การสร้างกลไกเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีเพื่อยกระดับคุณภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสู่เมืองอัจฉริยะ

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 39 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630059
นักวิจัย ดร. นรา พงษ์พานิช
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย สุราษฎร์ธานี

ชื่อโครงการ

การสร้างกลไกเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีเพื่อยกระดับคุณภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสู่เมืองอัจฉริยะ

คำสำคัญ

กลไกเชิงพื้นที่,การมีส่วนร่วม,การพัฒนาย่านเมืองเก่า,เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี,เมืองอัจฉริยะ

บทคัดย่อ

ชุดโครงการวิจัยนี้ ประกอบด้วย 4 โครงการวิจัยย่อย ได้แก่ 1) การสร้างกลไกเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาย่านเมืองเก่าในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะ 2) การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนในย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี 3) การพัฒนากลไกสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อมย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะ และ 4) การพัฒนาระบบให้บริการและแนะนำข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวอัจฉริยะในย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนากลไกสร้างสรรค์และขับเคลื่อนเชิงพื้นที่สำหรับย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพในย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการยกระดับคุณภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสำหรับย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะ ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีขอบเขตด้านพื้นที่ ได้แก่ ชุมชนตลาดล่าง ชุมชนหน้าด่าน ชุมชนวัดไทร (ตลาดศาลเจ้า) ชุมชนตลาดท่าเรือ ชุมชนตาปี (ร่วมกับชุมชนตลาดเกษตร) ชุมชนราษฎร์อุทิศ และพื้นที่ต่อเนื่อง ภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนโครงการนี้ ประกอบด้วย ภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ ด้วยการบูรณาการแนวคิดระหว่าง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม” และ “การร่วมรังสรรค์” มาเป็นกรอบการวิจัย การศึกษาครั้งนี้มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การจัดประชุมเพื่อชี้แจงและสร้างกลไกเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ศึกษา เพื่อการพัฒนาย่านเมืองเก่าเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี (2) การจัดประชุมเพื่อขับเคลื่อนกลไกเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วม และติดตามความก้าวหน้า (ครั้งที่ 1) 3) การจัดประชุมเพื่อขับเคลื่อนกลไกเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วม และติดตามความก้าวหน้า (ครั้งที่ 2) และ (4) การจัดประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะ และถอดบทเรียนเกี่ยวกับองค์ความรู้ใหม่ และแนวการพัฒนาย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี สำหรับการเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา และการวิเคราะห์ข้อมูลให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามบริบทของแต่ละโครงการวิจัยย่อยทั้ง 4 โครงการ ภายใต้กรอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ จำนวน 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้นำหรือประธานชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย 2) กลุ่มประชาชนในชุมชนพื้นที่เป้าหมาย 3) กลุ่มตัวแทนเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี 4) กลุ่มตัวแทนผู้ประกอบการภาคเอกชนหรือสมาคมในพื้นที่เป้าหมาย 5) กลุ่มตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เป้าหมาย และ 6) กลุ่มตัวแทนจากภาคสังคมในชุมชนพื้นที่เป้าหมาย ผลการวิจัยพบว่าเกิดการพัฒนากลไกสร้างสรรค์และขับเคลื่อนเชิงพื้นที่สำหรับย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และการวิเคราะห์ปัญหาและศักยภาพเพื่อเสนอแนวทางการยกระดับคุณภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมสำหรับย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะ ผ่านการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเกิดเป็นเกิดชุดองค์ความรู้ใหม่ในระดับพื้นที่ ได้แก่ 1) ผังแม่บท แผนแม่บท และแผนปฏิบัติการด้านการอนุรักษ์และพัฒนาย่านเมืองเก่าในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี 2) ระบบการให้บริการประชาชนด้านภาษีบำรุงท้องถิ่น การจดทะเบียนธุรกิจและการให้บริการสุขภาพ และสวัสดิการสังคม 3) ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมย่านเมืองเก่าเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีสู่เมืองอัจฉริยะ และ 4) ระบบให้บริการและแนะนำข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวอัจฉริยะในย่านเมืองเก่า ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบในเชิงนโยบายด้านการส่งเสริม ผลักดันการกระจายความเจริญ และสร้างความเข้มแข็งในเชิงเศรษฐกิจ เชิงสังคม เชิงสิ่งแวดล้อม และเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ต่อไป

Title

Establishing the Participatory Area-based Mechanisms for the Development of the Old Town in Surat Thani Municipality to Improving the Quality of Economy, Society and Environment to the Smart City

Keywords

Area-based Mechanisms,Participation,Development of the Old Town,Surat Thani Municipality,Smart City

Abstract

This research consists of 4 sub-projects as follows: 1) establishing the participatory area-based mechanisms for the conservation and development of the old town in Surat Thani Municipality to the smart city, 2) big data management for enhancing the efficiency of serving people in the old town of Surat Thani Municipality, 3) development of mechanisms for the environmental management of the old town in Surat Thani Municipality to the smart city, and 4) development of tourism service and recommendation system for smart tourism destination in Surat Thani Municipality. The objectives of this research were as follows: 1) to develop a creative and spatial driving mechanism for the old town of Surat Thani Municipality, through the participation of all sectors involved; 2) to analyze problems and potentials of the old town in Surat Thani Municipality, through the participation of all sectors involved; and 3) to propose guidelines and innovations for preserving and developing the old town in Surat Thani Municipality to the smart city, through the participation of all sectors involved. The study area of this research consisted of Talad Lang, Nadan, Wat Sai, Bann Don Market or Pier Market, Tapee, Rat Uthit, and continuous area. The implementation of this research was a collaboration of all relevant sectors, comprising the people sector, the government sector, the private sector, the social sector, and the academic sector, under the concept of integrating between “Participatory Action Research” and “Co-creation” as the framework of research. This research also has 4 steps as follows: 1) organizing a meeting to clarify and create a spatial mechanism with participation of all sectors involved for the development of the old town of Surat Thani Municipality; 2) organizing a meeting to drive a participatory spatial mechanism and follow up on the 1st progress report; 3) organizing a meeting to drive participative spatial mechanisms and to follow up on the 2nd progress report; and 4) organizing a meeting to summarize the results, recommendations, and remove lessons about new knowledge, and development guidelines for the old town of Surat Thani Municipality. This study selected a population and a sample, research tools, and data analysis in accordance with the contextual objectives of each of the 4 sub-research projects, under the framework of 6 major stakeholder groups, consisting of 1) a group of leaders or community leaders in the target areas; 2) a group of people in the targeted communities; 3) a group of representatives of Surat Thani Municipality; 4) a group of representatives of private entrepreneurs or associations in the target area; 5) a group of representatives of government agencies involved in the target area; and 6) a group of representatives from the social sector in the targeted communities. The results showed that the creative and spatial driving mechanisms for the old town of Surat Thani Municipality were developed, and analysis of problems and potentials in order to propose ways to upgrade the economic, social and environmental quality for the old district of Surat Thani Municipality to a smart city. Moreover, the results also showed that a new set of knowledge at the local level consisted of 1) master plan and action plan for conservation and development of old town in Surat Thani Municipality; 2) local business registration, health services, and social welfare; 3) environmental management system in the old town of Surat Thani Municipality to a smart city; and 4) service and advice system for smart tourism in the old town of Surat Thani Municipality. In addition, these research findings have a policy effect on promoting and driving the distribution of prosperity and strengthening the economic, social, environmental, and academics dimensions related to the further development of smart city.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น