ชื่อโครงการ
การพัฒนาชุมชนเกษตร-ประมงในพื้นที่อำเภอติดชายทะเลจังหวัดชลบุรีเป็นชุมชนนวัตกรรมและสร้างผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ การบริหารทางการเงิน และการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นคำสำคัญ
ผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม,นวัตกรรมชุมชน,ชุมชนต้นแบบ,สถาบันการเงินชุมชน,สับปะรด,แมงกะพรุน,มะพร้าว,ขยะชุมชน,การท่องเที่ยวชุมชนบทคัดย่อ
ชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีการลงทุนภาคอุตสาหกรรมสูง เนื่องจากอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นจังหวัดที่มีประชากรประกอบอาชีพการเกษตรและประมงมาแต่โบราณ โดยมีทรัพยากรธรรมชาติเด่นที่พบในพื้นที่ ได้แก่ แมงกะพรุน สับปะรดศรีราชา และมะพร้าว แต่อาชีพนี้กลับมีรายได้น้อยเมื่อเทียบกับภาคอุตสาหกรรม โครงการวิจัยจึงมีเป้าหมายในการยกระดับรายได้ของเกษตรกรและชาวประมงในพื้นที่ ด้วยการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและประมง ตามโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกชุมชนด้วยการพัฒนาระบบสถาบันการเงินชุมชน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิจัยและสมาชิกชุมชนในการพัฒนานวัตกรชุมชนและนวัตกรรมชุมชน ใน 11 ชุมชน จาก 11 ตำบล ใน 5 อำเภอ ของจังหวัดชลบุรี ซึ่งสามารถผลิตนวัตกรชุมชนได้ 26 คน นักวิจัยชุมชน 36 คน และสร้างนวัตกรรมชุมชนได้ 27 นวัตกรรม รวมถึงพัฒนาต่อยอดให้เกิดผู้ประกอบการชุมชนฐานนวัตกรรมที่มีผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายและลองตลาดแล้ว 2 คน และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้จำนวน 2 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้การท่องเที่ยวทางทะเล ที่ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี และ ศูนย์เรียนรู้เกษตรแปรรูปสมัยใหม่ ที่ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ ส่งผลให้เกิดการสร้างอาชีพให้กับชุมชน สร้างรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ โดยคิดเป็นผลตอบแทนทางสังคมประมาณ 36 ล้านบาทภายในระยะเวลา 5 ปี และผลงานวิจัยสามารถนำไปใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดชลบุรี และขยายผลในโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศได้ นอกจากนี้ผู้วิจัยพบว่ากระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างชุมชนนวัตกรรม คือกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางแล้วมหาวิทยาลัยสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีร่วมกันกับชุมชน ร่วมกับกระบวนการสร้างเครือข่ายและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความยั่งยืนในการสร้างนวัตกรชุมชน และสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการในรูปแบบของนวัตกรรมชุมชนต่อไป
Title
Reinforcement of agriculture-and-fishery based communities located in coastal area of Chonburi province towards innovation based communities and innovative entrepreneurs through biotechnology, value-added production, financial administration and local resource managementKeywords
Innovative entrepreneur,Community innovation,Model community,Community financial institution,Pineapple,Jellyfish,Coconut,Community waste,Community-based tourismAbstract
Chonburi is a key province located in Thailand’s Eastern Economic Corridor (EEC) where industrial investment has been concentrated. Meanwhile, there are lots of local farmers and fishermen who have made their living here for generation where jellyfish, Sriracha pineapple, and coconut are well-known natural resources commonly found or cultivated. However, these local agricultural careers usually make less money than industrial counterparts. Therefore, our project aims to level up income of local farmers and fishermen through developing value added agricultural and fishery product and waste according to the new BCG economy model, and to improve the quality of living of community members via establishing accounting system of community financial institution. Collaborative learning process between researchers and community members has been engaged to co-create community innovators and community innovation in 11 communities from 11 subdistricts in 5 districts of Chonburi province. We were able to create 26 community innovators, 36 community experimenters and 27 community innovations. Of all community innovators, 2, so called local innovative business entrepreneurs were able to test and sell their innovation to the market. Furthermore, 2 community learning centers have been established, including the marine tourism learning center located in Ang-sila subdistrict and the modern agriculture and processing learning center located in Na-Jomtien subdistrict. Our work would generate new careers for community and provide more income from products and services in the area, projected approximately at 36 million baht within 5 years based on SROI prediction. Moreover, our results have been used to set agricultural projects in Chonburi’s annual action plan, and to extend our work in the University to Tambon (U2T) project. Finally, we found that the most suitable learning process to create innovation community was the learning process at which the community was set as a center and the university co-create knowledge and technology together in conjunction with networking and knowledge exchange processes. Altogether, this learning platform would establish a sustainable community providing a learning space to develop community innovators and to make more income from local innovative products and services thereafter.