การยกระดับผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 40 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630063
นักวิจัย นายอนงค์ฤทธิ์ แข็งแรง
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย มหาสารคาม

ชื่อโครงการ

การยกระดับผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

คำสำคัญ

การทำเกษตรสมัยใหม่,ข้าวพันธ์พื้นเมือง,เศรษฐกิจดิจิตัล,วิสาหกิจชุมชน,ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์

บทคัดย่อ

ชุดโครงการการยกระดับผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าทางการตลาดของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) พัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์วิสาหกิจต้นแบบในจังหวัดมหาสารคามด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
2) ยกระดับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจต้นแบบในจังหวัดมหาสารคาม
3) เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์วิสาหกิจต้นแบบด้วยการแปรรูปและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่น
4) เพิ่มและขยายช่องทางทางการตลาดของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจต้นแบบด้วยการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค
5) สร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ (New Value Chain) และเกิดโครงสร้างการกระจายรายได้สู่เกษตรกรในชุมชนอย่างยั่งยืน

แผนงานวิจัยนี้ได้ตกผลึกโจทย์วิจัยร่วมกันกับตัวแทนวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคาม โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ในการยกระดับและพัฒนามูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนของวิสาหกิจชุมชน เพื่อหวังจะให้มีการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่ (New Value Chain) และให้เกิดโครงสร้างการกระจายรายได้สู่เกษตรกรผู้ผลิตหรือเกษตรกรต้นน้ำอย่างแท้จริง ซึ่งประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อยจำนวน 4 โครงการ ได้แก่

โครงการวิจัยย่อยที่ 1 การพัฒนาแพลตฟอร์มเกษตรอินทรีย์อัจฉริยะสำหรับการปลูกผักสลัดในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์แป้งกล้วยเพื่อสุขภาพด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบโดมและการแผ่รังสีอินฟราเรดระยะไกลจากแผ่นเซรามิก
โครงการวิจัยย่อยที่ 3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแคลอรีต่ำเป็นอาหารเพื่อสุขภาพจากข้าวพื้นเมือง จังหวัดมหาสารคาม โครงการวิจัยย่อยที่ 4 การเพิ่มมูลค่าทางการตลาด ด้วยแผนที่ดิจิตัล 360 องศา

กรณีศึกษา: กลุ่มวิสาหกิจบ้านกุดรัง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินการภายใต้กรอบเวลา 1 ปี 3 เดือน (ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2563 – สิงหาคม 2564) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 162 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม ระดมความคิดเห็นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นำข้อมูลที่ได้มาทวนสอบเพื่อแสดงความคิดเห็นร่วมกัน นำไปสู่การสรุปเป็นนองค์ความรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้วิสาหกิจชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างแท้จริง รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวิสาหกิจชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ซึ่งมาจากพื้นฐานความต้องการของวิสาหกิจชุมชน และพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปทีทมีคุณภาพและได้รับการยืนยันจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่มาจากความตIองการของตลาด (Market pull) เป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า

1) ด้านการเรียนรู้ เกิดทักษะในด้านการวิจัยและสรุปองค์ความรู้เพื่อการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ที่เกิดจากการใช้เครื่องมือ Time Line Analysis ในการศึกษาภาพเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงในของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทำให้เกิดความเข้าใจปัจจัยและมูลเหตุของการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับกลุ่ม อีกทั้งทำให้เกิดการค้นหาแนวทางที่นำไปสู่การแก้ไขที่สอดคล้องกับปัญหาต่าง ๆ ในส่วนของการเรียนรู้ด้านการตลาด อัตลักษณ์ และด้านนวัตกรรมเป็นการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เครือข่าย มหาวิทยาลัย และเอกชน
2) ด้านการเกิดอาชีพ (เช่น เกิดทักษะอาชีพบนฐานชุมชน, เกิดการต่อยอดอาชีพ, การเป็นผู้ประกอบการ) ในโครงการวิจัยได้เชื่อมโยงและทำกิจกรรมด้านการสร้างทักษะทางอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มวิสาหกิจและคนในชุมชนสามารถขายของผ่านช่องทางออนไลน์โดยใช้สื่อและบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย ซึ่งสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจที่ทั้งเชื่อมโยง “ภูมิสังคม” เข้ากับ “ภูมิเศรษฐกิจ” ของกลุ่มอีกด้วย
3) การเกิดรายได้ (เกิดรายได้หลักหรือรายได้เสริมอย่างไร) ในการตลาดเดิมของข้าว ซึ่งเป็นกลุ่มพ่อค้าคนกลางและโรงสีทำให้ราคาข้าวมีมูลค่าที่ต่ำ ซึ่งในการวิจัยฉบับนี้ได้ทำการวิเคราะห์ให้เห็นถึงภาพการเปลี่ยนแปลงและโอกาสในการสร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ เช่น การทำบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยและแสดงถึงอัตลักษณ์ของวิสาหกิจชุมชน
4) การยกระดับคุณภาพชีวิต (เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างไร) เป็นการยกระดับรายได้ของกลุ่มวิสาหกิจเพื่อสร้างรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นทำให้สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในแง่ของการสร้าง “ภูมิเศรษฐกิจ” และ ในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการและการออกแบบบรรจุภัณฑ์
5) การสร้างเครือข่ายและสังคม การเชื่อมโยงกลุ่มเครือข่ายและเอกชนเพื่อสร้างการขยายทางการตลาดให้กับกลุ่มวิสาหกิจเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สำคัญในการสร้าง “นิเวศเศรษฐกิจใหม่” ที่สร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ให้กับกลุ่มวิสาหกิจ การเชื่อมโยงนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ การบัญชี การตลาด รวมไปถึงการออกแบบ

อัตลักษณ์เป็นหนึ่งในการสร้างเครือข่ายที่ก่อให้เกิดนิเวศแบบใหม่ของการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อไป ซึ่งเป็นการทำเกษตรที่มีการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) และเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ (Productivity) โดยนำเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาช่วย สามารถสรุปสิ่งที่ค้นพบจากการดำเนินการวิจัยด้วยห่วงโซ่คุณค่าโดยค้นพบว่า “ภูมิปัญญาและภูมิแผ่นดินมหาสารคาม” ที่อยู่ในแต่ละโครงการย่อยทั้ง 4 โครงการ ในการคลี่ภาพของห่วงโซ่คุณค่าเดิม ไปสู่ ห่วงโซ่คุณค่าใหม่ ดังภาพต่อไปนี้ ผลการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุน (ROI) สำหรับวิสาหกิจชุมชนทั้ง 5 แห่ง พบว่า กิจกรรมโครงการลงทุนเพื่อพัฒนาและยกระดับห่วงโซ่คุณค่าทั้ง 4 โครงการ มีผลตอบแทนเท่ากับ 16.39 % ตามลำดับ จึงแสดงให้เห็นว่าการลงทุนนั้นมีความคุ้มค่าในการลงทุนอย่างยิ่ง และพบว่าผลตอบแทนทางสังคม (SROI) จากการลงทุนกิจกรรมโครงการการลงทุนเพื่อพัฒนาและยกระดับห่วงโซ่คุณค่าทั้ง 4 โครงการ ภาพรวมคิดเป็น 2.13 กล่าวคือ ทุกการลงทุน 1 บาท ส่งผลตอบแทนทางสังคมมูลค่า 2.13 บาท ทั้งนี้วิสาหกิจชุมชนที่ถือเป็นต้นแบบที่มีอัตราผลตอบแทนการลงทุนโดยรวมสูงสุด มีการดำเนินธุรกิจภายใต้มาตรฐาน นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ทำแบรนด์ที่ดึงดูดในแก่ลูกค้า ควรส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายวิสาหกิจทั้ง 5 วิสาหกิจให้สามารถรวมกันเป็นเครือข่ายอย่างเป็นทางการ สามารถต่อยอดการดำเนินงานของกิจกรรมภายใต้โครงการ อย่างไรก็ตามควรนำผลการวิเคราะห์และกิจกรรมสนับสนุนจากโครงการ รวมทั้งการอบรมเชิงปฏิบัติการไปปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจของชุมชนให้มาก โดยเฉพาะควรเรียนรู้เรื่องการบริหารจัดการกลุ่ม การมีส่วนร่วมของสมาชิก การจัดทำบัญชีและนำข้อมูลมาเพื่อการวางแผนการผลิตและการบริหารจัดการกลุ่ม รวมถึงการเพิ่มทักษะการทำธุรกิจให้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเพิ่มสภาพคล่องทางธุรกิจ โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปใหม่ ๆ ที่สามารถจำหน่ายได้ในตลาดอย่างแท้จริง พัฒนาช่องทางการตลาด Online พัฒนาต่อยอดแนวทางการดำเนินกิจการเพื่อสังคม ให้เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจของ ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนทั้ง 5 แห่ง โดยใช้เป็นกลไกการบริหารจัดการธุรกิจเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งทำหน้าที่สนับสนุนการกระจายสินค้าไปสู่ช่องทางตลาดต่าง ๆ และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับภาคีต่าง ๆ

Title

Improvment of products and marketing value added of local community enterprise in Maha Sarakham province based on science, technology and innovation for sustainable development

Keywords

Smart farming,Native rice,Digital economy,Local enterprise,Solar drying

Abstract

The project series of upgrading products and marketing value-added of community enterprises in Maha Sarakham Province through science, technology, and innovation for sustainable development aims at

1) developing the production process of products of prototype community enterprises in Maha Sarakham through science, technology, and innovation.
2) upgrading products of prototype community enterprises in Maha Sarakham Province.
3) increasing the value of products of prototype community enterprises by developing packaging to be outstanding.
4) expanding the marketing channels of products of prototype community enterprises by linking producers and consumers.
5) creating a new value chain and structure for sustainable income distribution to farmers in the community. This research plan has crystallized research problems with representatives of community enterprises in Maha Sarakham Province.

It focuses on the achievement of upgrading and developing the product values of community enterprises and hopes for a new value chain management system that will create a true income distribution structure for upstream farmers. It consists of four sub-projects, namely:

1. creation of a smart organic farming platform for lettuce cultivation in Maha Sarakham Province.
2. creation of healthy banana flour products through the use of dome solar energy and far infrared radiation (FIR) with ceramic.
3. development of low-calorie rice products as a healthy food from native rice in Maha Sarakham Province.
4. adding marketing value with 360-degree digital maps: a case study: Ban Kudrang Enterprise Group, Kudrang District, Maha Sarakham Province. All projects were implemented within 1 year and 3 months (between May 2020 and August 2021).

The sample group consisted of 162 people. Data was collected from interviews, group discussions, and brainstorming sessions with stakeholders. The information obtained is verified for mutual opinions. The information obtained is reviewed to share opinions and summarized as a body of knowledge and transferred knowledge in the form of a workshop so that community enterprises can apply it. The data was analyzed to find ways to create added value for community enterprises in accordance with the local context and based on the needs of community enterprises, including the development of processed products with quality and confirmed by scientific processes to meet the market demand. The results revealed that

1) learning aspects: having skills in researching and summarizing the body of knowledge for knowledge management arising from the use of Time Line Analysis tools in the study of animations and changes in community enterprises. It helps to understand the factors and causes of all the changes that occur in the group and to find solutions that are consistent with the problems. In terms of learning in marketing, identity, and innovation, it creates shared learning among communities, community enterprise groups, networks, universities, and private sectors.
2) occupational aspects (e.g. community-based career skills, career extensions, entrepreneurship): this study has linked and engaged activities to build professional skills for the target groups so that they are able to sell products through online channels using modern media and packaging. This makes it possible to create a career and an income for the target–enterprise groups that connect both the “society” and the “economy”.
3) Earning income (how to earn a main income and make extra money): In the traditional rice market, a group of middlemen and mills may be the reason for the low price of rice. Thus, this study analyzes the changes and opportunities to create product identities, such as modern packaging, and reflects the identity of community enterprises.
4) Enhancing the quality of life (how to have a better life): It raises the income of the enterprise group, thereby creating a better quality of life in terms of creating “economic” knowledge and using science and technology for nutritional analysis and packaging design; in addition
5) Networking and socialization: it is a collaboration between enterprise groups and private sectors in expanding markets. It is vital to shaping a new economy that creates a new value chain for enterprises. Another approach to networking that creates a new ecosystem for modern products is to connect academics in the fields of social sciences, accounting, marketing, and identity design.

It is an agricultural operation that analyzes the areas conditions by focusing on increasing efficiency and productivity by combining science, technology, and innovation. All in all, the findings of this value chain research revealed that the “wisdom and land background of Maha Sarakham Province” contained in each of four sub-projects is illustrated in accordance with the transformation of the old value chain to the new value chain as shown in the following figure. The analysis of the return on investment (ROI) for the 5 community enterprises revealed that the investment project activities for the development and upgrading of the 4 value chain projects had a return of 16.39 %, respectively. Therefore, it shows that the investment is extremely worthwhile. It was also found that the social return on investment (SROI) from investment in project activities to develop and upgrade the value chain of all four projects accounted for 2.13, meaning that every 1 baht investment yielded a social return worth 2.13 baht. This community enterprise is considered a model with the highest overall investment return. The business is conducted under the standard and the products are also improved to create a brand that attracts customers. Therefore, the network of five enterprises should be promoted and supported to be able to form a network to further the operations of the activities under the project. However, the results of the analysis and the supporting activities from the project and workshop should be greatly applied to the communitys business operations. In addition, learning in group management, member engagement, accounting, and the use of information for production planning and group management, as well as gaining more business skills, is needed. Moreover, there should be regular exchange of knowledge with other networks, as well as developments in other areas, such as developing new processed products that can be sold in the markets, developing online marketing channels, and developing operations for sustainable communities. The activities matched the interests of representatives of the five community enterprises. These are used as guidelines for managing community enterprise network businesses together with supporting the distribution of products to various market channels and encouraging collaboration with various partners.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น