ยกระดับการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยการใช้นวัตกรรม : เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสียและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 25 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630067
นักวิจัย ผศ ดร วารุณี อริยวิริยะนันท์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 20: ชุมชนนวัตกรรม
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย นครนายก, ปทุมธานี

ชื่อโครงการ

ยกระดับการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยการใช้นวัตกรรม : เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสียและสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ

การบริหารจัดการของเสีย,การร้างมูลค่าเพิ่ม,ตลาดไท,ชุมชนเคหะ,นวัตกรรมชุมชน

บทคัดย่อ

จังหวัดปทุมธานีมีทั้งส่วนของเกษตรกรรม อุตสาหกรรม รวมทั้ง SME และ วิสาหกิจชุมชนหลายขนาด จากลักษณะชุมชนแบบผสมผสานเหล่านี้ ส่งผลให้ระบบการจัดการของเสียในชุมชน มีความยุ่งยากเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากพบปัญหาของการจัดการของเสียในหลายมิติ ทั้งของเสียจากบ้านเรือน ของเสียจากร้านค้าชุมชน ของเสียจากภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ของเสียที่เป็นวัตถุดิบที่ผ่านการแปลรูป โดยเฉพาะ วัตถุดิบเหลือใช้จากภาคเกษตรกรรม โดยพบว่าของเสียและวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรจากพื้นที่จังหวัดปทุมธานี มาจากหลายแหล่ง ทั้งกลุ่มผัก ผลไม้ กลุ่มที่มาจากกระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว นอกจากนั้น ยังมีวัตถุดิบที่มาจากอุตสาหกรรมแปลรูปวัตถุดิบทางการเกษตร เช่น การแปรรูปผัก ผลไม้ วัตถุดิบเหลือทิ้งจากการแปรรูปสัตว์น้ำ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันนี้ จังหวัดปทุมธานี มีแนวนโยบายด้านการจัดการวัสดุทางการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และวัสดุเหลือใช้จากชุมชน เพื่อสร้างให้เมืองปทุมธานีในหลายพื้นที่ เป็นเขตพื้นที่เมืองน่าอยู่ ผลจากการดำเนินโครงการพบว่า กระบวนการในการทำงานวิจัยสามารถพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายจังหวัดปทุมธานี รวมทั้งสิ้น 4 อำเภอ 11 ตำบล 17 ชุมชน 3 บริษัทเอกชน / หน่วยงาน โดยมีรายละเอียดได้แก่ อำเภอคลองหลวง (ตำบลคลองสอง และตำบลคลองหก) อำเภอธัญบุรี (ตำบลลำผักกูด ตำบลรังสิต และตำบลประชาธิปัตย์) อำเภอลำลูกกา (ตำบลบึงคอไห) อำเภอหนองเสือ (ตำบลบึงชำอ้อ ตำบลบึงน้ำรักษ์ ตำบลบึงกาสาม ตำบลบึงบา และตำบลหนองเสือ) โดยผลผลิตที่เกิดจากการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้พบว่า รูปแบบแห่งการเรียนรู้ เรื่องการบริหารจัดการของเสียและสร้างมูลค่าเพิ่มในแต่ละชุมชนเป้าหมาย โดยกระบวนการเรียนรู้มีการปรับใช้เทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ให้เข้ากับสถานการณ์โควิด รูปแบบของเทคโนโลยีสื่อสารที่นำมาใช้งานจะให้มีความเหมาะสมกับชุมชนเป้าหมายในพื้นที่ด้วย สามารถสร้างการเรียนรู้ในชุมนเป้าหมายได้ 17 ชุมชน 3 บริษัท อาทิเช่น
(1) บริษัท มามา เทรดดิ้ง จำกัด (MAMA TRADING CO.,LTD) ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง
(2) บริษัท ปรีชาดิจิ จำกัด ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี
(3) บริษัท ฟาร์ม่า โปรเชส เทคโนโลยี จำกัด ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอหนองเสือ
(4) ชุมชนหมู่ 14
(5) ศูนย์การเรียนรู้สัมมาชีพ ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง

โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างนักวิจัยชาวบ้าน/นวัตกรชาวบ้าน เรื่องการบริหารจัดการของเสียและ สร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งนวัตกรนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดการแพร่กระจายองค์ความรู้และนวัตกรรมในชุมชน จำนวนนวัตกรชุมชน 38 คน โดยนักวิจัยสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ดำเนินงานในโครงการ จำนวน 46 นวัตกรรม ที่สามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก และมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10 อาทิเช่น แผ่นจักสานจากเส้นใยผักตบชวาเพื่องานตกแต่งภายใน, ผนังวอลเปเปอร์จากเส้นใยผักตบชวา, ผลิตภัณฑ์กระเป๋าเศษหนังและผ้าผักตบชวา และ เครื่องต้นแบบการบริหารจัดการขยะ เป็นต้น

Title

Enhancing Area Based Management throughout Innovation: Increase the efficiency of waste management and increase product value in Pathum Thani province

Keywords

waste management,Value-added Products,Talad Thai Market,Community Housing

Abstract

สำหรับสมาชิกเท่านั้น