การจัดการทุนทางวัฒนธรรมพื้นที่เมืองแพร่ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจทางวัฒนธรรม

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 77 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640064
นักวิจัย อ. ดร. โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 14 สิงหาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี 3 เดือน
สถานที่ทำวิจัย แพร่

ชื่อโครงการ

การจัดการทุนทางวัฒนธรรมพื้นที่เมืองแพร่ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจทางวัฒนธรรม

คำสำคัญ

การเพิ่มศักยภาพ, ทุนทางวัฒนธรรม, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย “การจัดการทุนทางวัฒนธรรมพื้นที่เมืองแพร่ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจทางวัฒนธรรม” มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) สืบเสาะ ค้นหาทุนทางวัฒนธรรมเชิงพื้นที่เมืองแพร่ผ่านแผนที่ทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ 2) ศึกษาบทบาทของทุนทางวัฒนธรรมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน โดยเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ และ3) การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจวัฒนธรรมในชุมชน (Cultural Enterprise) รวมถึงการประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ ของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและบริการทางวัฒนธรรม จังหวัดแพร่ ด้วยความสร้างสรรค์และแนวคิดนวัตกรรม จากการศึกษาทุนทางวัฒนธรรมชุมชนในเขตเมืองเก่าแพร่ เพื่อส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ได้สร้างเครื่องมือเพื่อวัดผลและต่อยอดผลิตภัณฑ์โดยการประเมิน DNA (OEM/ODM/OBM x S/M/L) ด้วยระดับค่าคะแนน ทำให้มีระดับและวิธีการพัฒนาตามลำดับ ในเขตเมืองเก่าแพร่พบว่ามีกลุ่มผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจที่เป็นพันธุวัฒนธรรมจังหวัดแพร่และมีศักยภาพในการพัฒนา 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มงานผ้า จัดเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง (DNA 2) แนวทางการพัฒนาคือ การส่งเสริมให้เกิดการสร้างแบรนด์เป็นของตัวเองและพัฒนารูปแบบให้มีเอกลักษณ์ภายใต้ทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดแพร่ กลุ่มงานหัตถกรรมและกลุ่มงานไม้ จัดกว่าเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพอยู่ในระดับสูง (DNA3) เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีการสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง และสามารถพัฒนารูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความเชื่อมโยงกับกิจกรรมทางสังคมวัฒนธรรมและกิจกรรมด้านงานช่างฝีมือของเมืองแพร่ โดยเฉพาะ ย่านคำลือถนนคนเดินกาดกองเก่า และกิจกรรมย่านเจริญเมือง แนวทางการพัฒนาขั้นต่อไปคือ การนำธุรกิจก้าวเข้าสู่ Digital Platform พัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์และก้าวเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ การสร้างมูลค่าเพิ่มและมูลค่าใหม่ของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม การบริการทางวัฒนธรรม และพื้นที่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรมเชิงพื้นที่ในเขตเมืองเก่า จังหวัดแพร่พบว่าแพร่มีมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่น่าสนใจอย่างมาก และมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอด ไม่ว่าจะเป็น 1) ศักยภาพในการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว 2) ศักยภาพด้านกายภาพและการจัดกิจกรรม 3) ศักยภาพในการรองรับด้านการท่องเที่ยว 4) ศักยภาพด้านการบริหารจัดการ และ 5) ศักยภาพด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรมต้นแบบ ภายใต้งาน “แพร่สะพัด ณ กาดกองเก่า” ซึ่งเป็นหนึ่งแนวทางที่สามารถช่วยผู้ประกอบการในการนำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นให้กับคนในท้องถิ่น มีการเผยแพร่ผลงานผ่านเว็บไซต์ “แพร่สะพัด” สำหรับการศึกษาด้านการประเมินผลกระทบทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน พบว่าอัตราผลตอบแทนทางสังคมของโครงการ (SROI) สำหรับการดำเนินการโครงการในระยะเวลา 1 ปี เท่ากับ 6.31 เท่า โดยพบว่าขนาดการเปลี่ยนแปลงหรือผลกระทบที่ปรับค่า Deadweight, Attribution และ Displacement แล้ว มีมูลค่าคิดเป็น 5,779,154.38 บาท ซึ่งผลกระทบดังกล่าวประกอบไปด้วย 1) ผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของการดำเนินโครงการและ 2) ผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาถัดไป เมื่อคำนวณหาค่าปัจจุบันของผลกระทบที่เกิดขึ้นพบว่า มูลค่าปัจจุบันของผลกระทบทั้งสิ้นเท่ากับ 11,884,423.66 บาท และมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 10,000,723.66 บาท

Title

Cultural capital management in Phrae prefecture for potential enhancing of the competitive aspect of cultural enterprises.

Keywords

Potential enhancing,Cultural capital, cultural enterprises

Abstract

A research study “Cultural capital management in Phrae prefecture for potential enhancing of the competitive aspect of cultural enterprises.” with the main objective to search for cultural capital in Phraes area through creative cultural maps. Study the role of cultural capital in the development of the local economy. Emphasizing the economic development based on the area-based culture and developing the potential of cultural entrepreneurs in the community (Cultural Enterprise), as well as assessing the impact of cultural-based economic development projects in the area, entrepreneurs of cultural products and cultural services in Phrae Province with creativity and innovative ideas. From the study of community cultural capital in the old city of Phrae to promote the creation of added value of cultural products. It has created a tool to measure and enhance products by evaluating DNA (OEM/ODM/OBM x S/M/L) with a score scale contributing for development levels and methods. In the old city of Phrae, it was found that there were 3 groups of products of cultural enterprises in Phrae Province with potential for development, namely, the textile group, which was classified as a group of cultural products with medium potential (DNA 2).It is encouragement to create own brand and develop a unique style under the cultural capital of Phrae Province. The handicraft and woodworking groups, it is classified as a cultural product group with high potential (DNA3) due to its own branding and can develop a unique style. Both groups should be linked to social , cultural, and artisan activities of Phrae, especially the Kham Lue area, Kad Kong Kao Walking Street and activities in the Charoen Muang district. The next step in development is bringing the business into the digital platform, developing packaging and stepping into the international market. Creation of added value and new value of cultural products, cultural service, and creative cultural space for economic development based on cultural areas in the old city Phrae Province has found that Phrae has a very interesting heritage of art and culture, it has the potential for further development; 1) the potential to attract tourism, 2) the potential in physical activities and organizing activities, 3) the potential to support tourism, 4) the potential of management, and 5) the potential of community participation, making of cultural products prototype and services which have been developed under the “Phrae Sa Pad at Kad Kong Kao” event. All of these is an approach that can help entrepreneurs present new products that they have jointly created to local people. The work has been published through the website “Phrae Sa Pad”. For studies on social impact assessment and social return on investment, it was found that the Social Return in Investment (SROI) for the implementation of the project in a period of 1 year was 6.31 times. The size of the change or the effect adjusted for Deadweight, Attribution and Displacement was 5,779,154.38 Baht, which impacts consist of 1) the impact during the implementation of the project and 2) the impact during the next period. When calculating the current value of the effect, it was found that the present value of the total effect is 11,884,423.66 Baht and the net present value is 10,000,723.66 Baht

สำหรับสมาชิกเท่านั้น