ชื่อโครงการ
การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ย่านสร้างสรรค์ เมืองเก่าเชียงรายคำสำคัญ
ทุนวัฒนธรรม,เศรษฐกิจฐานราก,ย่านสร้างสรรค์,เมืองเก่าเชียงรายบทคัดย่อ
แนวทางการพัฒนาประเทศไทยได้มุ่งเน้น การพัฒนาประเทศจากเศรษฐกิจฐานรากหรือเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งเป็นหัวข้อสําคัญที่ได้กําหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีโดยความหมายของเศรษฐกิจฐานราก ได้แก้ การดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การบริโภค การจําหน่ายจ่ายแจก ที่คนในท้องถิ่นชุมชนได้มีส่วนร่วมคิดร่วมทํา และร่วมรับประโยชน์ของประชาชน ร่วมกันเป็นเจ้าของ โดยเศรษฐกิจชุมชนมีรากฐานมาจากศักยภาพของชุมชน ภูมิปัญญา และทุนทางวัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนทุนวัฒนธรรม ความหมายของทุนวัฒนธรรม คือ ทรัพย์สินทางปัญญาที่สั่งสมมาในอดีต มีคุณค้ามนุษย์และความต้องการของสังคม (Thorsby.2001) ทุนวัฒนธรรมให้คุณค่าเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจหลายประการ อีกทั้งช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ความเป็นธรรมในสังคม รวมถึงมีอิทธิพลต้อการกําหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยที่ทําให้เกิดการกระจายรายได้ ที่สําคัญสามารถสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับกลุ่มคนที่ยากจน โดยเฉพาะทุนวัฒนธรรมของชุมชนเมืองเก่า เนื่องจากปัจจุบันการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองเก่ากําลังได้รับความนิยม จากโครงการวางแผนแม่บทของการอนุรักษ์เมืองเก่าประเทศไทย ซึ่งเมืองเก่าที่มีความสําคัญและมีความน่าสนใจ ได้แก่ เมืองเก่าเชียงราย :ซึ่งเป็นเมืองเก่าประเภทที่ 2 ที่มีประวัติศาสตร์และองค์ประกอบเมืองเก่าที่ยังไม่สูญหายไป และมีขนาดเมืองปานกลาง (สํานักนโยบายและแผนฯ.2562) อีกทั้งเมืองเก่าเชียงรายกําลังอยู่ในขั้นตอนการเขียนเอกสารการขอเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) โดยแนวคิดเมืองสร้างสรรค์ ต้องเป็นเมืองที่พัฒนาไปสู่แนวโน้มใหม่ ในด้านศิลปะและวัฒนธรรม และให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมเชิงนวัตกรรม และเชิงสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ของศิลปิน นักสร้างสรรค์ นักออกแบบ และประชาชน ดังนั้นจากประวัติศาสตร์ดังกล่าว ทําให้เชียงรายเป็นเมืองเก่าที่มีทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถนํามาพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมได้ โดยทุนวัฒนธรรมของเมืองเก่าเชียงราย แบ่งได้เป็นสองรูปแบบ ได้แก่ทุนวัฒนธรรมแบบรูปธรรมจับต้องได้ได้แก่อาคารสถาปัตยกรรม โบราณวัตถุ ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม แผนที่วัฒนธรรม และทุนวัฒนธรรมนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ ได้แก่ ประเพณีพื้นถิ่นดั้งเดิมของวัดในเมืองเก่าเชียงราย เพลงดนตรีดั้งเดิมของเมืองเก่าเชียงราย จึงทําให้เกิดแผนงานวิจัยการจัดการทุนทางวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ย่านสร้างสรรค์ เมืองเก่าเชียงรายนี้ มีวัตถุประสงค์ การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายศิลปิน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ภาคธุรกิจเอกชน ในการจัดทําแผนที่วัฒนธรรม ฟื้นฟูประเพณีท้องถิ่น พัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม ที่ส่งเสริมย่านสร้างสรรค์เมืองเก่าเชียงราย และร่วมบูรณาการองค์ความรู้ และความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรมให้กับผู้ประกอบการวัฒนธรรม จำนวน 10 ราย และมีแผนการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มวิสาหกิจวัฒนธรรมที่มีการประเมินผลตอบแทนสังคมให้เกิดรายได้แก่ชุมชนเมืองเก่าเชียงรายร้อยละ 10
Title
Cultural capital managing for improve a local economy at creative district of Chiang Rai Old TownKeywords
Cultural capital,creative district,Chiang Rai old town,local economyAbstract
Creative economy or creative industries. Economic development of Thailand that is growing and developing rapidly. Government policies and national economic plans for 20 years. The development of a country from a fundamental economy or community economy. Community economy is based on the potential, wisdom and cultural capital of the community. The tradition of cultural capital and the significance of cultural capital are the past of intellectual property rights. Factors caused by an important part of income distribution, automobile economy. The old city that is important and interesting is the old city of Chiang Rai. History makes it an ancient city. Cultural capital can develop and improve the economic foundation. Cultural Capital of Chiang Rai Old Town can be divided into two forms: tangible cultural capital; Architecture, architecture, antiques, cultural products, cultural map. The intangible, abstract cultural capital is the traditional local traditions of the temples in Chiang Rai Old Town. Traditional music of Chiang Rai old town. Finally, research on the economic basis of cultural capital management. In the preparation of cultural maps, private sector cooperation networks and local government organizations Restore local traditions, develop the design of cultural products and promote creativity.