การจัดการความต้องการตลาดสำหรับผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรฐานราก ด้วยกลไกการจัดการสินค้าเกษตร ในพื้นที่จังหวัดภาคกลางตอนล่างสู่ระบบตลาดเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 10 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630088
นักวิจัย ผศ.ดร. สายชล ชุดเจือจีน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 1 กันยายน 2020
วันที่สิ้นสุด 30 เมษายน 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กรุงเทพมหานคร, กาญจนบุรี, นครปฐม, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, ราชบุรี, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, สุพรรณบุรี

ชื่อโครงการ

การจัดการความต้องการตลาดสำหรับผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรฐานราก ด้วยกลไกการจัดการสินค้าเกษตร ในพื้นที่จังหวัดภาคกลางตอนล่างสู่ระบบตลาดเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ

การจัดการความต้องการตลาด,ผลผลิตทางการเกษตร,เกษตรกรฐานราก,กลไกการจัดการสินค้าเกษตร,ระบบตลาดเครือข่าย

บทคัดย่อ

การจัดการความต้องการตลาดสำหรับผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรฐานราก ด้วยกลไกการจัดการสินค้าเกษตร ในพื้นที่จังหวัดภาคกลางตอนล่างสู่ระบบตลาดเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. ศึกษาบริบทของผลผลิตทางการเกษตรในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่างและคุณลักษณะความต้องการขายสินค้าทางการเกษตรรูปแบบต่างๆ ของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ Covid19
  2. เพื่อสร้างกลไกการจัดการสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขายของชุมชนผ่านระบบการบริหารจัดการของทางมหาวิทยาลัยอย่างเป็นธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
  3. เพื่อวัดผลการเติบโตทางเศรษฐกิจของสินค้าเกษตรในชุมชนเป้าหมายภายหลังสถานการณ์ Covid 19

โดยมีพื้นที่รับผิดชอบดูแลการจัดการความต้องการตลาดกับผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มเกษตรกร จากจังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กาญจนบุรีและ สุพรรณบุรีมีการกระจายสินค้าจากการกลุ่มวิสาหกิจจำนวน 30 กลุ่ม โดยได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ศักยภาพผู้ประกอบการ การวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทาน และการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพได้มีการจัดทำข้อตกลงทางการค้าที่เป็นธรรมระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ เพื่อใช้ในการเจรจาทางการค้าทั้งระยะสั้นและระยะนำนวัตกรรมการตลาด มาหาแนวทางในการเป็นกลไกการดูดซับเศรษฐกิจจากผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อให้สามารถจำหน่ายและก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน ภายใต้การดำเนินงานและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดย มทร. กรุงเทพ ในการเป็นตัวกลางทางการตลาด การเป็นผู้บริโภคเพื่อมาใช้ในมหาวิทยาลัย เพื่อปรับปรุงบรรจุภัณฑ์สามารถนำมาส่งเสริมต่อยอดพัฒนาด้านการตลาดและการจัดจำหน่ายได้ โดยมหาวิทยาลัยสร้างกลไกตลาด สร้างเสริมความแข็งแกร่งแก่ชุมชนเป้าหมายอย่างยั่งยืน

Title

Management of market demand for agricultural products of local farmer with agricultural product management mechanisms of the lower central region to the network marketing system, Rajamangala University of Technology Krungthep and Rajamangala University of Technology Rattanakosin

Keywords

Management of market demand,agricultural products,local farmer,agricultural product management mechanisms,network marketing system

Abstract

Management of market demand and agricultural products of foundation farmers. with a mechanism to manage agricultural products in the lower central provinces to a network market system of Rajamangala University of Technology Krungthep and Rajamangala University of Technology Rattanakosin aims to

  1. Study the context of agricultural products in the lower central region and characteristics of demand for agricultural products in various forms. of communities affected by Covid19.
  2. To create a management mechanism for agricultural products to increase the selling capacity of the community through the universitys management system fairly to increase economic value for the community.
  3. To measure the economic growth of agricultural products in the target communities after the Covid-19 situation.

with the area responsible for managing market demand and agricultural products among farmers. lead innovation in marketing Lets find a way to be a mechanism for absorbing the economy from the communitys products. in order to be able to sell and generate sustainable income Under the operation and distribution of products by Rajamangala University of Technology Krungthep and Rajamangala University of Technology Rattanakosin and as a marketing intermediary Being a consumer for use in the university To improve the packaging can be used to promote the development of marketing and distribution. by the university to create a market mechanism sustainable strengthening of target communities

สำหรับสมาชิกเท่านั้น