 2 หลักคิด คือ

  1. การจัดการ Ego-system มุ่งเน้นการจัดการผู้ประกอบการตั้งแต่การวิเคราะห์ศักยภาพ เงินลงทุน ความสามารถการประกอบการธุรกิจแบบองค์รวมโดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์และสืบค้นปัญหาตน สู่การวางแผนธุรกิจที่เหมาะสม (Business Soul) โดยใช้เครื่องมือ Wow Project และคอร์สเงินงอกเงยเดอะซีรีย์
  2. การจัดการ Eco-system โดยใช้เครื่องมือในการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่ (New Network Value Chain)
  3. การสร้างต้นแบบอาชีพให้กับผู้ประกอบการ Local Enterprise นวัตกรรมการดำเนินงานของหน่วยประสานงานนั้น สำหรับส่วนที่มีการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่นั้น สามารถแบ่งกลุ่มการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย ได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ กลุ่ม Gold กลุ่ม Silver และกลุ่ม Bronze ซึ่งสามารถถอดรูปแบบการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างรูปแบบของหน่วยประสานงานของ บพท. ได้ และสำหรับส่วนที่ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ Local Enterprise พบว่า การปรับกระบวนการโดยการเครื่องมือ Wow Project และคอร์สเงินงอกเงยเดอะซีรีย์ นั้นสามารถสร้างภาวะการตื่นรู้ และการตระหนักรู้ทั้งในด้านบริบทองค์รวมของธุรกิจ และการจัดการด้านการเงินให้กับผู้ประกอบการ Local Enterprise จนกระทั่งนำไปสู่การสร้างสรรค์เครื่องมือ และรูปแบบคอร์สสำหรับการปรับ mindset และเสริมทักษะการจัดการการเงินให้กับผู้ประกอบการในปี 2564 ต่อไป

Title

Coordination and administration center to empower new driven mechanism and engagement platform for Thai local enterprise SDG.

Keywords

Local Enterprise,Monitoring and Evaluate,Boost Up

Abstract

This research project aims to create a new steam engine of local economy enhancement by up-level entrepreneurship of local enterprises in Thailand. About 317 local enterprises were managed by empowerment and engagement via about 15 teams from area based-universities. One hundred local enterprises were also enhanced by the coordination and administration center. In addition, the coordination and administration center acts as evaluator and monitor the action of university teams who are coworker with the local enterprises. It is the first year of research grant from Area-based Program Management Unit; Local Enterprise. It was focusing on enhancement and increase capacity building of local enterprises by achievement of two key success points. The former was value addition of target local products. Prices of target local products comprising of either local resource or local wisdom were increased more than 10 percentage. The latter was also profit of local enterprise in the network value chain was increased about 10 percentage. They resulted of a management of new network value chain and new income distribution structure, especially the early party as farmers. Both key success points led to motivation of local economy and local circular economy. There are two models of research work comprising area-based universities and the coordination and administration center. The first model is driven by area-based universities about 15 teams. Knowledges, researches, innovations, and academic researchers in university were empowered in the work. Local government and private sector were involved as supporters and facilitators aiming mutual benefit among stakeholders in the new network value chain. There was symbiosis work culture as fair trade. Moreover, research units in area-based universities might be re-organized and re-managed. The impact of this model was not only motivation of local economy but also reinventing university driven that might focus on a suitable solution of impact local problem as a real problem of local enterprise. The knowledge-, research-, and innovation-based university might be implemented in the local people who are in the network value chain. It might be led to self management of local people to their problems. We analyzed a lesson learn of the area-based universities driven. There were about 3 types of research management. In the first type, researcher team empowered local enterprise by trading their products on the real market from target customer including Fatoni University, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, Rajamangala University of Technology Srivijaya, Rajamangala University of Technology Lanna, and Ubon Ratchathani University. The second type, the team built new market channel either target customer or another customer. However, it was not the real market calling pseudo-real market. There are about 2 area-based universities as Huachiew Chalermprakiet University and Rajamangala University of Technology Krungthep. The third type, prototypes of target products was developed and no trading of target products on any market. There are also about 8 area-based universities including Mahasarakham University, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, Rajamangala University of Technology Tawan-ok, Rajamangala University of Technology Rattanakosin, Rajamangala University of Technology Isan, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and Phayao University. The second model is driven by the coordination and administration center under supervision of Assoc. Prof. Bhundit Innawong who emphasize to find out an important trigger point in local business. Result indicated that ego-system management along with eco-system management could solve local business problem. For ego-system of local enterprise, their capacities, performances of effectiveness access managements and holistic business managements were estimated and sought a root cause of business problem following by a new business management via Wow project and financial course as research tools. New network value chain was also performed for eco-system management. Moreover, we build an alternative occupation for local enterprises as a role model. Moreover, we build an alternative occupation for local enterprises as a role model. Performance of university teams was classified by capability of problem extraction and solvation in network value chain. They were divided into 3 groups as Gold, Silver, and Bronze. For monitoring of universities action, we found that most university team must be empowered by Wow project and financial course. The team must realize about business management, especially finance literacy. When they become aware of local business management, they might create appropriate tool for enhancing local business the next year.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น