การพัฒนาบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสร้างกลไกทางการตลาดสำหรับผลผลิตทางการเกษตร (ผักและผลไม้) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 1 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640146
นักวิจัย ผศ.ดร. บุญฤทธิ์ สินค้างาม
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยพะเยา
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 16 สิงหาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 15 มีนาคม 2022
ระยะเวลา 8 เดือน
สถานที่ทำวิจัย พะเยา

ชื่อโครงการ

การพัฒนาบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสร้างกลไกทางการตลาดสำหรับผลผลิตทางการเกษตร (ผักและผลไม้) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

คำสำคัญ

การพัฒนาบทบาทของมหาวิทยาลัย,การสร้างกลไกทางการตลาด,ผลผลิตทางการเกษตร,สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนาบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสร้างกลไกทางการตลาด สำหรับผลผลิตทาง การเกษตร (ผักและผลไม้) ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)”โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษางานวิจัย ดังนี้ 1.สร้างรูปแบบและกลไกการตลาดภายในมหาวิทยาลัย สามารถเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับผลผลิตทางการเกษตรของจังหวัดพะเยา และ 2.สร้างรูปแบบและกลไกการตลาดภายในจังหวัดและตลาดภายนอกที่ครอบคลุมในทุกภูมิภาคของประเทศ ด้วยบทบาทของมหาวิทยาลัยและเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับผลผลิตทางการเกษตรของจังหวัดพะเยา สามารถสรุปผลได้ดังนี้ รายได้ของกลุ่มเกษตรกร จะมีรายได้รวมทุกตลาดในจังหวัดพะเยา ตลอดเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2565 – 2569 ) รวมทั้งสิ้น 5,255,890 บาท คิดมูลค่าปัจจุบัน (Net Present Value อัตราส่วนลดร้อยละ 3 เทียบจากเงินกู้ชั้นดี) จะมีมูลค่า 4,787,105 บาท การสร้างรูปแบบและกลไก ได้อาศัยเครื่องมือทางการตลาด (ส่วนประสมทางการตลาด) ที่ประกอบด้วย Product Price Place Promotion มาช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และมีการสร้าง Brand เพื่อให้เกิดการจดจำรวมทั้งสามารถ เกิดการรับรู้ว่าหากต้องการซื้อผักปลอดภัย มีคุณภาพสูง ราคายุติธรรมต้องแบรด์ UP Fresh and Fruit และสามารถหาซื้อได้หลากลายสถานที่ ทั้งในมหาวิทยาลัย และนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งช่องทางออนไลน์ ซึ่งใน กลไกดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรกลุ่มอื่นที่ได้ขึ้นทะเบียนผักปลอดภัยของจังหวัดพะเยามาขายได้ โดยผ่าน Local Market : Phayao Care มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ในนาม UP Product เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสามารถขายได้ในหลากหลาย Platform โดยภาพรวมของกลไกของการขับเคลื่อน จะต้องมีกระบวนการทำงานร่วมกันเป็น สี่ ภาคี ประกอบด้วย หน่วยทางด้านนโยบาย (องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา) หน่วยงานด้านการตลาด (หอการค้าจังหวัดพะเยา และเครือข่ายผู้ประกอบการ) หน่วยงานด้านการผลิต (กลุ่มเกษตรกร) และหน่วยงานด้านวิชาการและตรวจสอบคุณภาพ (มหาวิทยาลัยพะเยา)

Title

University driven platform on marketing development for agricultural products (vegetables and fruits) under the pandemic crisis of coronavirus 2019 (COVID-19)

Keywords

University driven platform,Marketing development,Agricultural products,Pandemic crisis of coronavirus 2019

Abstract

The research study on University driven platform on marketing development for agricultural products (vegetables and fruits) under the pandemic crisis of coronavirus 2019 (COVID-19) with the objectives of research studies as follows: 1. Create a model and marketing mechanism within the university. Can add market value to agricultural products of Phayao Province and 2. Create a model and marketing mechanism within the province and the external market that covers all regions of the country. with the role of the university and adding market value to the agricultural products of Phayao Province The results can be summarized as follows: Farmers income will have total income in all markets in Phayao Province for 5 years (2022 – 2026), a total of 5,255,890 baht, based on the present value (Net Present Value, a discount rate of 3% compared to a good loan) will be worth 4,787,105 baht. Formation and Mechanism have relied on marketing tools (Marketing mix) that consists of Product Price Place Promotion to help in product development and brand building to create recognition and be able to Awareness that if you want to buy vegetables that are safe, high quality, fair prices, must be UP Fresh and Fruit brands and can be bought in many places. both in university and outside the university including online channels, in which the aforementioned mechanism also allows other groups of farmers who have registered for Phayao Provinces safe vegetables to sell through Local Market: Phayao Care. Products are processed under the name of UP Product to create added value and can be sold on multiple platforms An overview of the driving mechanism There must be a process of working together into four parties, comprising policy units. (Phayao Provincial Administrative Organization) Marketing Agency (Phayao Provincial Chamber of Commerce and New entrepreneur network), production departments (farmer groups) and academic and quality inspection agencies (University of Phayao)

สำหรับสมาชิกเท่านั้น