ชื่อโครงการ
ผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ไทยสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรมกลาสเซรามิกส่งเสริมมูลค่าเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไทยคำสำคัญ
ผลิตภัณฑ์ออกแบบสร้างสรรค์,อัตลักษณ์ไทย,นวัตกรรม,กลาสเซรามิก,การท่องเที่ยวไทยบทคัดย่อ
ชุดโครงการวิจัยนี้ ได้นำนวัตกรรมกลาสเซรามิกสรรสร้างผลิตภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับของไทยด้วยรูปแบบอัตลักษณ์สร้างสรรค์ ด้านความเชื่อ วัฒนธรรม แหล่งประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชน 10 ตำบล จังหวัดแพร่
1. ช่อแฮ
2. ในเวียง
3. บ้านถิ่น
4. ทุ่งโฮ้ง
5. ทุ่งกวาว
6. นํ้าชำ
7. สวนเขื่อน
8. บ้านปิน
9. ห้วยอ้อ
10. ไทรย้อย
ผสมผสานกับเทคโนโลยีการออกแบบ 3 มิติ สื่อสารอัตลักษณ์ชุมชนแพร่ สร้างความโดดเด่นแนวใหม่ของรูปแบบเครื่องประดับเคลื่อนไหว การผลิตอัญมณีวัสดุคอมโพสิตกลาสเซรามิก จากองค์ประกอบวัตถุดิบพลอยในท้องถิ่น และผงแก้วละเอียด ควบคุมปัจจัยการผลิตจากเครื่องมือที่ออกแบบมาเฉพาะงาน การบดผสมอนุภาคขนาดเล็ก กระบวนการขึ้นรูปด้วยการอัดผ่านไฮโดรลิก 10 ตัน ขนาดชิ้นงานทรงกระบอกรัศมี 1.5 นิ้ว สูง 1 นิ้ว ให้ความร้อนเผาผนึกด้วยขดลวดอินดักชันรอบชิ้นงาน อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส เวลา 30 นาที ปล่อยให้เย็นเร็วด้วยเครื่องพ่นไอเย็น จากนั้นให้ความร้อนภายในเตาเผาระบบสุญญากาศความความดัน 10-3 ทอร์ ปรับอุณหภูมิตามเงื่อนไขการเกิดสีและปรากฏการณ์เลียนแบบอัญมณีระหว่าง 1,000-1,300 องศาเซลเซียส ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมอัตโนมัติ ทำให้ได้วัสดุผลิตอัญมณีคุณภาพดี มีสมบัติเชิงกลที่ดี มีความแข็งแรง ความแข็งที่ผิวสูง ทนทานต่อกรดเบส สามารถเจียระไนขึ้นรูปได้อัญมณีงดงาม ด้วยสมบัติเชิงแสง โปร่งใส สีสด ความแวววาว และความปลอดภัยต่อผู้สวมใส่ สร้างผลงานอัญมณีเครื่องประดับอัตลักษณ์จำนวน 99 ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ประณีตงดงามด้วยช่างฝีมือไทย นำเข้าร่วมการจัดแสดงผลงาน ประกวดแข่งขัน งานนวัตกรรม งานออกแบบต่างๆ ผลงานได้รับรางวัลทั้งระดับชาติและนานาชาติ นำมาซี่งการรับรู้ ยอมรับ และภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก สร้างความยั่งยืนด้วยการจัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ทั้งรูปแบบบทเรียนการศึกษาด้วยตนเอง การจัดเวลาเข้าเรียนกับผู้เชี่ยวชาญรูปแบบแบบออนไลน์ การเข้าฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือเบื้องต้นและขั้นสูง และเรียนรู้การบำรุงรักษาให้พร้อมใช้งาน นวัตกรตอบรับและมีความพึงพอใจ ต่อการนำความความรู้ และพัฒนาทักษะสร้างความ ความเข้าใจในเนื้อหา การออกแบบเครื่องประดับอัตลักษณ์ กระบวนการผลิตต้นแบบเครื่องประดับ การผลิตวัสดุคอมโพสิตกลาสเซรามิก การสร้างตลาดดิจิทัล และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต่อยอดออกสู่เชิงพาณิชย์ มากกว่านั้นได้มีการบูรณาการด้าน การส่งเสริมการสร้างอุตสาหกรรมชุมชนและโครงการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับนโยบายหลักของวิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีการบริหารจัดการเรียนการสอน ให้คณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ นิสิต เชื่อมโยงกับรายวิชาในหลักสูตร การเรียนสหกิจศึกษา นิสิตรับโจทย์ทำงานร่วมกับชุมชน ร่วมกันสร้างเครือข่ายนักวิจัยชุมชนกับมหาวิทยาลัย และสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่ นำอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาเป็นแรงบันดาลใจ การออกแบบเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ สื่อสารให้ผู้สนใจผ่านเวปไซด์ ให้สนใจ เข้ามาเยี่ยมชมความงดงามของสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน จังหวัดแพร่ ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียมไทย ความเชื่อ วิถีชีวิตที่งดงาม สร้างภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น และผลิตภัณฑ์เครื่องประดับสร้างสรรค์ สิริมงคลแก่ผู้สวมใส่ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว สร้างความเชื่อมั่น และร่วมกันสืบสานการนำคุณค่าวัฒนธรรมไทยสร้างมูลค่าเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไทย
Title
Creative product design inspired by Thai identity through glass ceramic innovative material for economic value of tourism promotion ThailandKeywords
Creative product design,Thai identity,innovation,glass ceramic,tourism promotion ThailandAbstract
–