เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) จากสินค้าเกษตรพื้นถิ่นด้วยกลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่ จังหวัดนครปฐมและประจวบคีรีขันธ์

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 50 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630009
นักวิจัย นายสันติ ไทยยืนวงษ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย นครปฐม, ประจวบคีรีขันธ์

ชื่อโครงการ

เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) จากสินค้าเกษตรพื้นถิ่นด้วยกลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่ จังหวัดนครปฐมและประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ

เศรษฐกิจสร้างสรรค์,ผลิตภัณฑ์ชุมชน,สินค้าเกษตร,ห่วงโซ่คุณค่าใหม่,จังหวัดนครปฐม,จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

บทคัดย่อ

ชุดโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) วางกลยุทธ์และขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของผลิตภัณฑ์ชุมชนจากทรัพยากรพื้นถิ่น โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) จากสินค้าเกษตรพื้นถิ่นจังหวัดนครปฐมและประจวบคีรีขันธ์
2) พัฒนางานวิจัยด้านการสร้างคุณค่าและมูลค่าพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากทรัพยากรพื้นถิ่นตามกลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่ที่มีโครงสร้างการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) จากสินค้าเกษตรพื้นถิ่นจังหวัดนครปฐมและประจวบคีรีขันธ์
3) สร้างเครือข่ายการทำงานเชิงพื้นที่ในการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่เพื่อการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research: PAR) โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการชุมชนในห่วงโซ่คุณค่ามะพร้าวจังหวัดนครปฐมและสับปะรดประจวบคีรีขันธ์ แบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยการมีส่วนร่วมในการเสนอชื่อจากสภาเกษตรกรและสำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐมและประจวบคีรีขันธ์ ทั้งที่จดทะเบียนวิสาหกิจและไม่ได้จดทะเบียนวิสาหกิจ จำนวน 20 กลุ่ม โดยมีสมมติฐานงานวิจัยว่า เมื่อใช้กระบวนการ เครื่องมือ ตามกรอบการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการตามที่ได้ออกแบบไว้ และใช้กลไกการขับเคลื่อนของมหาวิทยาลัยร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถยกระดับรายได้ไม่น้อยกว่า 10% ผลที่ได้จากการดำเนินงาน พบว่า

1) ได้มีการวางกลยุทธ์ 3 กลยุทธ์ ประกอบด้วย กลยุทธ์การสร้างภูมิคุ้มกันในการประกอบธุรกิจมะพร้าวและสับปะรด กลยุทธ์การสร้างภูมิคุ้มกันในการประกอบธุรกิจผสานเทคโนโลยีพร้อมใช้ กลยุทธ์การสร้างภูมิคุ้มกันในการประกอบธุรกิจและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าด้วยอัตลักษณ์ชุมชน ทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) จากสินค้าเกษตรพื้นถิ่นด้วยกลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่ จังหวัดนครปฐมและประจวบคีรีขันธ์ โดยการปรับใช้กลยุทธ์ให้ความเหมาะสมกับศักยภาพของผู้ประกอบการ
2) จากกลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการทำให้ได้ห่วงโซ่คุณค่าใหม่จำนวน 2 ห่วงโซ่ เกิดการเปลี่ยนแปลงในข้อต่อห่วงโซ่จำนวน 12 จุดในหลายมิติ โดยกลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์จึงทำให้เกิดโครงสร้างการกระจายรายได้สู่ผลจากการดำเนินโครงการ สามารถเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) จากสินค้าเกษตรพื้นถิ่นด้วยกลไกการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าใหม่ จังหวัดนครปฐมและประจวบคีรีขันธ์ ทำให้ชุมชนมีมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนมีความคุ้มค่าการลงทุนของโครงการ (Return of Investment : ROI) เฉลี่ยร้อยละ 41.79 จากการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่ามะพร้าวน้ำหอม จังหวัดนครปฐมและสับปะรดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนจากมะพร้าวน้ำหอมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครปฐม และผลิตภัณฑ์ชุมชนจากสับปะรดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลลัพธ์ต่อสังคม (SROI) โดยเฉลี่ย 2.42
3) เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในด้านการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนระหว่างมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานภายนอก 1 เครือข่าย

Title

Creative Economy to Enhance the Value of Community Products (OTOP) from Local Agricultural Products with New Value Chain Mechanism Nakhon Pathom and Prachuapkhirikhan Province

Keywords

Creative Economy,Community Products,Agricultural Products,New Value Chain,Nakhon Pathom Province,Prachuapkhirikhan Province

Abstract

The objectives of this research project are to

1) formulate strategies and drive new value chains of community products from indigenous resources. by using the creative economy concept to add value to community products (OTOP) from local agricultural products in Nakhon Pathom and Prachuap Khiri Khan provinces.
2) Develop research on value creation and development of community products from indigenous resources according to the new value chain driving mechanism that has a sustainable income distribution structure for communities. using the creative economy concept for adding value to community products (OTOP) from local agricultural products in Nakhon Pathom and Prachuap Khiri Khan provinces.
3) Create a spatial working network to drive new value chains for sustainable income distribution to communities.

The results of the research revealed that

1) 3 strategies for enhance entrepreneurs potential for new value chains.
2) From the strategy to increase entrepreneurial potential, two new value chains have been created, resulting in a change in the chain of 12 points in many dimensions. The projects return of investment (ROI) averaged 41.79%. Social outcomes (SROI) on average 2.42.
3) Academic cooperation network in the development of community entrepreneurs between universities and external agencies was established 1 network

สำหรับสมาชิกเท่านั้น