การยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวชุมชน และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 48 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630079
นักวิจัย นายเทียมพบ ก้านเหลือง
หน่วยงาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 20: ชุมชนนวัตกรรม
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ชุมพร

ชื่อโครงการ

การยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวชุมชน และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

คำสำคัญ

คุณภาพชีวิต,เศรษฐกิจ,การท่องเที่ยวชุมชน,ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) สำรวจและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) จัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับตำบลโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
3) ขับเคลื่อนโครงการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นความต้องการของชุมชนตั้งแต่การพัฒนาโครงการ การวางแผนการปฏิบัติงาน การดำเนินการ การบริหารจัดการ และการติดตามประเมินผลโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผลการศึกษาพบว่าปัญหาที่พบโดยส่วนใหญ่ คือ ขยะชุมชนที่เกิดจากชุมชนเอง ปัญหาที่เป็นลักษณะร่วมกันของพื้นที่คือ ปัญหาของขยะจากทะเลช่วงฤดูมรสุม (พฤษภาคม – ตุลาคม) ชุมชนจัดเก็บโดยอาสาสมัครในพื้นที่ ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่วิจัย ได้แก่ สันทรายในพื้นที่ตำบลปากคลอง ป่าชายเลนในตำบลปากคลอง ตำบลบางสน ตำบลทุ่งคา ตำบลด่านสวี พรุกระจูดในพื้นที่ตำบลปากน้ำและตำบลหาดทรายรี แนวทางในพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนประกอบด้วย
1) การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคส่วนอื่นๆ ในพื้นที่
2) การส่งเสริมให้ครัวเรือนเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน
3) ใช้ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติในตลาดชุมชน
4) การนำขยะเปียกหรือขยะสดที่คัดแยกมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและยังมีส่วนช่วยในการยกระดับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการบริหารจัดการขยะ

เมื่อพิจารณาตามโมเดล SIPOC พบว่า
1) ผู้ส่งมอบ หรือผู้บริหารจากการเลือกตั้งและปลัดเทศบาลตำบลหรือปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลมีบทบาทสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วม
2) ปัจจัยนำเข้า คืองบประมาณบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีจำกัดโดยมุ่งเน้นด้านการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมและด้านโครงสร้างพื้นฐานในอันดับต้นๆ
3) กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาตำบลพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมุ่งเน้นในด้านโครงสร้างพื้นฐานมากกว่าด้านอื่นๆ
4) การประเมินผลผลิตจากการดำเนินโครงการทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะพิจารณาเฉพาะการเบิกจ่ายงบประมาณ
5) ผู้รับบริการ ควรกำหนดเป็นทีมหลักในขับเคลื่อนโครงการ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ หรือภาคเอกชน รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ภาคประชาชน และนักท่องเที่ยว

Title

Improving the quality of life by economics, community tourism and natural resources and environment management through community participatory process

Keywords

Quality of life,Economic,Community tourism,Natural resources and environment management,Participatory process

Abstract

The objectives of this research project consist are to
(1) surveying to opinions of people and stakeholders in problems and developing environment and natural resources with local government organizations.
(2) formulating a environment and natural resource development strategies plan.
(3) to drive projects on environment and natural resources that are the communitys needs in solving problems of community.
(4) operations planning, execution, project management and monitoring and evaluation through the community participation process.

The common problem of the research area is marine waste problem during the monsoon season (May – October). This problem is managed by the community volunteers to collect. The unique natural resources of the research area include sand dune in Pak Khlong subdistrict, mangrove forest in Pak Khlong subdistrict, Bang Son subdistrict, Thungkha subdistrict, Dansawi subdistrict, and sedge swamp forest in Paknam subdistrict and Hatsairi subdistrict. The guidelines for the development of community waste management consist of
1) developing the participation of the community and stakeholders
2) encouraging households to be role models in community solid waste management
3) using containers made from natural materials in the community market
4) the utilization of segregated wet or fresh waste for agricultural purposes.

Considering the SIPOC model, it was found that
(1) suppliers: chief executive of SAO and municipal clerk or chief administrator of SAO play an important role in generating participation
(2) input: the budget of natural resource management of local government is the limited, focusing on community development and social welfare and infrastructure were significant
(3) process: the process of making the sub-district development plan found that the local administrative organizations focused more on infrastructure than other strategies
(4) output: the evaluation of project implementation will consider only the budget disbursement
(5) recipients: should be designated as the main team in driving the project, namely local government organizations, educational institutions relevant government agencies, community leaders, private sector, including stakeholders such as the public sector and tourists.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น