ชื่อโครงการ
โครงการขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของชุมชนชาติพันธุ์ไทยกะเหรี่ยง บริเวณแถบเทือกเขาตะนาวศรี จังหวัดราชบุรี (ตำบลสวนผึ้งและตะนาวศรี)คำสำคัญ
แผนที่ทางวัฒนธรรม,ชาติพันธุ์ไทยกะเหรี่ยง,ผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรม,วิสาหกิจวัฒนธรรม,ทุนทางวัฒนธรรม,ดิจิตัลแพลทฟอร์ม,มรดกทางวัฒนธรรม,เศรษฐกิจสร้างสรรค์บทคัดย่อ
โครงการขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรมชาติพันธุ์ไทยกะเหรี่ยง พื้นที่แถบเทือกเขาตะนาวศรี จังหวัดราชบุรีเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ อาศัยแนวคิดของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ในการออกแบบกระบวนการวิจัย โครงการนี้ มุ่งค้นหามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (Cultural Heritage) ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยกะเหรี่ยงโผล่วในพื้นที่ศึกษา 5 หมู่บ้านบริเวณชายแดนของจังหวัดราชบุรีด้วยกระบวนการทำแผนที่วัฒนธรรม เพื่อนำไปแปลงเป็นทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของพื้นที่ วิธีวิทยาในการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed Methods) โดยอาศัยทั้งวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research หรือ PAR) และการประยุกต์ใช้เทคนิคและมุมมอง (Approach) ของการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา (Ethnographic Research) ซึ่งอาศัยการเก็บข้อมูลจากการลงพื้นที่ (Fieldwork) และจัดกิจกรรมร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการเป็นหลัก ผลการศึกษาแสดงให้เห็นศิลปะและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงโผล่วของอำเภอสวนผึ้ง ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้จำนวนทั้งสิ้น 78 รายการ โดยมีหมวดสถาปัตยกรรมมากที่สุด 27 รายการ ส่วนมากเป็นวัดและโบสต์คริสต์ สะท้อนภาพการอยู่ร่วมกันของพุทธศาสนาและคริสตศาสนาในพื้นที่ รองลงมาเป็นหมวดความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาลจำนวน 22 รายการ ประกอบไปด้วยต้นไม้ พื้นที่ธรรมชาติและพื้นที่เพาะปลูก และบุคคลทรงผู้ทรงภูมิปัญญาเรื่องวิถีชีวิตกับป่า การจัดการทรัพยากรในผืนป่า และไร่หมุนเวียน ส่วนหมวดศิลปะการแสดงนั้นมีจำนวน 10 รายการ ซึ่งสะท้อนความโดดเด่นของปราชญ์ ครู และนักแสดงของการรำกะเหรี่ยง หมวดงานช่างฝีมือดั้งเดิมมีจำนวน 9 รายการ ประกอบไปด้วยช่างฝีมือและโรงเรียนในพื้นที่ที่สนับสนุนการสร้างสรรค์หัตถกรรมประเภทเครื่องเงิน ผ้าทอ ผ้าปักกะเหรี่ยงและจักสานไม้ไผ่ และหมวดแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลจำนวน 4 รายการ ทั้งหมดคือปราชญ์และนักวิชาการท้องถิ่นที่ทรงความรู้และความทรงจำเกี่ยวกับประเพณีประจำปีที่สะท้อนระบบคุณค่าและโลกทัศน์ที่ชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิมยึดมั่น จากการวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงสูญหายและความสำคัญของวัฒนธรรมต่อชุมชนร่วมกับชุมชนในพื้นที่พบว่า วัฒนธรรมไร่หมุนเวียน มีความสำคัญต่อชุมชนในพื้นที่และมีระดับความเสี่ยงสูงที่จะสูญหายมากที่สุด เหตุเนื่องจากถูกควบคุมการใช้พื้นที่โดยภาครัฐและอุทยานฯ ทำให้ไม่สามารถเพาะปลูกแบบไร่หมุนเวียนได้ วัฒนธรรมโผล่วนั้นผูกพันกับป่าอย่างแนบแน่น วัฒนธรรมการทำไร่หมุนเวียน มีความเชื่อมโยงกับองค์ความรู้และภูมิปัญญาอื่นประเภทที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Heritage) และมักอยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) เช่น การใช้สมุนไพร การตีผึ้ง วิถีชีวิต รวมไปถึงพิธีกรรม ดนตรี นิทาน การแสดงรำ หากชุมชนไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับป่าได้ ศิลปวัฒนธรรมหลายอย่างจะหายไปอย่างแน่นอน การตีผึ้งและต้นผึ้งเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การรักษาไว้ เนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกับธรรมชาติของชาวโผล่วได้ ในปัจจุบันต้นผึ้งแต่ละต้นในสวนผึ้งอยู่ในระดับความเสี่ยงที่จะสูญหายไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้งของต้นผึ้งว่าอยู่บนที่ดินของเอกชน ภาครัฐ หรือในป่า และกิจกรรมของมนุษย์รอบด้าน เช่น การพัฒนาพื้นที่จนรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่ารวมทั้งคุณภาพของดินและน้ำ วัฒนธรรมด้านภาษาเป็นสิ่งที่ชุมชนแสดงความวิตกกังวลอย่างเห็นได้ชัด เพราะในปัจจุบันเยาวชนส่วนใหญ่ไม่สามารถพูดภาษากะเหรี่ยงโผล่วได้มากคำนัก เนื่องด้วยเยาวชนยังมองไม่เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการเรียนรู้ภาษาดั้งเดิมของตน โดยวัฒนธรรมด้านภาษานั้นเชื่อมโยงโดยตรงกับพิธีกรรม ดนตรี เพลง นิทาน รวมไปถึงการแสดงรำด้วย สำหรับวัฒนธรรมที่จับต้องได้มากกว่าอย่างเช่น งานหัตถกรรม ชุมชนให้ความเสี่ยงในระดับที่น้อยกว่า เนื่องจากงานทอผ้าและปักผ้าลายกะเหรี่ยงโผล่ว ถึงแม้จะมีความซับซ้อนและต้องใช้ทักษะและฝีมือในการทำมาก ก็ยังพอมีช่างฝีมือที่ยังฝึกฝนทำอยู่พอสมควร รวมทั้งยังสามารถสร้างรายได้ให้กับช่างฝีมือได้ไม่มากก็น้อย ส่วนวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นนั้น ด้วยข้อจำกัดของการห้ามหาวัตถุดิบจากป่ามาใช้ประโยชน์ ทำให้แม่ครัวชาวกะเหรี่ยงโผล่วมีการปรับเปลี่ยนสูตรไปบ้าง แต่เมนูที่ยังต้องใช้ในพิธีกรรมอย่างแกงหอยจุ๊บใส่เผือก หรือแกงข้าวคั่วไก่ใส่หยวกกล้วย ก็ยังมีให้เห็นอยู่บ่อย ๆ ข้อมูลทั้งหมดถูกนำมาประมวลและวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาเป็นสินค้าและบริการที่ยังทรงคุณค่าเชิงศิลปวัฒนธรรมกะเหรี่ยงโผล่วเอาไว้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารทางวัฒนธรรม นอกจากนี้ สินค้าและบริการที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี สามารถช่วยสืบสานศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไปและขยายไปสู่กลุ่มผู้ชมในวงที่กว้างขึ้น รวมทั้งสามารถต่อยอดคุณค่าเดิมให้สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ในโครงการนี้ คณะผู้วิจัยสามารถสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์และบริการออกมาได้จำนวน 3 กลุ่มเรื่องราว โดยแต่ละกลุ่มประกอบด้วยผลิตภัณฑ์และบริการ ดังต่อไปนี้ กลุ่มที่ 1 วิถีชีวิตการอยู่กับป่า และไร่หมุนเวียนกะเหรี่ยง ประกอบด้วย (1) ข้าวห้าสายพันธุ์จากไร่ข้าวชุมชนพร้อมบรรจุภัณฑ์ (2) สบู่สูตรงา น้ำผึ้ง ใบยาสูบ (3) ขนมกระบองไผ่ และ (4) ผลิตภัณฑ์ขนมกล้วยกล้วย กลุ่มที่ 2 วิถีชีวิตการอยู่กับป่า และไร่หมุนเวียนกะเหรี่ยงในเรื่องเล่า : นิทานจาปานิว ประกอบด้วย (1) การออกแบบคาแรคเตอร์จากนิทานพื้นบ้านกะเหรี่ยงเรื่องจาปานิว กลุ่มที่ 3 การรำกะเหรี่ยงและสุนทรียภาพ ประกอบด้วย (1) การแสดงระบำ “ผึ้ง” ที่ได้ดัดแปลงจากท่ารำกะเหรี่ยงพื้นฐาน (2) เพลงประกอบการแสดงชุดใหม่ บรรเลงบางส่วนด้วย “นะเด่ย” เครื่องดนตรีพื้นบ้านกะเหรี่ยง (3) ชุดนักแสดงทำจากผ้าทอกะเหรี่ยง (4) เครื่องประดับศีรษะ (5) เสื้อ ย่าม และ Accessories สำหรับเด็ก (6) เสื้อผู้ใหญ่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้อมูลแผนที่วัฒนธรรมนั้น ดำเนินควบคู่ไปกับการสร้างองค์ความรู้ (Capacity Building) ด้านการเป็นผู้ประกอบการและการตลาดให้กับกลุ่มผู้ประกอบและผู้สร้างสรรค์ในพื้นที่ กลยุทธ์การตลาดสำหรับกลุ่มสินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรมที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์และบริการที่พัฒนาขึ้นมีหลากหลาย เนื่องจากผลิตภัณฑ์และลักษณะของการประกอบการของแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน กลยุทธ์ดังกล่าวได้แก่ (1) การสร้างคุณค่าใหม่ ต่อยอดจากคุณค่าเดิม (2) การสร้างความต้องการใหม่ให้กับกลุ่มลูกค้าเดิมของสินค้าเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่สวนผึ้ง (3) การตลาดใหม่ที่เน้นการสื่อสารด้วยเรื่องราว-เรื่องเล่า (4) การสร้างช่องทางใหม่ (5) การสร้างคุณค่าจากคุณภาพของทรัพยากร (6) การลดต้นทุนสินค้า และ (7) การสร้างช่องทางรายได้ใหม่
Title
Cultural Mapping : Collaborative Tool to Leverage Community Art and Cultural Assets to Achieve Sustainable Creative Economy with Human-capital-centered Approach for Thai-Karen Ethnic Community in Tanaosri and Suanpueng, Ratchburi Province.Keywords
cultural mapping,Thai-Karen ethnics,cultural entrepreneur,cultural enterprise,cultural capital,digital platform,Cultural Heritage,Creative EconomyAbstract
The research ‘Cultural Mapping : Collaborative Tool to Leverage Community Art and Cultural Assets to Achieve Sustainable Creative Economy with Human-capital-centered Approach for Thai-Karen Ethnic Community in Tanaosri and Suanpueng, Ratchburi Province’ aims to discover the cultural heritage of Phlow Karen communities in Suanpeung District, Ratchburi Province by using Cultural Mapping as the main tool. The research plan is designed based on the concept of Design Thinking, employing ethnographic approach and Participatory Action Research, or PAR, methods by which fieldworks and stakeholders engagement are the key means. The study reveals 78 lists of both tangible and intangible cultural heritage in the areas. Architecture tops the table with 27 lists, most of which are Buddhist temples and Christian churches. This figure reflects the co-existence of both religions in Phlow Karen communities. The second rank of the table belongs to Knowledge and practices concerning nature and the universe with its 22 lists. The list consists of natural and agricultural spaces, iconic trees and the local scholars with living-with-the-wilds and forestry wisdom and Swidden farming know-how. 10 lists of Performance arts show the talents in traditional Karen dance and folk music fields while 9 lists of Traditional craftsmanship focus mainly on Karen weavers, textiles embroiderers as well as silversmiths and bamboo wicker artisans. Social practices, rituals and festive events completes the cultural heritage compilation with 4 lists, all of which are local scholars who holistically embody the knowledge, memories and worldview about Phlow Karen culture. Once analysed with the stakeholders, the research information reveals that Cultural Heritage in top-most jeopardy is Karen Swidden farming. Due to the law and restriction of land use and access to the forests, Karens are forced to stay and farm only in the assigned areas. Rotating the land plots for seasonal plantation (the key principle of Swidden farming) is considered illegal. Swidden farming is also the cultural foundation of other Karen arts and cultural forms and wisdoms such as rituals, music, folktales and cuisine. Karens’ disconnection with forests and lands will cause the loss of Swidden farm and jeopardises related intangible heritages. Suanpueng, literally means Garden of bees, used to be filled with bee trees in which wild bees always build their hives to grow their communes. Honey from the hives are most desired as it has both attractive taste and magical nutrition. Hunting the honey down from high trees can be considered as Karen wisdom in many aspects. Therefore these iconic trees and their bees address the symbolic value and memory to the area. Currently, numbers of bee trees and traditional bee hunters are decreasing due to several factors. Honey Hunting, as well as bee trees, are considered to be safeguarded. The risk for loss of Karen speaking Language is also worried by locals as there are few young Karens who can fluently speak and understand Karen language nowadays. It is also associated directly to other forms of oral traditions and expressions such as songs, tales and dances. Once the language is lost, all the rest will be lost too. For Traditional craftsmanship, it is evaluated as less risky for loss because there are communities of weavers and embroiderers who continuously create the craftwork for the market that is still active and provides satisfactory extra income for the artisans. Lastly, Karen culinary culture is in the same level of risk confronting as Traditional craftsmanship. The Karen chefs need, however, to adapt their recipe as some ingredients, such as lemurs meat, are prohibited as those animals are nowadays legally protected. Food with common ingredients are still cooked in Karen daily routines and festive food are also available these days. The research findings are analysed and synthesised into the new cultural products and services. There are 3 cultural themes from which the new products and services are derived: Theme 1 Forestry wisdom and Swidden farming consisting of (1) packaged rice from Swidden farms (2) organic soap bars with sesame seed formula and tobacco leaves formula (3) Karen traditional dry snack and (4) Banana pancake, Theme 2 Karen Narratives in Forestry wisdom and Swidden farming consisting of (1) character designs from Karen folk tales ‘Ja-pa-neu’ and Theme 3 Karen dance and aesthetics consisting of (1) the new Karen dance ‘Bee Dance’ (2) music for the dance (3) young dancers’ costumes (4) head gears (5) merchandises such as Karen blouse, hobo bags and fashion accessories for young audiences and (6) Karen blouse for adults Along with the product development stage, the entrepreneurship training programme is provided to build local entrepreneurs’ capacity too. Marketing strategies that are synthesized during the training are various depending on the types and nature of each product and their consumers. The marketing strategies include (1) new value creation (2) the new ‘wants’ creation for existing markets (3) penetrating the new markets with the captivating narratives and stories (4) new selling channels (5) value creation from raw materials, local resources and value chains (6) cost reduction and (7) new branch of revenue stream.