การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 20 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630035
นักวิจัย นายสฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย นครราชสีมา

ชื่อโครงการ

การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์

คำสำคัญ

ระบบสารสนเทศเมือง,เมืองอัจฉริยะ,สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ,การวางแผนและพัฒนาเมือง,แนวคิดขยะเหลือศูนย์

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ กล่าวคือ
1) รวบรวมและจัดระบบการจัดการข้อมูลเมืองในด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะของชุมชนเมืองนครราชสีมา
2) พัฒนาระบบการจัดการขยะชุมชนเพื่อเป็นต้นแบบชุมชนเมืองโคราชขยะเหลือศูนย์ และ
3) ประเมินผลของข้อมูลวิจัยและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะเมือง

ระเบียบวิธีวิจัยแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่
1) การเตรียมระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบปฏิบัติการสารสนเทศเมือง
2) กระบวนการประชาสัมพันธ์โครงการกับภาคส่วนต่าง ๆ และการเตรียมการในทีมวิจัยกับเครือข่ายขับเคลื่อนโครงการ ตลอดจนกระบวนการเริ่มต้นของการจัดทำแผนพัฒนาโคราชเมืองอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ประเด็นขยะเหลือศูนย์
3) การทดสอบเทคโนโลยีเพื่อสร้างระบบนิเวศขยะเหลือศูนย์ในห้องปฏิบัติการทั้งทางกายภาพและทางออนไลน์ ทดลองระบบสารสนเทศเมืองด้านขยะเหลือศูนย์ จำนวน 1,112 ครั้ง โดยมีเป้าหมายของการเกิดแผนพัฒนาเมืองด้านขยะเหลือศูนย์ บรรจุเข้าแผนของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อการสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานให้เกิดขึ้น
4) ประเมินผลภาพรวมทุกโครงการ และการขยายผลของระบบสารสนเทศเมือง เพื่อการพัฒนาสมรรถนะสำหรับการรองรับความเป็นเมืองอัจฉริยะแต่ละด้านต่อไป ผลการวิจัยได้ดำเนินการออกแบบโครงสร้างเป็น 2 ระบบ ทำงานเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ได้แก่ JVIS Platform และ Scavenger Platform ได้ดำเนินการทดสอบระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผ่าน Mobile User Application กับ Smart Recycle Bank ผลการทดสอบจำนวน 1,112 ครั้ง กับ Mobile User Application พบว่าการเชื่อมโยงส่งข้อมูลเข้าระบบสารสนเทศเมืองที่ออกแบบไว้ได้ จึงถือว่าการพัฒนาต้นแบบระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ นำผลการศึกษาและข้อมูลของระบบนิเวศการบริหารจัดการขยะเหลือศูนย์ ไปสู่การกําหนดวิสัยทัศน์ แผนงานและโครงการด้านบริหารจัดการขยะของเมืองโคราช

Title

Urban Informatics System Development for Urban Planning and Development to Korat Smart City : A Case Study of Smart Environment in Zero Waste Approach

Keywords

Urban Informatics System,Smart City,Smart Environment,Urban Planning and Development,Zero Waste Concept

Abstract

This research project has 3 objectives, namely
1) collecting and organizing a city information management system in an intelligent environment of Nakhon Ratchasima community.
2) Developing a community waste management system to be a model for zero waste in Korat communities.
3) Evaluating the results of research data and Participation in the development of intelligent urban environment.

The research methodology can be divided into four steps:
1) preparation of the infrastructure system and urban information operating system.
2) the process of publicizing the project with various sectors, and the preparation of the research team and the project-driven network. as well as the initial process of preparing the Korat smart city development plan for intelligent environment. Zero Waste Issue.
3) Testing technology to create a zero-waste ecosystem in both physical and online laboratories. The city information system on zero waste was tested 1,112 times, with the goal of developing a city development plan on zero waste. Incorporated into the plans of various agencies to create the participation of the agencies to occur.
4) evaluate the overall picture of every project. and the expansion of urban information systems to further develop the capacity for supporting each aspect of the smart city. The research result has been designed structure into 2 systems that work with each other, namely JVIS Platform and Scavenger Platform. Information systems for smart city development have been tested through Mobile User Application and Smart Recycle Bank. Results of 1,112 tests with Mobile User. Application found that the link can send information to the city information system designed. Therefore, the development of an information system model for the development of smart cities is therefore considered. Bringing the results of studies and data on the zero-waste management ecosystem to set a vision Plans and projects on waste management in Korat City.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น