ชื่อโครงการ
การใช้ศิลปกรรมและการออกแบบ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิต ชุมชนสามย่านและสวนหลวงอย่างยั่งยืนคำสำคัญ
ศิลปกรรม-ออกแบบ,ชุมชนสามย่าน-สวนหลวง,เศรษฐกิจที่ยั่งยืน,คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
การใช้ศิลปกรรมและการออกแบบเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตชุมชนสามย่านและสวนหลวงอย่างยั่งยืน เป็นชุดโครงการวิจัยอยู่ในสาขาการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการในลักษณะของวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี จากการแพร่ระบาดของโควิด19 จึงขยายเวลาการดำเนินงานจาก18 เดือนเป็น 21 เดือน เพื่อเผยแพร่ผลงานและการประเมินผลโครงการ ผลการดำเนินงานดังนี้
วัตถุประสงค์ที่1.เพื่อสร้างผลงานนวัตกรรมทางศิลปะ โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเครือข่ายสภาคณบดีศิลปะและการออกแบบแห่งประเทศไทย ได้ใช้แนวคิดความเชื่อมโยงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนในอดีตสู่การพัฒนาพื้นที่ในปัจจุบัน ได้นวัตกรรมศิลปกรรมสร้างสรรค์ 15 ผลงานเป็นประติมากรรมเรืองแสงด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในเวลากลางคืน และใช้เทคโนโลยี Augmented Reality, QR Codeรวมถึงมี PM 2.5 Sensor เพื่อตรวจวัดฝุ่นบริเวณรอบชิ้นงานสร้างความตระหนักต่อสภาพมลพิษของสิ่งแวดล้อม เกิดแลนด์มาร์กด้านการท่องเที่ยวแห่งใหม่ในเขตปทุมวัน
วัตถุประสงค์ที่2.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างชุมชนต้นแบบสามย่านและสวนหลวงที่ใช้งานศิลปกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของชุมชนได้อย่างยั่งยืน ได้สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนด้วยการอบรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตจำนวน 13 โครงการย่อย ใช้รูปแบบการอบรมออนไลน์เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคโควิด19 ผลการประเมินในภาพรวมทุกโครงการอยู่ในระดับดีถึงดีมาก และมีการสำรวจการรับรู้ ความต้องการและความคิดเห็นของชุมชน การสัมภาษณ์เชิงลึกและจัดเวทีประชาคมในรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการซึ่งได้แผนปฏิบัติการชุมชนที่เกี่ยวกับนวัตกรรมศิลปกรรมและมีการจัดตั้งกลุ่มไลน์ในการสื่อสาร ผลการประเมินของผู้เข้าชมประติมากรรมผ่านเว็บไซด์สวนศิลป์จุฬาจำนวน260 คน ซึ่งระบุว่าหลังจากเข้าไปชมนวัตกรรมศิลปกรรมในพื้นที่จริงมีความตั้งใจจะไปทานอาหารหรือขนมหวานหรือดื่มกาแฟที่ตั้งอยู่ในชุมชนในระดับมากที่สุดถึงร้อยละ57 และระดับมากถึงร้อยละ26.5 มีเพียงร้อยละ 2.5เท่านั้นที่ตั้งใจน้อยถึงน้อยมาก ชี้ให้เห็นแนวโน้มเรื่องการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจหรือกระตุ้นรายได้ของชุมชนให้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ที่3.สร้างกลไกและรูปแบบพื้นที่แลนด์มาร์กระดับนานาชาติแห่งใหม่ที่สะท้อนชีวิตชุมชนสามย่านและสวนหลวงด้วยนวัตกรรมทางศิลปกรรมดิจิทัล โดยชุมชนมีข้อเสนอแนะว่าต้องมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่องในชุมชน เช่นการแสดงงิ้ว การจัดงานเทศกาลด้านศิลปกรรม และดำเนินการต่อยอดโครงการเพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้งานศิลปกรรมดิจิทัลของสวนศิลป์จุฬา การมีส่วนร่วมของชุมชนจะเป็นกลไกที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ การประชาสัมพันธ์ผลงานโดยจัดทำเฟซบุ๊กชื่อ “Chula-Arts-Park-สวนศิลป์จุฬา” และเว็บไซต์ www.chulaartpark.art ได้จัดแถลงข่าวการเปิดสวนศิลป์จุฬา นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ เปิดงานด้วยการแสดงงิ้วชุมชน ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของนวัตกรรมศิลปกรรม มีการเผยแพร่ข่าวทางโทรทัศน์ 2 ช่อง สื่อสิ่งพิมพ์ไทยและอังกฤษรวม 20 สำนัก และผ่านทางระบบยูทูป รวมถึงได้เดินทางไปเผยแพร่ผลงานและหารือความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและภาคธุรกิจเอกชน รวม 4 แห่ง 7 หน่วยงานย่อย ในประเทศสิงคโปร์ และได้นำเสนอในการประชุมวิชาการในต่างประเทศผ่านระบบออนไลน์ 2 รายการ ผลงานนวัตกรรมศิลปกรรมสร้างสรรค์กลางวันและกลางคืนชิ้นแรกในประเทศไทยเป็นโครงการต้นแบบที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม และความร่วมมือของสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งยังเป็นต้นแบบการบูรณาการศิลปะการแสดงมาส่งเสริมคุณค่านวัตกรรมศิลปกรรมสร้างสรรค์ในการพัฒนาส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและสร้างแรงบันดาลใจให้กับการทำวิจัยในพื้นที่อื่นๆ คำสำคัญ นวัตกรรมศิลปกรรม, ชุมชนต้นแบบ, เศรษฐกิจสร้างสรรค์, คุณภาพชีวิต
Title
The Use of Arts & Design for Sustainable Economic and Quality of Life Development of Samyan & SuanLuang CommunitiesKeywords
Art and Design,Samyan-SuanLuang Communities,Sustainable Economic,Quality of LifeAbstract
The Use of Arts & Design for Sustainable Economics and Quality of Life Development of SamYan & SuanLuang Communities is a series of research projects in the field of humanities using mixed methods research. Regarding the spread of COVID-19, the period of operation was extended from 18 months to 21 months for the dissemination of results and project evaluation. The results are as follows.
Objective 1. To create 15 sculptures of creative art innovation that glow with solar energy at night. The sculptures are created with the cooperation within university network of the Council of Arts and Design Deans of Thailand using the concept of linking the way of life and culture of the community in the past to the development of the area today. Augmented Reality and QR code are combined for video description of each sculpture. PM 2.5 sensors are installed to measure dust around the workpiece to raise awareness of environmental pollution. This project gives rise to new tourism landmarks in Pathum Wan area.
Objective 2. To promote and support the creation of model communities of Sam Yan and Suan Luang, using the arts and design to sustainably develop the economy and quality of life of the communities. Community’s participation were organized through 13 sub-projects of on training to promote quality of life, using an online training format to avoid the spread of COVID-19. Overall assessment results of all projects are between good to very good level. There were surveys of project’s acknowledgement, communities’ needs and opinions, including in-depth interviews. Community forums were also held in the form of workshops, where the community action plan on artistic innovation and a communicative line group were established. Assessment from 260 visitors to the sculptures via the Chula Art Park website indicated that once, after real area of art innovations visiting, 57 percent have highest intention to go to have meals or desserts or drinks at shops located in the community, while 26.5 percent has high intention to do so and only 2.5 percent has little to very little intention to do so. The result identifies that the development project can promote the economy and increase the income of the community.
Objective 3. To create mechanism for a new style of international-leveled landmark area that reflects way of life of Sam Yan and Suan Luang communities through innovations in the form of digital art. People in the communities have suggested that there should be ongoing activities in the communities such as Chinese operas, arts festivals and the continuing art project to create a learning area for digital arts of Chula Art Park. Community participation will be a mechanism that will facilitate development in the area. The publicity of the work is done by creating a Facebook named “Chula Art Park” and website www.chulaartpark.art and holding a press conference on the opening of the Chula Art Park, inviting the press to the area. The opening event includes a performance of the communities’ Chinese opera which tells the stories of the art innovations. News of the event was presented on 2 television channels, 20 Thai and English publications, and via YouTube. Moreover, the project staff have travelled to disseminate the works and to discuss the cooperation with educational institutions and private business sectors, totaling 4 institutions and 7 departments and presented in 2 international academic conferences via online system. Thailands first innovative day and night creative art project is a prototype project that uses digital technology to interact with visitors. It is the cooperation of educational institutions, both public and private, and is also a model of integrating the performing arts to promote creative arts innovation values in the development and promoting of the community’s economy as well as inspiring researches in other areas. Keywords: art innovation, model community, creative economy, quality of life