การยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนจันทบุรีอย่างยั่งยืน

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 22 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630080
นักวิจัย นายวศิน ยุวนะเตมีย์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยบูรพา
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 1 กรกฎาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 30 มิถุนายน 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย จันทบุรี

ชื่อโครงการ

การยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนจันทบุรีอย่างยั่งยืน

คำสำคัญ

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลไม้,อุตสาหกรรมผลไม้,แปรรูปผลไม้,การสร้างมูลค่าเพิ่มผลไม้,ยกระดับมาตรฐานผลไม้และผลิตภัณฑ์,เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ,การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ประมง,การแปรรูป,เศรษฐกิจฐานราก,อัญมณีและเครื่องประดับ,ผ้าพื้นเมือง,วัสดุท้องถิ่น,สินค้าสร้างสรรค์,อัตลักษณ์การออกแบบเครื่องประดับเชิงวัฒนธรรม,การผสมผสานทางวัฒนธรรม,นักออกแบบเครื่องประดับรุ่นใหม่

บทคัดย่อ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2020 ได้พัฒนาความรุนแรงมาจนถึงระดับที่ส่งผลกระทบในวงกว้างไปทั่วโลก นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2020 มีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) อย่างน้อยในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2020 ซึ่งเศรษฐกิจไทยก็อยู่ในข่ายดังกล่าวเช่นกัน สถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ในขณะนี้จากผลกระทบของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจที่ทำเกิดขึ้นในหลายภาคส่วน เช่น ภาคการเกษตร ภาคการลงทุนและธุรกิจ ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเดิมประเทศไทยเป็นประเทศที่พึงพาธุรกิจการท่องเที่ยวต้องหยุดชะงักลง ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชนในประเทศ อันจะส่งผลโดยตรงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรง ซึ่งอาจจะให้ก่อให้เกิดปัญาต่าง ๆ ตามมา ทั้งจุลภาคและมหภาค เช่น ปัญหาแรงงาน ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน หนี้สินภาคธุรกิจ หนี้ภาครัฐ ปัญหาด้านการลงทุน แม้กระทั่งปัญหาด้านการล้มละลายของบรัษัทน้อยใหญ่ต่างๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนต้องตระหนัก และวางแผนรับมือให้ทันท่วงที จังหวัดจันทบุรีเปรียบเหมือนนครผลไม้ และนครอัญมณี รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารทะเลของประเทศไทย เนื่องจากมีสินค้าที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ของจังหวัดคือ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลำไย สัตว์น้ำต่างๆ และอัญมณี หรือพลอย ที่สร้างรายได้ให้ชุมชนในจังหวัด รวมถึงสามารถส่งออกและทำรายได้มหาศาลให้ประเทศ จากสถานการณ์ COVID-19 ดังกล่าว จังหวัดจันทบุรีจึงเร่งวางแผนรับมือโดยการรวมตัวของหน่ายงานและมหาวิทยาลัยในพื้นที่เพื่อรองรับสถานการณ์การฟื้นฟูจังหวัดภายหลังสถานการณ์ COVID-19 เบาบางลง โดยการส่งเสริมเศรษฐกิจสังคมท้องถิ่นหรือเศรษฐกิจฐานรากด้วยการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ถ่ายทอดสู่ชุมชน เป็นการดำเนินการที่สำคัญในการพัฒนาและยกระดับประเทศให้เป็นประเทศรายได้สูง ที่มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง เป็นการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับเศรษฐกิจไทยในอนาคต การส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งจะช่วยก่อให้เกิดการยกระดับมาตรฐานการครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เสมอภาคตามเป้าหมายการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติ โดยการพัฒนาและส่งเสริมการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร และการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น วิสาหกิจชุมชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ โครงการนี้เป็นการบูรณาการโดยใช้องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถจะนำความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปบริการวิชาการให้กับผู้ประกอบการในท้องถิ่นตนเองให้ก้าวข้ามข้อจำกัดต่างๆ จนสามารถพึ่งพาตนเองได้และสามารถตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศต่อไปในอนาคต รวมทั้งการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งด้านผลไม้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างยั่งยืน

Title

Enhancement of the quality of life and well-being of Chanthaburi communities for sustainability

Keywords

Agro-Entrepreneur,Agro-industry fruit processing,Value creation,Enhance the quality of Agricultural and food product,Aquaculture,Economically important aquatic animal species,Value-added fishery products,Fishery processing,Local economy,Gems and Jewelry,Homespun,Local materials,Creative product,Jewelry design identity,Cultural hybridization,New-generation jewelry designer

Abstract

Covid-19 epidemic situation What happened in the year 2020 has developed to a level that has a wide impact around the world. Most economists agree that the global economy in 2020 is likely to enter a recession at least in the first two quarters of 2020, where the Thai economy is also in this area. The situation that Thailand is currently experiencing due to the impact of COVID-19 on the economy is occurring in many sectors such as agriculture, investment and business. tourism sector In the past, Thailand was a country that relied on tourism business to be interrupted. affect the income of people in the country which will directly affect the lives of the people directly This may lead to various problems, both micro and macro, such as labor problems, household debt problems. Corporate debt, government debt, investment problems Even the bankruptcy problems of corporations big and small These problems are problems that all sectors must be aware of. and make a plan to deal with it in a timely manner Chanthaburi Province is like a fruit city and jewel city as well as a source of seafood in Thailand. This is because the provinces strategically important products are durian, mangosteen, rambutan, longan, various aquatic animals, and gems or gems that generate income for communities in the province. As well as being able to export and make a huge income for the country, due to the aforementioned COVID-19 situation, Chanthaburi province has expedited a plan to deal with by merging jobs and universities in the area to support the situation of provincial rehabilitation after the COVID-19 situation subsides. Promoting the local social economy or the basic economy by bringing technology, innovation and creativity to the community It is an important action in the development and upgrading of the country to be a high-income country. with an even distribution of income This is to lay a solid foundation for the Thai economy in the future. Promoting the economy at the local community level to be strong Competitive potential self-reliant This will help create a sustainable standard of living and livelihood of people in the community. and lead to poverty alleviation bias and inequality in accordance with the development goals of the national strategy by developing and promoting value creation of agricultural products to generate income for farmers and the promotion of start-up enterprises community enterprise and increase the competitiveness of entrepreneurs This project is an integration using the knowledge gained from research by academics from local universities, so it is another option that can bring knowledge. Technology and innovation to provide academic services to local entrepreneurs themselves to overcome various limitations. until able to be self-sufficient and able to respond to the development of the basic economy which will affect the overall economy of the country in the future including building competitiveness in both fruit aquaculture and the gem and jewelry industry in an efficient and sustainable manner

สำหรับสมาชิกเท่านั้น