การบริหารจัดการโครงการชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 39 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13M630029
นักวิจัย นายศักดิ์ชัย วัฒนศรีรังกุล
หน่วยงาน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 20: ชุมชนนวัตกรรม
วันที่เริ่มต้น 15 เมษายน 2020
วันที่สิ้นสุด 14 มิถุนายน 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ปทุมธานี

ชื่อโครงการ

การบริหารจัดการโครงการชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

คำสำคัญ

บริหารจัดการชุมชน,ชุมชนนวัตกรรม,การพัฒนาเชิงพื้นที่,นวัตกรรมทางสังคม

บทคัดย่อ

โครงการบริหารจัดการชุมชนนวัตกรรมที่ยั่งยืน เป็นโครงการที่ดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัย 18 แห่ง วิทยาลัยชุมชน 1 แห่ง และ มูลนิธิ 1 แห่ง มีการดำเนินงานทั้งหมด 22 โครงการ ในพื้นที่ 316 ตำบล 154 อำเภอ 28 จังหวัด การดำเนินงานเป็นการแสวงหาโจทย์ของชุมชน เพื่อเข้าไปแก้ปัญหาโดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมกับการบริหารจัดการชุมชน มีการสร้างนวัตกรชุมชนบนฐานทุนทรัพยากร ดำเนินงานครอบคลุมหลากหลายทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม ภูมิปัญญา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานระหว่างภาครัฐ สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน การดำเนินงานของสถาบัน/องค์กรในแต่ละแห่ง มีกลไกการบริหารจัดการโครงการที่แตกต่างกันตามนโยบายของแต่ละหน่วยงาน การบริหารจัดการตามโครงสร้างการบริหารขององค์กร/มหาวิทยาลัยนั้น ๆ ทำให้โครงการชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้มีโอกาสนำทรัพยากรที่จำเป็นจากภายในองค์กรมาร่วมพัฒนาโครงการนี้ด้วย ทำให้เกิดผลผลิต (Output) มากกว่าลักษณะกลไกการบริหารโครงการแบบทั่วไป โครงการส่วนใหญ่ใช้แนวทางการทำงานเก็บข้อมูลร่วมกับชุมชน วิเคราะห์โจทย์ร่วมกับชุมชน ใช้เครื่องมือและกระบวนการวิเคราะห์แบบมีส่วนร่วม นำมาสู่การออกแบบหรือสร้างต้นแบบนวัตกรรมที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมดำเนินการ เกิดการพัฒนายกระดับชุมชน/กลุ่มอาชีพ/กลุ่มวิสาหกิจชุมชน 485 ชุมชน การส่งเสริมด้านอาชีพและเศรษฐกิจมีการพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน 436 ผลิตภัณฑ์ เกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้มากกว่า 531 รายการ หลักสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน นอกจากการรู้โจทย์ที่แท้จริง (Pain point) ของชุมชน และการแสวงหานวัตกรรมที่เหมาะสมแล้วนั้น กระบวนการสร้างนวัตกรชุมชนเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยแต่ละองค์กร/หน่วยงาน มีวิธีการพัฒนานวัตกรที่หลากหลาย ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาจากฐานความรู้เดิมที่มีความเชี่ยวชาญ ผ่านกระบวนการอบรม เพิ่มพูนทักษะการบริหารจัดการกลุ่ม เกิดนวัตกรชุมชนประมาณ 900 คน สามารถส่งต่อองค์ความรู้และขยายผลไปยังพื้นที่ชุมชนอื่น ๆ หรือเป็นตัวแทนชุมชนที่ แสวงหาองค์ความรู้จากภายนอก นำไปสื่อสาร และสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ชุมชนเข้าใจบริบทชุมชนของตนเองและเกิดการแก้ไขปัญหา พึ่งตนเองได้ และเกิดการพัฒนาชุมชนต่อไปได้อย่างยั่งยืน ผลผลิตของโครงการบริหารจัดการฯ ได้พัฒนาฐานข้อมูลชุมชนนวัตกรรม ฐานข้อมูลเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้ และระบบแสดงผลข้อมูลที่ใช้บริหารจัดการชุมชนนวัตกรรม สามารถเพิ่มฐานข้อมูล ปรับเปลี่ยนรูปแบบต่าง ๆ ในการแสดงผลได้ ระบบดังกล่าวนำไปใช้ประโยชน์กับหน่วยงานหรือองค์กรที่ร่วมขับเคลื่อนการบริหารจัดการชุมชนนวัตกรรมได้ในอนาคต

Title

The Management of Community Innovation for Sustainable Development Project

Keywords

community managament,learnig and innovation platform,area base development,social innovation

Abstract

สำหรับสมาชิกเท่านั้น