นครหาดใหญ่บนฐานทุนวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของชุมชน ระยะที่ 2

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 71 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640096
นักวิจัย นายจุมพล ชื่นจิตต์ศิริ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 14 สิงหาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน
สถานที่ทำวิจัย สงขลา

ชื่อโครงการ

นครหาดใหญ่บนฐานทุนวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของชุมชน ระยะที่ 2

คำสำคัญ

หาดใหญ่,สงขลา,อัตลักษณ์ชุมชน,เศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม,แผนที่วัฒนธรรม,ทุนทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาและยกระดับการจัดทำแผนที่วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาพื้นที่ 2) เพื่อศึกษาและพัฒนากลไกความร่วมมือ และแผนความร่วมมือกับภาคีหลักในการจัดการทุนทางวัฒนธรรม 3) เพื่อศึกษาและพัฒนาผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมให้มีศักยภาพ รวมถึงสร้างนวัตกรรมชุมชนหรือชุมชนนวัตกรรมในพื้นที่ 4) เพื่อพัฒนากิจกรรมจากทุนทางศิลปะและวัฒนธรรม ให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่ และทำให้เกิดสำนึกรักษ์บ้านเกิดของประชาชน โดยคณะผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Approach) และเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) มีภาคี 5 ภาคส่วนในการขับเคลื่อน และมีการสร้างความร่วมมือกับชุมชนในพื้นที่ใจกลางนครหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา รวมจำนวน 5 ชุมชน ได้แก่ (1) ชุมชนกิมหยงสันติสุข (2) ชุมชนพระเสน่หามนตรี (3) ชุมชนแสงศรี และ (4) ชุมชนท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง (5) ชุมชนมุสลิมปากีสถาน ผลการวิจัยพบว่า นครหาดใหญ่ ถือเป็นเมืองพหุวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายของผู้คนและชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นทุนทางสังคมที่สามารถต่อยอดให้เป็นพื้นที่แหล่งเรียนรู้ได้ โดยคณะวิจัยได้ใช้กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมในการค้นหาอัตลักษณ์ของเมือง การประกวดมาสคอตน้องกิม-น้องหยง การทำกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการทางวัฒนธรรม การทำสื่อประชาสัมพันธ์ทุนทางวัฒนธรรม การบันทึกข้อมูลผ่านระบบแผนที่ทางวัฒนธรรม และการจัดเทศกาลทุนทางวัฒนธรรม Eat Pray Love @ Hatyai เล่าเรื่องเมืองหาดใหญ่ผ่านอาหาร ความเชื่อความศรัทธา และความรัก โดยผลการดำเนินงานภาพรวม พบว่ามีผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมและวิสาหกิจวัฒนธรรม จำนวน 15 ราย ได้รับการยกระดับศักยภาพ โดยมีผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและบริการทางวัฒนธรรม จำนวน 15 ผลิตภัณฑ์/บริการ มีนวัตกรรมชุมชนเกิดขึ้น 3 นวัตกรรม ได้แก่ เกมส์ออนไลน์เกี่ยวกับนครหาดใหญ่ ต้นแบบการจัดงานเทศกาลทางวัฒนธรรมแบบบูรณาการ และคลิปวิดีโอประชาสัมพันธ์ทุนทางวัฒนธรรมนครหาดใหญ่ จำนวน 7 คลิป นอกจากนี้ ผลการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI) พบว่า มูลค่าทางสังคมทั้งผลลัพธ์ที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินจากการลงทุนในโครงการเท่ากับ 8.64 ซึ่งมีนัยยะว่าเป็นการพัฒนาที่คุ้มค่าต่อการลงทุน ทั้งนี้ การสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 383 ตัวอย่างพบว่า กิจกรรมหลักในโครงการวิจัย มีคุณค่าต่อคนในพื้นที่ และเมืองในการธำรงรักษาคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม สูงถึงร้อยละ 90.95 โดยโครงการวิจัยได้รับการสนับสนุนต่อยอดจากเทศบาลนครหาดใหญ่ บรรจุในแผนสนับสนุนการจัดกิจกรรมเทศกาลทางวัฒนธรรมต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2566 ดำเนินการผ่านหอการค้าจังหวัดสงขลา จึงสะท้อนได้ว่าโครงการวิจัยสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านทุนทางวัฒนธรรมที่มีแนวโน้มสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ข้อเสนอแนะที่มีต่อการพัฒนาโครงการระยะถัดไป คือ การเพิ่มมิติการศึกษาความเป็นมงคลที่สอดคล้องกับความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรมในพื้นที่มากขึ้น และควรขยายพื้นที่ โดยเพิ่มทุนทางวัฒนธรรมและสร้างกิจกรรมรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรม อันจะนำมาสู่การสร้างงาน และพลิกฟื้นเศรษฐกิจนครหาดใหญ่ได้อีกครั้ง

Title

Hatyai City: Cultural Capital Development based on Strengthening Community Identity (Phase 2)

Keywords

Hatyai,Songkhla,Cultural Capital,Community Identity,Cultural Economy,Cultural Map

Abstract

The primary aims of this research are: 1) to examine and improve cultural mapping as a tool for area development; 2) to examine and develop cooperative strategies and plans for cultural capital management with key partners; 3) to examine and cultivate prospective cultural entrepreneurs, including the formation of community innovations or innovation communities in the area, and 4) to develop arts and cultural capital-based activities with the goal of influencing economic and social ramifications and instilling a sense of community pride in residents. The research team has developed a mixed method approach and prioritizes action research with participatory action research. This study has results in a collaboration with five communities in the central area of Hatyai City, Hatyai District, Songkhla Province: (1) the Kim Yong Santisuk Community, (2) the Phra Sanaeha Montri Community, (3) the Sang Sri Community (4) the Tongxia Xiang Tung Community, and (5) Pakistan Muslim Community. According to the study, Hatyai is a multiethnic city with a diverse population that contributes significantly to various social and cultural capitals and has development potential as a cultural learning area. Using a participatory method, the researchers achieved several outcomes. They included the discovery of the citys identity, a design contest for the Nong Kim-Nong Yong mascots, the development of cultural entrepreneurs, the production of media to publicize cultural capitals, the data collection for a cultural mapping system, and the cultural capital festival with the theme “Eat Pray Love @ Hatyai”, which tells the story of Hatyai through the lenses of cuisine, faith, and love. Overall, 15 cultural entrepreneurs and businesses were brought up to full potential by creating 15 cultural products and services. Furthermore, three community innovations were created: online games about Hatyai city, the Integrated Cultural Festival Model, and 7 video clips highlighting Hatyais cultural capitals. In addition, the Social Return on Investment (SROI) evaluation revealed that the social value based on project spending, which includes monetary and non-monetary effects, was 8.64. It implies that the investment was worthwhile. A survey of 383 samples indicated that the major activities in research projects are valuable to residents and the city for preserving cultural heritage values as high as 90.95 percent. The study initiative, moreover, is funded by the Hatyai Municipality through the Songkhla Chamber of Commerce in order to carry out the project of cultural festival activities in fiscal year 2023. It is obvious that this research project can be the driving force behind cultural capital-related actions that tend to make this area more sustainable. As a suggestion, the projects next phase should focus on exploring additional different auspiciousness in multicultural diversity. Furthermore, the area should be expanded to explore more cultural capitals and generate activities that can contribute to creative economic growth and cultural economy, resulting in job creation and economic revitalization in Hatyai.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น