การพัฒนาพื้นที่ย่านด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน บนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 140 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630083
นักวิจัย นายวัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยศิลปากร
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 16 กรกฎาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 15 กรกฎาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กรุงเทพมหานคร, กาฬสินธุ์, เชียงใหม่, นครศรีธรรมราช, ปัตตานี, พะเยา, แพร่, ภูเก็ต, ยะลา, ร้อยเอ็ด, สงขลา, สมุทรสงคราม, หนองคาย, อ่างทอง

ชื่อโครงการ

การพัฒนาพื้นที่ย่านด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน บนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์

คำสำคัญ

เศรษฐกิจสร้างสรรค์,ชุมชนสร้างสรรค์,พื้นที่วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์,ผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์,เศรษฐกิจวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

โครงการ “การพัฒนาพื้นที่ย่านด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน บนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ (Development of District by Community Cultural Capital on the Basis of Creative Cultural Economy)” อาศัยแนวคิดกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนผ่านกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยคณะผู้วิจัยได้คัดเลือกพื้นที่ย่านจำนวน 15 พื้นที่/จังหวัด โดยการพิจารณาพื้นที่ย่านที่มีจุดเด่นด้านทุนวัฒนธรรมชุม และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ย่าน การคัดเลือกพื้นที่ดำเนินงานครอบคลุมทั้ง 4 ภาคของประเทศไทย ประกอบด้วย พื้นที่ภาคเหนือ 3 พื้นที่/จังหวัด ได้แก่ (1) ย่านวัฒนธรรมชุมชนริมน้ำแม่ต๋ำ ตำบลแม่ต๋ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา (2) ย่านวัฒนธรรมชุมชนบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ (3) ย่านวัฒนธรรมชุมขนทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พื้นที่ภาคกลาง 4 พื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ (1) ย่านวัฒนธรรมชุมชนการค้าริมน้ำโบราณ ตลาดศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง (2) ย่านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ซอยศิลปากร และย่านถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานครฯ (3) ย่านวัฒนธรรมชุมชนวัดม่วง เขตบางแค กรุงเทพมหานครฯ (4) ย่านวัฒนธรรมชุมชนวัดธรรมนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม (ปัจจุบันย้ายพื้นที่จัดกิจกรรมเป็นตลาดน้ำ 3 อำเภอ) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 พื้นที่/จังหวัด ได้แก่ (1) ย่านวัฒนธรรมชุมชนเมืองเก่ากาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ (2) ย่านวัฒนธรรมชุมชนเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด (3) ย่านวัฒนธรรมชุมชนตลาดท่าเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย พื้นที่ภาคใต้ 5 พื้นที่/จังหวัด ได้แก่ (1) ย่านวัฒนธรรมกำแพงเมืองเก่าสู่การพัฒนาพื้นที่วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (2) ย่านวัฒนธรรมชุมทางทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช (3) ย่านวัฒนธรรมชุมชนหาดราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต (4) ย่านวัฒนธรรมชุมชนช่างทองเมืองเก่า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี (5) ย่านวัฒนธรรมชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. รายงานผลการประเมินรายได้ผู้ประกอบการในพื้นที่ย่านวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ การกระจายรายได้ และค่า ROI 2. สรุปผลการดำเนินงานของโครงการวิจัยย่อยภายใต้ชุดโครงการ ประกอบด้วย – กิจกรรมการเปิดพื้นที่ย่านวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ 15 พื้นที่ย่าน – พื้นที่ย่านวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 15 พื้นที่ย่าน – ข้อมูลที่แสดงว่าผู้ประกอบการในพื้นที่ย่านวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์มีรายได้เพิ่มสูงขึ้น การกระจายรายได้ในระดับดีและความเชื่อมโยงของสาขาการผลิตเพิ่มสูงขึ้น – ข้อมูลการเกิดผู้ประกอบการวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative Cultural Entrepreneur) และวิสาหกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative Cultural Enterprise) – ผลิตภัณฑ์และการบริการวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ 3. รายงานผลการจัดประชุมถอดบทเรียน 15 พื้นที่ย่าน 4. รายงานผลการประชุมหาข้อสรุปแนวทางการดำเนินงานระยะต่อไป 1. ภาพรวมโดยสรุปในการพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ย่าน 1) ย่านวัฒนธรรมชุมชนริมน้ำแม่ต๋ำ ตำบลแม่ต๋ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา จุดเด่นของพื้นที่ชุมชนแม่น้ำต๋ำด้วยเป็นพื้นที่ดั้งเดิมมีประวัติศาสตร์ชุมชนมาช้านาน ปัจจุบันชุมชนฝั่งตะวันตกของกว๊านพะเยาที่จะเดินทางเข้ามาทำงานในเมืองพะเยา ต้องผ่านชุมชนแม่ต๋ำและขากลับก็จะแวะซื้ออาหารกลับบ้าน ชุมชนแม่ต๋ำเป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงด้านอาหารท้องถิ่น มีตลาดสดที่มีขนาดใหญ่ของเมืองพะเยา มีวัฒนธรรมทางอาหารและการแต่งกาย ตลอดจนวัฒนธรรมการผลิตงานหัตถกรรมที่โดดเด่น โดยใช้วัตถุดิบท้องถิ่น คณะผู้วิจัยเห็นว่าพื้นที่ชุมชนแม่ต๋ำมีความเป็นไปได้ ที่จะพัฒนาการสร้างเศรษฐกิจชุมชนบนฐาน “เศรษฐกิจวัฒนธรรมชุมชนเชิงสร้างสรรค์” เนื่องจากเทศบาลเมืองพะเยาได้เริ่มการพัฒนาพื้นที่ย่านวัฒนธรรมที่มีประวัติศาสตร์ดั้งเดิมให้เป็นเมืองใหม่ เพื่อรองรับการท่องเที่ยวของเมือง ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ คนรุ่นใหม่ต่างให้ความสนใจร่วมมือในการพัฒนาย่านนี้อย่างเข้มแข็ง มีการเปิดร้านอาหาร ร้านขนมและร้านกาแฟ ที่มีรูปแบบตอบความต้องการหรือไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ แต่ยังใช้วัตถุดิบในพื้นที่และประยุกต์จากอาหารดั้งเดิม เทศบาลเมืองพะเยาได้ตั้งงบประมาณรองรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมหาวิทยาลัยพะเยาให้ความสนใจในการพัฒนาพื้นที่รอบกว๊านพะเยามาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน พร้อมที่จะสนับสนุนทั้งกำลังคนและงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับโครงการ 2) ย่านวัฒนธรรมชุมชนบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จุดเด่นของพื้นที่ชุมชนบ่อสร้างเป็นชุมชนดั้งเดิมที่มีการทำร่มเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนที่มีการจ้างแรงงานในชุมชนอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาช้านาน ในอดีตเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอันดับต้นๆ ของเมืองเชียงใหม่ ถึงกับมีคำกล่าวว่า “ไปเชียงใหม่ต้องไปดูการทำร่มที่บ่อสร้าง” ปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่เงียบสงบ ผู้คนไปเยือนน้อยมาก แต่เป็นพื้นที่ที่มีต้นทุนทางวัฒนธรรมทั้งเชิงประเพณี ทั้งการละเล่น ทั้งแต่งกายด้วยเสื้อย้อมฮ่อม และวัฒนธรรมการผลิตงานด้านหัตถกรรมท้องถิ่นยังคงเข้มแข็งอยู่ ระบบการจ้างงานในการทำร่มของชุมชนบ่อสร้างเป็นการสร้างงานที่มีห่วงโซ่ทั้งจากวัตถุท้องถิ่นและแรงงานท้องถิ่นที่อยู่รอบ ๆ ชุมชน เช่น ชุมชนดอยสะเก็ด อำเภอดอยสะเก็ด ที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและไม้ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทำโครงร่มให้แก่ชุมชนบ่อสร้าง ผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศได้ยืนยันในการประชุมร่วมกับนักวิจัยและชุมชนเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2563 ว่าผลิตร่มของบ่อสร้างยังคงเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ แต่อาจไม่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยวไทย จึงควรปรับรูปแบบบางอย่างในพื้นที่ให้น่าดึงดูดมากขึ้น เช่น จุดเช็คอินและกิจกรรมที่สร้างความบันเทิงและความประทับใจแก่ผู้มาเยือน คณะผู้วิจัยเห็นว่าพื้นที่ชุมชนบ่อสร้างมีความเป็นไปได้ ที่จะพัฒนาการสร้างเศรษฐกิจชุนบนฐาน “เศรษฐกิจวัฒนธรรมชุมชนเชิงสร้างสรรค์” เนื่องจากควรสนับสนุนให้เป็นพื้นที่เพื่อการผลิตงานช่างท้องถิ่นและประเพณีท้องถิ่น ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการผลิตงานช่างหัตถกรรมท้องถิ่น เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อีกทั้งเป็นการปลุกพื้นที่เศรษฐกิจทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์อย่างชัดเจน เพื่อนำทุนวัฒนธรรมเชิงคุณค่าของชุมชนสู่การสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืนต่อไป 3) ย่านวัฒนธรรมชุมชนทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จุดเด่นของชุมชนทุ่งโฮ้งเป็นชุมชนดั้งเดิม ที่มีประวัติการค้าเสรี การค้าเสื้อผ้าม่อฮ่อมของชุมชนไทพวน ที่มีทั้งประเพณีวัฒนธรรมอาหาร การแต่งกาย การละเล่นตลอดจนการผลิตงานหัตถกรรม แต่เดิมพื้นที่ของชุมชนทุ่งโฮ้งเป็นพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของตำบลทุ่งโฮ้ง รายได้ของชุมชนมาจากการจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง ทั้งเสื้อผ้าและอาหาร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่เงียบขาดการบำรุงทางวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วมจากทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม การสนับสนุนให้เกิดการฟื้นทุนทางเศรษฐกิจของชุมชนที่มีทุนเดิมทางวัฒนธรรมทั้งประเพณี และผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่รักถิ่นฐานของตน เป็นลูกหลานของชาวไทพวน มุ่งมั่นที่จะปลุกพื้นที่ด้วยผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากทุนเดิมที่มีอยู่ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “บนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” ณ พื้นที่ประวัติศาสตร์ย่านเมืองของคนชุมชนทุ่งโฮ้งอีกครั้ง 4) ย่านวัฒนธรรมชุมชนการค้าริมน้ำโบราณ ตลาดศาลเจ้าโรงทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง จุดเด่นของชุมชนการค้าริมน้ำโบราณตลาดศาลเจ้าโรงทอง เป็นชุมชนยุคโบราณทางประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งค้าขาย เป็นพื้นที่ทางยุทธศาสตร์กรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปรบกับพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณบุรี ได้เสด็จประทับแรมที่แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองที่เป็นทั้งสนามรบและเมืองแห่งเสบียงอาหาร เป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญ ศาลเจ้าโรงทองมีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่เกิดการสะสมของประเพณีวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากฐานวัฒนธรรมมากมาย โดยเฉพาะวัฒนธรรมอาหารและเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นำรายได้ให้กับชุมชนอย่างสูงและต่อเนื่อง ปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่เงียบเหงาขาดการพัฒนาพื้นที่ การสร้างคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นทายาททางการค้า และการพัฒนาให้เป็นพื้นที่ที่มีรายได้มากยิ่งขึ้นด้วยคนรุ่นใหม่จึงเกิดขึ้น คณะผู้วิจัยเห็นว่าควรสนับสนุนประเพณีวัฒนธรรมที่มีรากเหง้าจากการเป็นแหล่งผลิตอาหารและงานหัตถกรรมให้กลับมาเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้วย “เศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” ของคนรุ่นใหม่ “เมืองวิเศษชัยชาญ” 5) ย่านวัฒนธรรมชุมชนวัดม่วง เขตบางแค กรุงเทพมหานครฯ จุดเด่นของชุมชนวัดม่วง สร้างขึ้นเมื่อ ปี 2366 ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 1 ที่ชื่อว่า วัดม่วง มาจากเป็นเส้นทางลำเลียงพืชผลทางการเกษตรสู่พระนคร เมื่อมาถึงบริเวณหลักสอง คลองจะตื้นเขิน ไม่สามารถสัญจรต่อไปได้ พ่อค้าแม่ขายจำต้องนำผลไม้ขึ้นมาตากบริเวณลานวัดซึ่งส่วนใหญ่เป็นมะม่วง วัฒนธรรมการกิน การละเล่น และการแต่งกายอีก ทั้งพื้นที่ของวัดม่วงยังสามารถปรับเป็นตลาดเช้า ทำให้เหมือนเป็นการท่องเที่ยว ล่องเรือดูสินค้าตามฤดูกาล เช่น ผัก ผลไม้ คณะผู้วิจัยจึงได้เลือกสนับสนุนเพื่อเติมเต็มให้พื้นที่ดังกล่าวนำทุนทางวัฒนธรรมเชิงคุณค่ามาสร้างมูลค่าเพิ่มด้วย “เศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” ให้ก่อเกิดรายได้ของย่านวัฒนธรรมชุมชนวัดม่วง เขตบางแค กรุงเทพมหานครฯ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวและสร้างคุณค่า เพื่อไปสร้างมูลค่าในอนาคต 6) ย่านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ซอยศิลปากร และย่านถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จุดเด่นของเขตพระนครเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร (สถาบันศิลปะวัฒนธรรมชั้นนำของชาติ) มีวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา (เป็นสถาบันการศึกษาของพุทธศาสนาชั้นสูงของไทย) เป็นพื้นที่ชั้นในของเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งถือเป็น “เรือนยอดของหัวแหวน” เป็นแหล่งรวมศิลปะวิทยาการแขนงต่างๆ ทั้งทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีพระบรมมหาราชวังเป็นศูนย์กลาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมชั้นนำของไทย มีมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งถือเป็นมหาวิทยาลัยทางด้านศิลปะวัฒนธรรมชั้นนำของไทยที่รวบรวมองค์ความรู้ ภูมิปัญญาไทยเข้ากับองค์ความรู้ตะวันตก สร้างสถาบันศิลปะร่วมสมัยได้อย่างเป็นเลิศ มีวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร วัดที่สร้างสมัยอยุธยา และเป็นแหล่งเรียนรู้พระพุทธศาสนาชั้นสูงของไทย (เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย เป็นแหล่งเรียนปริยัติธรรมชั้นสูงของไทย) คณะผู้วิจัยเห็นควรสนับสนุนให้เป็นพื้นที่ “เศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” ด้วยเป็นพื้นที่ทุนทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน เพื่อใช้ศักยภาพของพื้นที่ สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยงานศิลปะวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของชาวศิลปากร และย่านถนนพระอาทิตย์ยังเป็นศูนย์กลางของโบราณสถานและมีทุนทางวัฒนธรรมอยู่มาก เป็นพื้นที่ที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวในการมีหาอาหารโบราณ และอร่อยรับประทาน และมีการคมนาคมสะดวก ซึ่งเหมาะกับการพัฒนาเป็นแหล่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ต่อไป 7) ย่านวัฒนธรรมชุมชนวัดธรรมนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม (ปัจจุบันเปลี่ยนพื้นที่การจัดกิจกรรมเป็นตลาดน้ำสามอำเภอ) จุดเด่นของชุมชนวัดธรรมนิมิตเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ เป็นเมืองหน้าด่านสมัยอยุธยา ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นชุมชนและเมืองที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ทั้งไทยวน ไทพวน ลาวโซ่ง ลาวครั่ง และกัมพูชาเป็นเมืองการค้าขายทางน้ำที่มีทั้งน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำทะเล ชุมชนวัดธรรมนิมิตอยู่ริมแม่น้ำ มีวัฒนธรรมด้านอาหาร การแต่งกายและการละเล่น ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการค้าทางน้ำ เกิดความหลากหลายทางการค้า ทำให้การค้าขายเชิงวัฒนธรรมที่มีทุนเดิมเริ่มลดน้อยลง วัตถุดิบขาดการบำรุงรักษาไว้เพื่อเป็นทุนในการพัฒนาให้เป็นแหล่งอาหารทางน้ำต่อไป ผู้ประกอบการรุ่นใหม่มีความกระตือรือร้นที่จะฟื้นทุนทางวัฒนธรรมที่เคยมี ให้เกิดการสืบทอดการผลิตสินค้าเชิงวัฒนธรรมของเมืองสมุทรสงคราม ด้วยแนวคิดการพัฒนาย่านประวัติศาสตร์เชิงวัฒนธรรมบนฐานคิด “เศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” เพื่อสนับสนุนให้เป็นพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนวัดธรรมนิมิตต่อไป 8) ย่านวัฒนธรรมชุมชนเมืองเก่ากาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จุดเด่นของชุมชนย่านเมืองเก่ากาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่วัฒนธรรมดั่งเดิมที่หยั่งลึกมาแต่อดีต ทั้งวัฒนธรรมประเพณี ศิลปะ การผลิตเครื่องแต่งกาย การละเล่นต่าง ๆ ดนตรี และวัฒนธรรมอาหาร ซึ่งรักษารากวัฒนธรรมให้หยั่งลึกได้ มีการจัดกิจกรรมทางศิลปะวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยการปรับปรุงศาลากลางจังหวัดเดิมให้เป็น “พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ หอศิลป์” เพื่อพัฒนาย่านดังกล่าวให้เป็นพื้นเชิงสร้างสรรค์ของเมือง พื้นที่ ในเมืองเป็นพื้นที่ย่านเมืองเก่ามีอาหาร ที่อยู่อาศัยแบบดั่งเดิมของเมืองเป็นจำนวนมาก มีการรักษาสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี จากบริบทและระบบนิเวศของเมืองการส่งเสริมให้เป็นพื้นที่ “เศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” มีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากมีความร่วมมือที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ วิทยาลัยนาฏศิลปะกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์และภาคประชาสังคม เพื่อการพัฒนาให้เป็นพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองต่อไป 9) ย่านวัฒนธรรมชุมชนเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด จุดเด่นของชุมชนเมืองร้อยเอ็ด เป็นเมืองก่อนประวัติศาสตร์กว่า 2,500 ปี มีพื้นที่ทางโบราณคดีตั้งแต่ยุคทวารวดี ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของพื้นที่ทำให้ก่อเกิดวัฒนธรรมประเพณีมากมาย เป็นพหุวัฒนธรรมทั้งชาติพันธุ์และวิถีชุมชนที่หลากหลาย ประกอบกับความเด่นของพื้นที่ทำให้ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่นเล็งเห็นอัตลักษณ์ของชุมชนเมืองบนพื้นที่ย่านวัฒนธรรม จึงได้วางแผนพัฒนาเมืองชั้นในให้เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมด้วยการใช้ “โหวด” ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีสัญลักษณ์ของร้อยเอ็ด มาเป็นต้นแบบสถาปัตยกรรมสร้างหอสูงเพื่อเป็นแลนด์มาร์คของเมือง และเป็นศูนย์กลางความเจริญอย่างสากลที่มีรากวัฒนธรรมรองรับ การเลือกพื้นที่บริเวณ “หอโหวด” เป็นพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้คนรุ่นใหม่และผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้มีพื้นที่พัฒนาเมืองด้วย “เศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” ให้คนรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนเมืองร้อยเอ็ด 10) ย่านวัฒนธรรมชุมชนตลาดท่าเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จุดเด่นของพื้นที่ชุมชนตลาดท่าเสด็จ เป็นพื้นที่อยู่ริมฝั่งโขงมีประวัติศาสตร์พื้นที่ มีลักษณะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทำให้เกิดวัฒนธรรมไทย-ลาวอย่างยาวนาน ทั้งวัฒนธรรมการละเล่น อาหาร การแต่งกายและการผลิตงานหัตถกรรมเพื่อการใช้สอย เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมล้านนากับล้านช้าง ซึ่งสะท้อนให้ได้เห็นจากงานผ้าทอ “จกตีนคำ” ที่มีเฉพาะพื้นที่เมืองหนองคาย มีประเพณีวัฒนธรรมที่แสดงความเชื่อของสองฝั่งโขง เช่น งานประเพณีบุญบั้งไฟพญานาคที่จัดขึ้นช่วงออกพรรษา เป็นพื้นที่วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” เนื่องจากตลาดท่าเสด็จมีความยาว 1 กิโลเมตรตลอดริมฝั่งโขง เป็นแหล่งชุมชนของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เอื้อต่อการพัฒนา และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ ๆ ที่ยังเห็นคุณค่าวัฒนธรรมดั้งเดิมมาพัฒนาต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่มในวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ ด้วยผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมเมืองหนองคาย 11) ย่านวัฒนธรรมกำแพงเมืองเก่าสู่การพัฒนาพื้นที่วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จุดเด่นย่านวัฒนธรรมกำแพงเมืองเก่าสงขลา เป็นพื้นที่ที่มีประวัติความเป็นมายืนยาวกว่า 200 ปี ในอดีตบริเวณนี้เคยเป็นท่าเทียบเรือเพื่อการค้าขายและขนส่งสินค้าจากต่างประเทศ ย่านเมืองเก่ามีถนนที่สำคัญด้วยกัน 3 สาย คือ ถนนนครนอก ถนนนครในและถนนนางงาม มีเอกลักษณ์ทางด้านสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย ซึ่งเกิดจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถาปัตยกรรมจีน สถาปัตยกรรมชิโนยูโรเปียน สถาปัตยกรรมผสมและสถาปัตยกรรมร่วมสมัย สถาปัตยกรรมเหล่านี้มีความงดงามที่แตกต่างกันออกไป ทำให้ย่านเมืองเก่าสงขลาแห่งนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ได้เป็นอย่างดี โดยมีการเล่าเรื่องราวผ่านฝาผนังของอาคารและบ้านเรือน เพื่อสะท้อนให้เห็นวิถีชุมชนของคนในท้องถิ่น คณะผู้วิจัยได้พิจารณาบริบทและระบบนิเวศพื้นที่แล้ว จึงได้เลือกสนับสนุนพื้นที่ที่สะท้อนความหลากหลายของชุมชน มีความเป็นพหุวัฒนธรรมทางสังคมสูง มีสถาปัตยกรรมห้องแถวไม้สไตล์จีน ตึกเก่าแบบฮกเกี้ยนรวมทั้งศาลเจ้า มีตึกสไตล์ชิโน – ปอร์ตุเกส เราจะเห็นอิทธิพลของศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกผสมจีน จึงเหมาะที่จะร่วมพัฒนาแนวคิดให้เป็นพื้นที่ “เศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” โดยการใช้ศักยภาพของพื้นที่สู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยงานผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ต่อไป 12) ย่านวัฒนธรรมชุมทางทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช จุดเด่นชุมทางทุ่งสง พื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่อาณาจักรศรีวิชัย เป็นยุคใกล้เคียงกับอาณาจักรทวารวดี อาณาจักรศรีวิชัยสิ้นสุดลงประมาณ พ.ศ.1400 แต่ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ยังคงสืบทอดมาจวบจนทุกวันนี้ ทุ่งสงเป็นเมืองค้าขายมาแต่อดีต จะเห็นได้จากการคมนาคมทางรถไฟที่ใช้ชื่อสถานีว่า “ชุมทางทุ่งสง” แสดงว่าเป็นเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นและมีการค้าขายที่คึกคัก สิ่งบ่งชี้ทางกายภาพ เช่น อาคาร “สยามกัมมาจล” ที่มีอยู่ 2 อาคารมาแต่เดิม สะท้อนให้เห็นว่าทุ่งสงเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจดีมาแต่อดีต คณะนักวิจัยได้เลือกพื้นที่ชุมทางทุ่งสง บริเวณถนนรถไฟจรดถนนชนปรีดา จากสถานีชุมทางทุ่งสงถึงอาคารเก่าสยามกัมมาจล ซึ่งมี “ชุมทางประวัติศาสตร์เมืองทุ่งสง” มาสนับสนุนให้เป็นพื้นที่ “เศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์ของเมืองอย่างยาวนานมีบริบทและระบบนิเวศที่เหมาะสม ควรที่จะพัฒนาให้เป็นพื้นที่ที่มีรายได้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดเป็นพื้นที่ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของศิลปะ และวัฒนธรรมชุมชนเมืองแห่งการพัฒนา 13) ย่านวัฒนธรรมชุมชนหาดราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต จุดเด่นย่านวัฒนธรรมชุมชนหาดราไวย์ มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันเป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมสามชนกลุ่มได้แก่ มอแกน (มอเก็น) มอแกลน และอุรักลาโว้ย ซึ่งต่างยังดำรงวิถีชีวิตและรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมมาอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 200 ปี หรือประมาณ 7 รุ่น โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีว่าเป็นผู้บุกเบิกตั้งถิ่นที่อยู่อาศัย มีการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ที่มีการตรวจสอบอายุการฝังว่าเป็นระยะเวลานานนับร้อยปี ชาวเลแถบอันดามันที่หากินอยู่กับทะเล ผสานกับวัฒนธรรมชาวจีน ที่เข้ามาในภูเก็ตเมื่อครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2347 – 2411) ทำให้เกิดเป็นเมืองท่องเที่ยวขนาดใหญ่ของประเทศที่มีชาวต่างชาติ ต่างภาษาเข้ามาในภูเก็ต และตำบลราไวย์ ทำให้เกิดวัฒนธรรมร่วมสมัยโดยเฉพาะวัฒนธรรมการกินอาหารทะเล ที่ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาชมทั้งบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่งดงามโดยธรรมชาติ และแสวงหาอาหารทะเลสดรับประทาน จากจุดเด่นข้างต้นจึงเลือกสนับสนุนชุมชนหาดราไวย์ เนื่องจากพื้นที่หน้าชายหาดตลอดแนวเหมาะที่จะใช้แนวคิดการสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วย “เศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” เพื่อให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาวเลและธรรมชาติของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป 14) ย่านวัฒนธรรมชุมชนช่างทองเมืองเก่า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จุดเด่นย่านวัฒนธรรมชุมชนช่างทองเมืองเก่า เป็นชุมชนเก่าแก่ของเมืองปัตตานี มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นองค์ความรู้ที่มาจากวิถีในชุมชน ในอดีตเป็นกลุ่มช่างทองสายเปอร์เซียเมื่อครั้งเข้ามาในสยามทางตอนใต้และเป็นความรู้ที่มีคุณธรรม ด้วยความที่คนส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นชาวมุสลิมที่เคร่งครัดในศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี จึงมีความเป็นอยู่กันอย่างสงบ อันเป็นที่มาของความพอเพียง ไม่โลภ จึงไม่เกิดปัญหาอาชญากรรมรุนแรงเหมือนกับพื้นที่อื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชนในอำเภอสายบุรี คือ การผลิตทองด้วยกรรมวิธีโบราณ กือโป๊ะ (ข้าวเกรียบปลา) ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากพื้นที่อื่น เรือกอและ กริช ว่าวเบอร์อามัส ซึ่งนับวันจะสูญหายไปตามกาลเวลา นอกจากนี้สายบุรียังมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่น่าศึกษาอีกหลายแห่ง เช่น มัสยิดรายา ซึ่งเป็นมัสยิดหลังแรกของสายบุรี คฤหาสน์พิพิธภักดี มัสยิดไม้กำปงอาตัส (บ้านบน) เป็นต้น จากจุดเด่นด้านประวัติศาสตร์พื้นที่ และวัฒนธรรมการผลิต และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนช่างทองแห่งสายบุรี จึงเหมาะสมที่จะใช้เป็นพื้นที่ดำเนินการ “การสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยเศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างให้เป็นวิถีชุมชนคนรุ่นใหม่ 15) ย่านวัฒนธรรมชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จุดเด่นย่านวัฒนธรรมชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ที่มีความเป็นอัตลักษณ์ มีสังคมที่ผสมผสาน ทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม อยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน เป็นพหุวัฒนธรรมชุมชน รวมถึงมีประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองยะลาในอดีตเริ่มต้นตั้งแต่ท่าสาป สะเตง ที่มีทิวทัศน์ที่สวยงาม อากาศเย็นสบาย และที่สำคัญคนบ้านร่มมีความสมัครสมานสามัคคี รักชุมชนเป็นอันมาก กลุ่มชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีความรักบ้านเกิด อยากพัฒนาชุมชนให้มีเศรษฐกิจดีขึ้น จึงมีความคิดสร้างสรรค์ร่วมกันในการจัดกิจกรรม “เสพศิลป์ ถิ่นบินหลา” เพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวผ่านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เปิดโอกาสให้พี่น้องชาวบ้านร่มได้ขายอาหารทั้งคาวและหวาน โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากเทศบาลนครยะลา คณะผู้วิจัยจึงได้เลือกการส่งเสริมสนับสนุนให้เป็น “พื้นที่ย่านเศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” เพื่อรักษาความเป็นพหุวัฒนธรรมที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนให้ดำรงอยู่ และพัฒนาพื้นที่ให้ก่อเกิดรายได้ของชุมชนและคนรุ่นใหม่ ด้วยงานผลิตภัณฑ์สินค้าเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนต่อไป ? 2. ข้อมูลแผนที่วัฒนธรรมของพื้นที่ย่านวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ การจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมของพื้นที่ทั้ง 15 พื้นที่ โดยนักวิจัยในพื้นที่และคณะกรรมการพื้นที่ย่านเป้าหมายเพื่อค้นหาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่นั้น ๆ โดยแบ่งประเภทของข้อมูล เป็น ด้านอาหาร ด้านประเพณี ด้านการละเล่น/การแสดง/ดนตรี ด้านภาษา การแต่งกาย วิถีชีวิต/อาชีพ (เช่น ช่างทองช่างสลักไม้ ช่างทำกริช ช่างทำทองเหลือง ช่างทอผ้า ช่างเขียนลายผ้าบาติก ช่างทำกรงนก ช่างทำเครื่องดนตรี ฯลฯ) ด้านสถาปัตยกรรม/โบราณสถานและโบราณวัตถุ และวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่ (เช่น การสื่อสารออนไลน์ การดื่มกาแฟ) สำหรับเป็นฐานข้อมูลในการทำกิจกรมของพื้นที่ เช่น การทำแผนที่การท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม การประชาสัมพันธ์พื้นที่ การเลือกพื้นที่วัฒนธรรม และการพัฒนาพื้นที่ในมิติต่าง ๆ เป็นต้น ตัวอย่างแผนที่วัฒนธรรม และการนำข้อมูลแผนที่วัฒนธรรมมามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ภาพที่ 1 แผนที่วัฒนธรรมย่านวัฒนธรรมชุมชนริมน้ำแม่ต๋ำ ตำบลแม่ต๋ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 3. การพัฒนาผู้ประกอบการวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative Cultural Entrepreneur) ในงานวิจัยฉบับนี้สื่อถึงผู้ประกอบการที่มีการรวบรวมองค์ความรู้ ทักษะประสบการณ์ ศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์จากรากฐานวัฒนธรรมชุมชน เพื่อเข้าสู่กระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมา วิถีชีวิต หรืออาหารที่มาจากวัตถุดิบในท้องถิ่นให้แก่ผู้บริโภค สอดคล้องกับความต้องการในตลาด เพื่อกระตุ้นและหมุนเวียนเศรษฐกิจในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการรักษาและคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของพื้นที่ย่านวัฒนธรรมนั้นๆ ซึ่งประกอบด้วยผู้ประกอบการเดี่ยวหรือเกิดการรวมตัวกันของผู้ประกอบการเพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Cultural Enterprise) เชื่อมโยงทักษะฝีมือและระดมสมองจากแต่ละมุมมองเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างสรรค์สินค้าชุมชนจากฐานวัฒนธรรม ตั้งแต่วิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก กลาง และขยายไปจนถึงขนาดใหญ่ เกิดการสร้างรายได้ภายในชุมชน ชุมชนมีความเข้มแข็ง ในขณะเดียวกันหน่วยงานภาครัฐได้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณ ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อความยั่งยืนเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ภายใต้การดำเนินงานโครงการฯวิจัยฉบับนี้ ยังได้เปิดโอกาสและช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่และกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความต้องการเข้าร่วมการดำเนินกิจกรรมอีกด้วย จากรายละเอียดข้อมูลผู้ประกอบการวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่สามารถรวบรวมสรุปภาพรวมผู้ประกอบการวัฒนธรรมทั้งหมดได้ดังตารางที่ 1 ต่อไปนี้ ตารางที่ 1 ภาพรวมผู้ประกอบการวัฒนธรรมใน 15 พื้นที่ย่าน ลำดับ พื้นที่ ผู้ประกอบเดิม ผู้ประกอบการใหม่/อาชีพเสริม วิสาหกิจชุมชน อื่นๆ จำนวนทั้งหมด 1 ย่านวัฒนธรรมชุมชนริมน้ำแม่ต๋ำ อ.เมือง จ.พะเยา 45 40 10 13 108 2 ย่านวัฒนธรรมชุมชนบ่อสร้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ 60 30 5 5 100 3 ย่านวัฒนธรรมขุมขนทุ่งโฮ้ง อ.เมือง จ.แพร่ 56 30 5 5 96 4 ย่านวัฒนธรรมชุมชนการค้าริมน้ำโบราณ ตลาดศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง 40 15 5 10 70 5 ย่านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ซอยศิลปากร และย่านถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กทม.ฯ 40 – – – 40 6 ย่านวัฒนธรรมชุมชนวัดม่วง เขตบางแค กทม.ฯ 150 30 10 10 200 7 ย่านวัฒนธรรมชุมชนวัดธรรมนิมิต อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม (จัดกิจกรรมณ ตลาดน้ำ 3 อำเภอ) 45 15 10 5 75 8 ย่านวัฒนธรรมชุมชนเมืองเก่า อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 55 20 10 15 100 9 ย่านวัฒนธรรมชุมชนเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 120 30 15 8 173 10 ย่านวัฒนธรรมชุมชนตลาด ท่าเสด็จ อ.เมือง จ.หนองคาย 97 20 10 20 147 11 ย่านวัฒนธรรมกำแพงเมืองเก่าสู่การพัฒนาพื้นที่วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ อ.เมือง จ.สงขลา 70 20 10 40 140 12 ย่านวัฒนธรรมชุมทางทุ่งสง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 50 10 5 10 75 13 ย่านวัฒนธรรมชุมชนหาดราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 200 60 7 10 277 14 ย่านวัฒนธรรมชุมชนช่างทองเมืองเก่า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี 45 20 7 6 78 15 ย่านวัฒนธรรมชุมชนบ้านร่ม อ.เมือง จ.ยะลา 120 30 10 15 175 รวมทุกพื้นที่ 1,193 370 119 172 1,854 จากข้อมูลผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมเปิดพื้นที่ย่าน 15 พื้นที่ มีจำนวนทั้งหมด 1,854 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการเดิมที่ขายสินค้าดังกล่าวอยู่แล้ว นำมาร่วมขายในโครงการจำนวน 1,193 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.34 ของจำนวนผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรมที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด เป็นผู้ประกอบการรายใหม่หรือทำอาชีพอื่นอยู่แต่ต้องการหารายได้เสริมจึงผลิตสินค้าเชิงวัฒนธรรมที่ตนเองทำได้มาจำหน่ายอีกจำนวน 370 ราย คิดเป็นร้อยละ 19.96 ของจำนวนผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรมที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด และเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 119 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.42 ของจำนวนผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรมที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด และอื่น ๆ จำนวน 172 ราย คิดเป็น 9.28 ของจำนวนผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรมที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด สรุปข้อมูลประเภทสินค้าในพื้นที่วัฒนธรรมใน 15 พื้นที่ ผลการสำรวจการจัดกิจกรรมเปิดพื้นที่วัฒนธรรมในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้ง 15 พื้นที่ พบว่าสินค้าที่นำมาจำหน่ายสามารถแยกประเภทตามฟังก์ชันการใช้งาน ได้แก่ อาหารสำหรับรับประทาน เครื่องดื่ม เครื่องแต่งกาย ของที่ระลึก/ของใช้ ผลิตภัณฑ์งานฝีมือ สินค้าเกษตร เครื่องดนตรี และอื่น ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่มีรายละเอียดจำนวนสินค้าประเภทต่าง ๆ ดังแสดงในตารางที่ 2 ดังต่อไปนี้ ตารางที่ 2 จำนวนผลิตภัณฑ์และการบริการเชิงวัฒนธรรม (Cultural Product & Service) ในพื้นที่วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ใน 15 พื้นที่ย่าน พื้นที่ จำนวนผลิตภัณฑ์และการบริการเชิงวัฒนธรรม รวม % อาหาร % เครื่องดื่ม % เครื่องแต่งกาย % ของที่ระลึก % งานฝีมือ % สินค้าเกษตร % เครื่องดนตรี % อื่นๆ % 1.ย่านวัฒนธรรมชุมชนริมน้ำแม่ต๋ำ อ.เมือง จ.พะเยา 79.20 1.60 5.60 – 4.00 7.20 – 2.40 100.0 2. ย่านวัฒนธรรมชุมชนบ่อสร้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ 30.56 – 16.67 22.00 22.22 2.78 – 5.56 100 3. ย่านวัฒนธรรมชุมชนทุ่งโฮ้ง อ.เมือง จ.แพร่ 57.48 8.66 22.83 1.57% 3.15 5.51 – 0.79 100.0 4. ย่านวัฒนธรรมชุมชนการค้าริมน้ำโบราณ ตลาดศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง 100.0 – – – – – – – 100.0 5. ย่านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เขตพระนคร 65.5 20.69 6.90 6.90 – – – – 100 6. ย่านวัฒนธรรมเขตบางแค 64.71 17.6 5.88 5.88 – 5.88 – – 100 7. ย่านวัฒนธรรมชุมชนวัดธรรมนิมิต อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม (จัดกิจกรรมณ ตลาดน้ำ 3 อำเภอ) 54.5 36.4 9.1 – – – – – 100 8. ย่านวัฒนธรรมชุมชนเมืองเก่ากาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ 89.13 4.35 2.17 – – 2.17 2.17 – 100 9. ย่านวัฒนธรรมชุมชนเมืองร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด 57.14 2.04 20.41 4.08 16.33 – – – 100 10.ย่านวัฒนธรรมชุมชนตลาดท่าเสด็จ อ.เมือง จ.หนองคาย 28.57 – 17.86 10.71 28.57 3.57 – 10.71 100.0 11. ย่านวัฒนธรรมกำแพงเมืองเก่าสู่การพัฒนาพื้นที่วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ อ.เมือง จ.สงขลา 65.0 20.0 5.0 5.0 – 5.0 – – 100 12. ย่านวัฒนธรรมชุมทางทุ่งสง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 20.81 6.71 16.11 15.44 23.49 10.07 – 7.38 100 13. ย่านวัฒนธรรมชุมชนหาด ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต 65.8 21.9 2.4 4.8 – 2.4 – 2.4 100 14.ย่านวัฒนธรรมชุมชนช่างทองเมืองเก่า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี 93.3 – – – 6.7 – – – 100 15. ย่านวัฒนธรรมชุมชนบ้านร่ม อ.เมือง จ.ยะลา 84.2 10.5 5.3 – – – – – 100 หมายเหตุ : ในบางพื้นที่อยู่ในระหว่างจัดทำแผนการจัดกิจกรรมและคัดเลือกผู้ประกอบการ เพื่อจัดทำกิจกรรมภายหลังสถานการณ์โควิด-19 เบาบางลง 4. การจัดกิจกรรมเปิดพื้นที่ย่านวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ การกำหนดพื้นที่ทางวัฒนธรรมทั้ง 15 พื้นที่ มีเป้าหมายเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมสำหรับวิจัยและพัฒนาเรื่องของการขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรม ผ่านโครงการวิจัย “การพัฒนาพื้นที่ย่านด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน บนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับทุนวิจัยจาก “หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)” สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) แผนการดำเนินงานโดยนักวิจัยส่วนกลาง นักวิจัยในพื้นที่ และประชาคมวัฒนธรรมได้ร่วมกันสำรวจพื้นที่และจัดเวทีระดมความคิด เพื่อค้นหาพื้นที่วัฒนธรรมสำหรับพื้นที่วิจัยนั้น ๆ ซึ่งการเลือกพื้นที่วัฒนธรรมดังกล่าว สามารถอ้างอิงได้จากแผนที่วัฒนธรรมที่จัดทำขึ้นโดยนักวิจัยในพื้นที่ มีการแบ่งประเภทของข้อมูลเป็น ด้านอาหาร ด้านประเพณี ด้านการละเล่น/การแสดง/ดนตรี ด้านภาษา การแต่งกาย วิถีชีวิต/อาชีพ ด้านสถาปัตยกรรม/โบราณสถานและโบราณวัตถุ และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความนิยมหรือมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ซึ่งบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่นั้น รวมถึงวัฒนธรรมร่วมสมัยต่าง ๆ นอกจากนี้การเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมสามารถปรับเปลี่ยนได้ในระยะเวลาของการวิจัย ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นพื้นใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น สามารถปรับเปลี่ยนหรือยืดหยุ่นได้ ตามบริบทหรือความสะดวกและความเหมาะสมของพื้นที่นั้น ๆ ผ่านการประชุมระดมสมองกันระหว่างนักวิจัยส่วนกลาง นักวิจัยในพื้นที่และประชาคมทางวัฒนธรรมในพื้นที่ การจัดกิจกรรมในแต่ละพื้นที่ทั้งหมด 15 พื้นที่ เป็นกลยุทธ์ทำให้เกิดการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ โดยโดยมีกลไกหลักในการขับเคลื่อน คือ “กลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ย่าน” และ “หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ภาครัฐในพื้นที่” ตั้งแต่การวางแผนการจัดกิจกรรมในพื้นที่วัฒนธรรม ซึ่งแต่ละพื้นที่ต้องดำเนินการอย่างน้อย 10 ครั้ง เพื่อจะได้เรียนรู้ปัญหาและประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น นำมาทบทวนและหาทางแก้ปัญหาในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป เป็นการส่งเสริมศักยภาพของพื้นที่ในการดำเนินงานร่วมกัน การทำงานร่วมกันของกลไกทั้งหมดจะช่วยสร้างเสริมปฏิสัมพันธ์ (Interaction) และศักยภาพ (Capacity building) ให้แก่ ผู้ปฏิบัติ ผ่านกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมในดำเนินการต่าง ๆ เช่น การสร้างแผนที่ทางวัฒนธรรม การกำหนดพื้นที่ทางวัฒนธรรม การจัดกิจกรรมในพื้นที่ การประเมินผลการจัดกิจกรรม การถอดบทเรียน และการกำหนดแนวทางการดำเนินการครั้งต่อไป แม้ว่าการดำเนินโครงการนี้จะประสบปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องงดการจัดกิจกรรมในพื้นที่ตั้งแต่มีนาคมเป็นต้นมา แต่ทุกพื้นที่ก็ได้มีการเตรียมดำเนินการจัดกิจกรรมเปิดพื้นที่วัฒนธรรมเพื่อให้ได้ครบตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ขั้นต่ำพื้นที่ละ 10 ครั้ง โดยในบางพื้นที่มีการปรับเปลี่ยนการทำกิจกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 หรือการเปลี่ยนรูปแบบเป็นตลาดออนไลน์เสริม ซึ่งพื้นที่ที่ดำเนินการได้มากที่สุด คือ ย่านวัฒนธรรมชุมชนตลาดท่าเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ที่สามารถดำเนินการได้ถึง 84 ครั้ง รายละเอียดภาพรวมดังสรุปในตารางที่ 3 ต่อไปนี้ ? ตารางที่ 3 ผลสรุปการจัดกิจกรรมเปิดพื้นที่ย่านวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ 15 พื้นที่ ลำดับ พื้นที่ กิจกรรม (ครั้ง) หมายเหตุ 1 ย่านวัฒนธรรมชุมชนริมน้ำแม่ต๋ำ อ.เมือง จ.พะเยา 6 จัดกิจกรรมในกาดหล่ายต้าอย่างต่อเนื่องและได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ลงสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรม มีการอบรม การส่งเสริมการขายแบบออนไลน์ต่อเนื่อง 2 ย่านวัฒนธรรมชุมชนบ่อสร้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ 30 จัดกิจกรรมแล้ว 30 ครั้ง และจัดกิจกรรมเพิ่มเติมในรูปแบบออนไลน์ รวม 30 ครั้ง 3 ย่านวัฒนธรรมขุมขนทุ่งโฮ้ง อ.เมือง จ.แพร่ 36 จัดกิจกรรมครบแล้ว 10 ครั้ง และจัดกิจกรรมเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน รวมเป็น 36 ครั้ง 4 ย่านวัฒนธรรมชุมชนการค้าริมน้ำโบราณ ตลาดศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง 6 จัดกิจกรรมแล้ว 5 ครั้งและจัดกิจกรรมเพิ่มเติมในรูปแบบออนไลน์ 5 ย่านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ซอยศิลปากร เขตพระนคร กรุงเทพมหานครฯ ออนไลน์ จัดกิจกรรมในรูปแบบตลาดวัฒนธรรมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์และเพจ 6 ย่านวัฒนธรรมชุมชนวัดม่วง เขตบางแค กรุงเทพมหานครฯ ออนไลน์ จัดกิจกรรมในรูปแบบตลาดทุนวัฒนธรรมออนไลน์ 7 ย่านวัฒนธรรมชุมชนวัดธรรมนิมิต อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 10 จัดกิจกรรมแล้ว 10 ครั้งและจัดกิจกรรมเพิ่มเติมในรูปแบบออนไลน์ เปลี่ยนสถานที่จัดกิจกรรมเป็นตลาดริมน้ำสามอำเภอ ปัจจุบันจัดต่อเนื่อง 10 ครั้งและตลาดออนไลน์ 8 ย่านวัฒนธรรมชุมชนเมืองเก่า อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 15 จัดกิจกรรมครบแล้ว 10 ครั้ง ปัจจุบันจัดกิจกรรมต่อเนื่องทั้งหมด 15 ครั้ง 9 ย่านวัฒนธรรมชุมชนเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 16 จัดกิจกรรมครบแล้ว 10 ครั้ง และปัจจุบันจัดกิจกรรมต่อเนื่องทั้งหมด 16 ครั้ง 10 ย่านวัฒนธรรมชุมชนตลาดท่าเสด็จ อ.เมือง จ.หนองคาย 53 จัดกิจกรรมครบแล้ว 10 ครั้ง และปัจจุบันจัดกิจกรรมต่อเนื่องทั้งหมด 53 ครั้ง 11 ย่านวัฒนธรรมกำแพงเมืองเก่าสู่การพัฒนาพื้นที่วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ อ.เมือง จ.สงขลา ออนไลน์ เปิดตลาดต่อเนื่องทุกวันและเพิ่มตลาดออนไลน์ 12 ย่านวัฒนธรรมชุมทางทุ่งสง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 205 จัดกิจกรรมทั้งหมด 8 ครั้ง หมายเหตุ : จัดเปิดตลาดต่อเนื่องทุกวันถึงปัจจุบัน 13 ย่านวัฒนธรรมชุมชนหาดราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต 6 จัดกิจกรรมแล้ว 5 ครั้งและจัดกิจกรรมเพิ่มเติมในรูปแบบตลาดทุนวัฒนธรรมออนไลน์ 14 ย่านวัฒนธรรมชุมชนช่างทองเมืองเก่า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี 5 จัดกิจกรรมแล้ว 4 ครั้งและจัดกิจกรรมเพิ่มเติมในรูปแบบตลาดทุนวัฒนธรรมออนไลน์ 15 ย่านวัฒนธรรมชุมชน อ.เมือง จ.ยะลา ออนไลน์ จัดกิจกรรมในรูปแบบตลาดทุนวัฒนธรรมออนไลน์ รวมการจัดกิจกรรมทั้งหมด 392 5. ผลลัพธ์ต่อกลไกภาคีขับเคลื่อนการพัฒนาย่าน การจัดกิจกรรมเพื่อเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมของ 15 พื้นที่ย่าน ภายใต้โครงการวิจัย “การพัฒนาพื้นที่ย่านด้วยทุนทางวัฒนธรรมชุมชน บนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์” โดยโครงการฯวิจัยนี้ เป็นส่วนประกอบหนึ่งในการหนุนเสริมความเข้มแข็ง (Empowerment) ให้แก่ภาครัฐและประชาสังคมในพื้นที่ย่าน โดยการพิจารณาพื้นที่ย่านที่มีจุดเด่นด้านทุนวัฒนธรรมชุมชน และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ย่าน ดังนั้นการจัดประชุมเพื่อวิพากษ์ผลการจัดกิจกรรมจากกลไกหลักในพื้นที่ จึงมีความสำคัญสำหรับการเรียนรู้ร่วมกัน และการดำเนินงานในลำดับต่อไป ผลการจัดประชุมทั้ง 15 พื้นที่ย่าน สามารถสรุปได้ดังนี้ พื้นที่ร้อยละ 100 ได้รับประโยชน์ในระดับมาก ทำให้ได้มีโอกาสเปิดพื้นที่ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสหารายได้ให้กับครัวเรือน โดยให้ประชาชนสามารถแสดงศักยภาพในการจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์และอาหารพื้นเมืองซึ่งเคยได้รับความนิยมในอดีต ให้สามารถฟื้นฟูเป็นที่รู้จักอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของพื้นถิ่นให้ดำรงอยู่ สามารถสร้างเอกลักษณ์ของพื้นที่ให้บุคคลภายนอกได้รู้จักมากยิ่งขึ้น สามารถเปิดพื้นที่ให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ การสนับสนุนจากภาคส่วนต่าง ๆ หน่วยงานที่เข้าร่วมดำเนินการ การสนับสนุนจากหน่วยงาน เทศบาล สนับสนุนสถานที่จัดกิจกรรม จัดกิจกรรมการแสดงต่างๆ เจ้าหน้าที่ดูแลจราจร / เจ้าหน้าที่จุดคัดกรอง / การประชาสัมพันธ์ / ประสานงานภาคีเครือข่าย /ดูแลด้านความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรม ประชาคม รวบรวมและสร้างการรับรู้ข้อมูลเชิงพื้นที่บริเวณย่าน พัฒนาชุมชน จัดกิจกรรมสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าวัฒนธรรมในพื้นที่ สำนักงานวัฒนธรรม บูรณาการจัดกิจกรรมด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกัน สำนักงานพาณิชย์ สนับสนุน ส่งเสริมกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมชุมชน และอำเภอ ในพื้นจังหวัดยะลา ในการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด มีส่วนช่วยประชาสัมพันธ์กิจกรรมในพื้นที่ 2. การดำเนินงานที่ผ่านมาประสบปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง และแก้ไขปัญหาอุปสรรคอย่างไร ปัญหาที่พบ การแก้ไข สภาพอากาศที่ไม่สามารถควบคุมได้ การเช็คสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา จุดจอดรถ บริการจุดจอดรถที่เหมาะสมและเพียงพอต่อประชาชนที่มาจับจ่ายใช้สอยและมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ดูแลตลอดระยะเวลาที่มีกิจกรรม จุดรับประทานอาหาร เนื่องจากนักท่องเที่ยวมีจำนวนมาก ทำให้จุดรับประทานอาหารไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องจัดสถานที่รับประทานอาหารให้เพียงพอไว้เพื่อบริการนักท่องเที่ยว สถานการณ์โควิดทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องของการจัดตลาด – ในเบื้องต้นได้มีมาตรการป้องกันโควิดจากสาธารณสุข และทางเจ้าหน้าที่ อสม. ประจำหมู่บ้าน ช่วยตรวจและดูแลผู้มาเดินตลาด พ่อค้าแม่ค้า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเข้มงวดก่อนเข้าตลาด – จัดประชุมถอดบทเรียนเพื่อปรับแผนการจัดกิจกรรมตลาด ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐและสถานะการณ์แพร่ระบาด 3. มีวิธีการนำต้นทุนทางวัฒนธรรมชุมชนมาสร้างผลิตภัณฑ์และบริการในพื้นที่อย่างไรสร้างสรรค์ เปิดพื้นที่การเพื่อจำหน่ายสินค้า เพื่อต่อยอดและสร้างรายได้ให้กับ

Title

Development of District by Community Cultural Capital on the Basis of Creative Cultural Economy

Keywords

creative cultural economy,creative cultural economics,creative economy,creative community,creative cultural space,creative cultural entrepreneur

Abstract

สำหรับสมาชิกเท่านั้น