เมืองเก่าสงขลา : ผลงานศิลปกรรมสร้างสรรค์จากฐานทุนพหุวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 6 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640082
นักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กรฤต นิลวานิช
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 14 สิงหาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย สงขลา

ชื่อโครงการ

เมืองเก่าสงขลา : ผลงานศิลปกรรมสร้างสรรค์จากฐานทุนพหุวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน

คำสำคัญ

ศิลปกรรมสร้างสรรค์,พหุวัฒนธรรม,ย่านเมืองเก่าสงขลา,เศรษฐกิจชุมชน,สำนึกท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนที่ทางวัฒนธรรมและแผนความร่วมมือในพื้นที่ย่านเมืองเก่าสงขลา 2) นำข้อมูลในแผนที่ทางวัฒนธรรมมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลงานผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม (Cultural Product) การพัฒนาการบริการทางวัฒนธรรม (Cultural Service) และการพัฒนาพื้นที่วัฒนธรรม (Cultural Space) ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม 3) พัฒนาผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน สร้างมูลค่าและคุณค่าจากทุนทางวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ย่านเมืองเก่าสงขลา 4) สร้างฐานองค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมการจัดการองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ย่านเมืองเก่าสงขลา โดยกลุ่มเป้าหมายของงานวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชนและกลุ่มผู้ประกอบการย่านเมืองเก่าสงขลา จำนวน 40 คน กลุ่มนักท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าสงขลา จำนวน 100 คน และกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม (SROI) จำนวน 644 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสำรวจข้อมูลอัตลักษณ์วัฒนธรรม ความต้องการของชุมชนแบบสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักและผู้ประกอบการในย่านเมืองเก่าสงขลา 2) แบบสอบถามนักท่องเที่ยวย่านเมืองเก่า 3) แบบประเมินผลงานสำหรับผู้เชี่ยวชาญ และ 4) แบบประเมินผลด้านเศรษฐกิจชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงความพึงพอใจของภาคีความร่วมมือต่อผลงานสร้างสรรค์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาแผนที่ทางวัฒนธรรมและแผนความร่วมมือในพื้นที่ย่านเมืองเก่าสงขลา ได้ดำเนินการสำรวจและจัดหมวดหมู่วัฒนธรรมในพื้นที่ย่านเมืองเก่าสงขลาร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือในชุมชน และได้ทำการปักหมุดลงแผนที่วัฒนธรรม รวม 134 จุด 2. นำข้อมูลในแผนที่ทางวัฒนธรรมมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลงานผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม (Cultural Product) การพัฒนาการบริการทางวัฒนธรรม (Cultural Service) และการพัฒนาพื้นที่วัฒนธรรม (Cultural Space) ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ดำเนินการผ่านกิจกรรมย่อย 12 กิจกรรม ร่วมกับชุมชนในการดำเนินการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในพื้นที่ย่านเมืองเก่าสงขลา 3. การพัฒนาผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน สร้างมูลค่าและคุณค่าจากทุนทางวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ย่านเมืองเก่าสงขลา มีการร่วมมือกับผู้ประกอบการในชุมชน ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบและทำการทดลองตลาด 4. การสร้างฐานองค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมการจัดการองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ย่านเมืองเก่าสงขลา มีการจัดทำเว็บไซต์ “สงขลาเข้าท่า.com” ที่ประกอบไปด้วย ข้อมูลแผนที่ทางวัฒนธรรม ข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ผู้ประกอบการ และร้านค้า สื่อวีดิทัศน์แหล่งข้อมูลทางวัฒนธรรม ข่าวสาร และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในย่านเมืองเก่าสงขลา ผลจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและบริการทางวัฒนธรรมร่วมกับชุมชน การจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมที่นำข้อมูลที่ได้มาเป็นฐานมาเป็นความคิดรวบยอดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ได้ผลผลิตทั้งหมดจำนวน 59 ชิ้นงาน และบริการทางวัฒนธรรม ซึ่งผู้ประกอบการในพื้นที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนได้เป็นอย่างดี

Title

Songkhla old town: The multicultural capital in creative arts to enhance community economy

Keywords

Creative arts,Multiculture,Songkhla old town,Community economy,Local consciousness

Abstract

Abstract The purposes of this research are; 1) to develop Songkhla old town cultural map and cooperation plan 2) to develop the cultural product, cultural service and cultural space from cultural map data through the participatory process 3) to develop the entrepreneurs, community enterprise and to create value from Songkhla old town cultural capital and 4) to create arts and culture knowledge base including promoting cultural knowledge management for Songkhla old town. The sample groups consisted of 40 community leaders and entrepreneurs, 100 tourists and 644 samples on Social Return on Investment evaluation. The research tools were 1) the cultural identity and community need survey forms, the interview forms of stakeholders and entrepreneurs in Songkhla old town 2) Songkhla old town tourists’ questionnaires 3) experts evaluation forms and 4) the evaluation forms of community economics, social and environment including a partnerships’ satisfaction on creative works. The research found that 1) the development of the Songkhla old town cultural map and cooperation plan had surveyed and categorized cultures in the Songkhla old town area with the cooperation from the community network and 124 cultural lists were pinned on the cultural map 2) the data from a cultural map were developed to be cultural products, cultural services and cultural spaces through 12 activities with community participation 3) the cooperation with entrepreneurs in the community to develop prototype products and conduct the market testing 4) developing website “สงขลาเข้าท่า.com” (songkhlakaotha.com) which including cultural map data, cultural products data, entrepreneurs and shops data, video, cultural data sources and news and activities in Songkhla old town area. Moreover, the researchers can further develop 59 cultural products and services using cultural map data and all these products and services are useful for local entrepreneurs and community economics.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น