ชื่อโครงการ
การพัฒนาชุมชนเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงสู่การเป็นชุมชนนวัตกรรมอย่างยั่งยืน จังหวัดสงขลาคำสำคัญ
ชุมชนนวัตกรรม,พัฒนาชุมชน,วิสาหกิจชุมชน,นวัตกรชาวบ้าน,การเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงบทคัดย่อ
การพัฒนาพื้นที่ (Area Based Development) เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนคนในพื้นที่บ้านเกิดของตนเองที่สอดคล้องกับบริบทและฐานทุนเดิม การพัฒนาชุมชนเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงสู่การเป็นชุมชนนวัตกรรมอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นที่มีฐานจากทำการเกษตรอินทรีย์ พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมทางการตลาด โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา และยกระดับศักยภาพในพื้นที่ผ่านการ Learning and Innovation Platform รวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้และชุดข้อมูลสู่การปฏิบัติจริงโดยการสร้างนวัตกรชุมชน นวัตกรชาวบ้านที่มีทักษะการรับและปรับใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบท โดยกำหนดพื้นที่วิจัย 10 ตำบลในจังหวัดสงขลาที่เป็นวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรง ประกอบด้วย ตำบลชะแล้ ตำบลบางกล่ำ ตำบลท่าช้าง ตำบลขุนตัดหวาย ตำบลฉลุง ตำบลกำแพงเพชร ตำบลท่าชะมวง ตำบลบางเหรียง ตำบลคลองหรัง และตำบลปากบาง โดยการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับเกษตรกรในแต่ละชุมชนที่พัฒนาตามศักยภาพในการขยายการเพาะเลี้ยง เพิ่มปริมาณผลผลิตน้ำผึ้งชันโรงและผลิตภัณฑ์แปรรูป เพิ่มรายได้ให้สมาชิกวิสาหกิจชุมชน และการผสมเกษรของผึ้งชันโรงยังช่วยปริมาณผลผลิตภาคการเกษตรทางอ้อมอีกทางหนึ่งด้วย (Food for Bee, Food for Man) ในช่วงระยะเวลาการวิจัย แม้ว่าจะมีสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 อย่างรุนแรง และมีผลกระทบต่อการลงพื้นที่วิจัยอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำให้แผนงานและเป้าหมายการทำวิจัยเปลี่ยนแปลงไป ในการพัฒนานวัตกรชาวบ้านที่พร้อมรับปรับใช้องค์ความรู้ไปช่วยเหลือสมาชิกเกษตรกรในชุมชน และสร้างกรอบการเรียนรู้ Learning Innovation Platform ให้กับวิสาหกิจชุมชนทั้ง 10 ตำบลที่เชื่อมโยงตั้งแต่กิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยโครงการย่อยที่1 ได้นำความรู้สร้างนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ผึ้งชันโรงทำให้มีจำนวนสมาชิกเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์หันมาเพาะเลี้ยงผึ้งชันโรงรวมมีจำนวนรวม 400 คน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพิ่มขึ้นเป็น 17 กลุ่ม จำนวนกล่องรังผึ้งชันโรงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 12,580 รัง มีผลผลิตน้ำผึ้งชันโรงมากกว่า 2,000 กิโลกรัมต่อปี โครงการย่อยที่2 ได้ต่อยอดองค์ความรู้ในด้านการพัฒนาคุณภาพน้ำผึ้งชันโรงและคุณค่าทางโภชนาการจากห้องปฏิบัติการฯ ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และถ่ายทอดองค์ความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ประกอบด้วย เครื่องดื่มน้ำผึ้งชันโรงผสมคอลลาเจน และครีมลดริ้วรอย โครงการย่อยที่3 สร้างการรับรู้และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาช่วยทั้งด้านการสร้างแบรนด์ การพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ ช่องทางการการรับรู้ที่ทันสมัย และการตลาดออนไลน์ ส่งผลให้แต่ละกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมียอดขายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยกว่าร้อยละ 20 คณะผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานวิจัยการพัฒนาเชิงพื้นที่นี้ และการเกิดศูนย์เรียนรู้เพาะเลี้ยงชันโรงใน 5 อำเภอจะสามารถช่วยยกระดับความรู้ความสามารถของนวัตกรชุมชน และเกษตรกรในแต่ละกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้มีความเข้มแข็ง ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของแต่ละชุมชนให้ดีขึ้น เพิ่มการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจฐานรากและการจัดการปัญหาชุมชนบนฐานทรัพยากรท้องถิ่นสู่การเป็นชุมชนนวัตกรรมอย่างยั่งยืนของจังหวัดสงขลาต่อไป
Title
The Development of Stingless Bee Keeping Community to Sustainable Innovation Community, Songkhla ProvinceKeywords
Innovative Community,Community Development,Community Enterprise,Local Innovators,Stingless Bee KeepingAbstract
Area based development is to strengthen local people in their hometown according to their context and capital base. The development of stingless bee keeping community to be a sustainable innovation community had the objective to develop the potentiality of stingless bee keeping based on the local resources with organic farming. The development of learning innovation, product processing, and market innovation were using appropriate innovation and technology to solve problem, and upgrading potential level in the locality through Learning and Innovation Platform, including transferring knowledge into actual practices, by creating community innovation with receiving skill and adapting appropriate innovation with context. The research areas were 10 sub-districts in Songkhla province with stingless bee keeping community enterprise including ChaLae, Bang Klam, Tha Chang, Khun Tat Wai, Chalung, Kamphaeng Phet, Tha Chamuang, Bang Riang, Khlong Rang, and Pak Bang sub-districts. The participatory research was done with farmers in each community, to increase the stingless bee keeping, the produce volume and processed products, and income of the community enterprise members. Pollination of stingless bee also helped to increase agricultural produce in an indirect way. During the research period though there was a severe outbreak situation of COVID-19 effecting some of the research area, but did not alter the research plan and objective. In developing the community innovator and creating the Learning Innovation Platform for 10 community enterprises by connecting activities from upstream, midstream and downstream, the sub-project 1 had brought knowledge to create innovation of stingless bee keeping and to increase the number of stingless bees. So the membership number of organic farmers who turned to stingless bee keeping was 400 people. Community enterprise group increased to 16 groups. Stingless beehive box increased to 12,580 boxes. The produce of stingless bee honey was over 2,000 kilograms per year. The sub-project 2 had extended the knowledge in quality development of stingless bee honey and nutritional value through laboratory for consumer’s acceptance. Knowledge in community product processing was transmitted through model products: stingless bee honey drink with collagen, and wrinkleless cream. The sub-project 3 had created recognition and distribution channels through the help of appropriate technology in branding, packaging development, modern recognition channels, and online marketing. Thus the result was that each community enterprise had increased average sales for over 20%. The researchers really hoped that this area based development will help upgrading knowledge and ability of the community innovator in each community enterprise group to be strong, and upgrading the quality of life for each community for better level. This will increase the value of economy and problem management based, to be the sustainable innovation community of Songkhla province.