การลดโอกาสการสูญเสียรายได้ของชุมชนโดยการสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่สำหรับปลากุเลาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 36 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F640026
นักวิจัย นางเกสรี ลัดเลีย
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship
วันที่เริ่มต้น 16 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 15 พฤศจิกายน 2022
ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน
สถานที่ทำวิจัย ปัตตานี

ชื่อโครงการ

การลดโอกาสการสูญเสียรายได้ของชุมชนโดยการสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่สำหรับปลากุเลาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ

ห่วงโซ่คุณค่า,ปลากุเลา,เศรษฐกิจฐานราก

บทคัดย่อ

การลดโอกาสการสูญเสียรายได้ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปลากุเลา ในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี โดยพัฒนาศักยภาพ/ขีดความสามารถของกลุ่มประมงพื้นบ้านและกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปปลากุเลาเค็ม ให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจในพื้นที่เพิ่มขึ้น ด้วยระบบกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย การดำเนินการ ต้นน้ำ คือ เพิ่มศักยภาพของกลุ่มประมงพื้นบ้านจำนวน 3 กลุ่ม จำนวน 190 ราย เกิดโมเดลการจัดการกลุ่มประมง เพื่อทำการประมงแบบอนุรักษ์ทรัพยากร การสร้างสวัสดิการให้กับสมาชิก การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ประมงชายฝั่งในชุมชน และ การกำหนดกฏกติกาชุมชน “ฮูกมปากัต” การเพิ่มทักษะแบ่งชั้นคุณภาพปลาและเพิ่มขีดความความสามารถในการเป็นผู้รวบรวม ซึ่งทำให้ชาวประมงพื้นบ้าน มีรายได้ 2,126,280 บาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.63) กลางน้ำ คือ เพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปจำนวน 2 กลุ่ม ด้วยการพัฒนา “การวางแผนการผลิต” ซึ่งทำให้กลุ่มวิสาหกิจมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.66 – 61.70 การกำหนดคุณลักษณะที่เป็นอัตลักษณ์และการควบคุมมาตรฐานการผลิตของปลากุเลาเค็มหนองจิก ซึ่งประกอบด้วย ลักษณะปรากฏ น้ำหนักตัว คณภาพทางเคมี และจุลินทรีย์ การพัฒนาระบบจัดการน้ำเสียในกระบวนการผลิตปลากุเลาเค็มเพื่อลดการปล่อยน้ำเสียลงสู่สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการสร้างสัญลักษณ์มาตรฐานปลากุเลหนองจิก “BATAWA” ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าปลากุเลาเค็มจากเดิมกิโลกรัมละ 700 – 1,100 บาท เป็นราคากิโลกรัมละ 1,000 – 1,100 บาท การใช้เทคโนโลยีเพื่อลดข้อจำกัดของ การผลิตโดยพัฒนาตู้อบแห้งปลากุเลาเค็มด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมพลังงานไฟฟ้า ซึ่งสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ 274 กิโลกรัม/เดือน หรือคิดเป็นร้อยละ 33.33 เมื่อเปรียบเทียบกับการตากแห้งแบบเดิม ปลายน้ำ คือ การเพิ่มขีดความสามารถของผู้จำหน่ายหรือวิสาหกิจแปรรูปสัตว์น้ำ จำนวน 3 กลุ่ม โดยการออกแบบแบรนด์สินค้าและบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ บ้านอานีตา ศรีบารู และปลามง การพัฒนาช่องทางการตลาด แบบออนไลน์ผ่านสื่อเพจเฟสบุคและไลน์ การออกร้านจำหน่ายสินค้า และจำหน่ายผ่านคนกลางทางการตลาด ซึ่งจะสามารถเพิ่มราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็น 1,200-1,400 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้การพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ในพื้นที่ให้เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลากุเลาเค็มแบบตัดชิ้น สามารถเพิ่มมูลค่าได้เป็น 1,800 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้การวิจัยเพื่อการสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ (New Value Chain) ของปลากุเลา ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565 กลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน สามารถจับปลากุเลาได้จำนวน 8,370 กิโลกรัม (จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 240 – 250 บาท รวมมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2,000,000 บาท) นำไปแปรรูปในพื้นที่จำนวน 5,198 กิโลกรัม (ร้อยละ 62.10) เกิดรายได้ไม่น้อยกว่า 6,000,000 บาท มูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่คุณค่าใหม่อยู่ระหว่าง 1.25 – 4.50 เท่า ทำให้มีการสร้างอาชีพของคนในชุมชน จำนวน 286 คน ดังนั้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของพื้นที่ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีโดยใช้ทรัพยากรพื้นถิ่น คือปลากุเลา จึงเป็นการพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชน และเป็นการส่งเสริมให้เกิดความคงอยู่ของทรัพยากรทางทะเล ที่สร้างความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์วิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน และภูมิปัญญาการต่อเรือกอและที่ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมของพื้นที่อีกด้วย

Title

Reducing the chance of losing community income by creating a new value chain for Fourfinger threadfin to develop the grassroots economy at Nong Chik district in Pattani province

Keywords

Value chain,Fourfinger threadfin,Grassroots economy

Abstract

Reducing the chance of loss of income of fish-related businesses about Pla Kulao (threadfins) in Nong Chik District in Pattani Province by developing the potential/capability of local fishermen groups and salted threadfins processing enterprises to be able to manage resources efficiently. The purpose was to increase the circulation of the economy in the area with the system of research management mechanisms of Yala Rajabhat University in working with network partners. The upstream action was to increase the potential of three artisanal fishery groups, totaling 190 people. This created a model for managing fisheries groups for resource conservation fisheries, creation of welfare for members, establishment of a community-based coastal fisheries learning center and establishing the rules of the community “Hukum Pakat”. It was to increase fish quality stratification skills and the ability to be a gatherer, which made local fishermen earn 2,126,280 Baht (an increase of 28.63%). Midstream was to increase the capabilities of two processing enterprise groups by developing the “Production pland System” which allowed the enterprises to increase their production capacity by 53.66 -61.70 percent. Setting up characteristics of identity and controlling standards of Nong Chik salted threadfins consisted of appearance, body weight, chemical and microbial characteristics. Development of a wastewater management system in salted threadfins production process to reduce wastewater discharge into the environment, including the creation of the BATAWA standard symbol for salted threadfins, which could increase the value of salted threadfins from the original 700-1,100 Baht per kilogram to 1,000-1,100 Baht per kilogram. The use of technology in reducing limitations of production by developing drying cabinet with combined solar energy and electricity could increase production capacity by 274 kg/month or 33.33 percent compared to conventional drying method. Downstream was to increase the capacity of three groups of distributors or aquatic animal processing enterprises by designing product brands and packaging, namely Baan Anita, Sri Baru and Pla Mong. Development of online channels via Facebook page and Line in product launch and sold through marketing intermediaries could increase the selling price of the product to 1,200-1,400 Baht per kilogram. In addition, the development of new entrepreneurs in the area to be producers and distributors of cut salted threadfins could increase the price to 1,800 Baht per kilogram. In this regard, the research to create a new value chain (New Value Chain) of threadfins during October 2021-September 2022, the local fishermen were able to catch 8,370 kilograms of threadfins (sold at a price of 240-250 Baht per kilogram, a total value of at least 2,000,000 Baht), and 5,198 kilograms (62.1%) were processed in the area, generating an income of at least 6,000,000 Baht. The new value chain was between 1.25 -4.50 times, creating a career for 286 people in the community. Therefore, the development of the foundation economy of Nong Chik District in Pattani Province by using local resources, Pla Kulao (threadfins), was a career development to solve the poverty problem of the people. It also promoted the persistence of marine resources that created food security in the area. It also preserved the way of life of local fishermen and the wisdom of boat building that had been passed on from generation to generation, which was also the cultural capital of the area.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น