การจัดการทุนทางวัฒนธรรมหนังตะลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 4 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640089
นักวิจัย ดร. สุดาวรรณ์ มีบัว
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 14 สิงหาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน
สถานที่ทำวิจัย นครศรีธรรมราช

ชื่อโครงการ

การจัดการทุนทางวัฒนธรรมหนังตะลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ

การจัดการ ทุนทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจชุมชน หนังตะลุง ย่านวัฒนธรรม นครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชได้เล็งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของศิลปะการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงได้พัฒนาโจทย์วิจัย ภายใต้โครงการวิจัยการจัดการทุนทางวัฒนธรรมหนังตะลุงจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคีหลักในพื้นที่ให้เกิดแผนความร่วมมือ (Cooperation plan) ในการจัดทำแผนที่วัฒนธรรมหนังตะลุง (Cultural Mapping) จังหวัดนครศรีธรรมราช พัฒนาผู้ประกอบการวัฒนธรรม (Cultural Entrepreneur) สร้างงานสร้างรายได้ผ่านผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรม และยกระดับอัตราการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจฐานรากและมูลค่าสินค้า ผลิตภัณฑ์หนังตะลุงจังหวัดนครศรีธรรมราชเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10 โดยดำเนินงานวิจัยผ่านกรอบการวิจัย 5 กรอบ ประกอบไปด้วย Cultural Mapping Cultural Service Cultural product Cultural ROI/SROI และ Cooperation plan ผลการดำเนินการวิจัยกรอบ Cultural Mapping เกิดฐานข้อมูลระบบสารสนเทศเกี่ยวกับตำนาน เรื่องเล่าภูมิปัญญา พิธีกรรม และความเชื่อของหนังตะลุงยุคดั้งเดิมและร่วมสมัย ทะเบียนนายหนังตะลุงยุคดั้งเดิมและยุคร่วมสมัย ได้แผนที่วัฒนธรรมทั้งด้านผลิตภัณฑ์และการแสดงหนังตะลุง จำนวน 32 พื้นที่ กรอบ Cultural Service ได้รูปแบบการแสดงหนังตะลุงที่ผ่านการพัฒนาแบบร่วมสมัย จำนวน 1 รูปแบบ มีพื้นที่บริการวัฒนธรรมด้านการแสดงและผลิตภัณฑ์หนังตะลุง จำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่ บริเวณใกล้วัดพระมหาธาตุ บ้านหนังตะลุงสุชาติ ทรัพย์สิน และวัดเจดีย์. กรอบ Cultural product มีผลิตภัณฑ์หนังตะลุงแบบร่วมสมัย ทั้ง 3 แนวทาง ได้แก่ ของใช้ ของตกแต่ง และของที่ระลึก จำนวน 19 ผลิตภัณฑ์ รวม 210 ชิ้น กรอบ Cultural ROI/SROI สร้างผู้ประกอบด้านผลิตภัณฑ์ 4 กลุ่ม และผู้ประกอบการด้านการแสดง 7 กลุ่ม รวม 11 กลุ่ม ผู้ประกอบการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 และในกรอบ Cooperation plan เกิดเครือข่ายหนังตะลุงจำนวน 21 อำเภอ จำนวน 53 คณะ ภายใต้เครือข่ายหนังตะลุงจังหวัดนครศรีธรรมราช ดังกล่าว นักวิจัยได้รวบรวมภายใต้ระบบกลไก “สายเลือดครูหมอหนังตะลุง”ระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน ศิลปินภาคเอกชนและภาครัฐ นอกจากนี้ยังมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานแล้วอย่างน้อย 1 ฉบับ และอยู่ในขั้นดำเนินการ อย่างน้อย 2 ฉบับ และอยู่ในช่วงการขอจดอนุสทธิบัตร

Title

The Cultural Capital Management of Shadow Plays for Nakhon Si Thammarat Province.

Keywords

Management,Cultural Capital,Community Economy,Shadow Puppet Show,around Cultural Market

Abstract

Due to the value and importance of the shadow puppet show (Nung Talung) in Nakhon Si Thammarat Province (NST), Nakhon Si Thammarat Rajabhat University decided to develop the research question under the project of Cultural Management of NST Shadow Puppet. This study aimed to 1) build cooperation between the educational institutes and significant parties in the relevant areas, leading to the cooperation plan in making the NST cultural mapping, 2) develop the cultural entrepreneurs to create jobs and earn more income operated through cultural products and services, and 3) upgrade and increase the growth rate value of grassroots economy and NST shadow puppet products by 10 percent. The researchers conducted this study based on five conceptual frameworks: Cultural Mapping, Cultural Service, Cultural Product, Cultural ROI/SROI, and Cooperation Plan. The study’s results under the Cultural Mapping Framework showed the information database which compiled the history, tales, wisdom, rites, and beliefs about the original and modern shadow puppet. The database also included lists of shadow puppet performers from the original and modern ages, cultural mapping of 32 areas that presented shadow puppet products and shows. For the Cultural Service Framework, the study gained a style of shadow puppet show developed based on the modern idea, two cultural service areas where presented shadow puppet products and shows: 1) area near the Phramahathat temple and Suchat Sapsin Shadow Puppet House and 2) area near the Chedi temple. For the Cultural Product Framework, the study gained nineteen shadow puppet products, 210 pieces in total in three styles: utensils, decoration, and souvenirs. For Cultural ROI/SROI, the study could make two types of shadow puppet entrepreneurs: four groups of product entrepreneurs and seven groups of the shadow puppet show, totaling 11 groups. The entrepreneurs could gain more income, not less than 10%. For the Cooperation Plan, the study could build a shadow puppet network gathered from 21 districts with 53 shadow puppet groups. This NST shadow puppet network, together with the system and mechanism of “the blood of the first shadow puppet teachers,” helped the researchers compile these shadow puppet groups from the cooperation between universities and community, as artists from private and government sectors. Moreover, the study results are in the publishing process. At least one paper has already been published, two are in the process of paper publication, and the application for a patent certificate is in progress.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น