ชื่อโครงการ
การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ด้วยนวัตกรรม และการสร้างสรรค์ชุมชนพึ่งพาตนเอง ด้วยจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาชุมชน/ ตำบล ประสานสู่แผนพัฒนาพื้นที่ในระดับจังหวัด One Planคำสำคัญ
แผนพัฒนาตำบล,เศรษฐกิจฐานราก,การประสานแผนพัฒนา,นวัตกรรมบทคัดย่อ
จังหวัดนครพนมเป็นหนึ่งใน 7 จังหวัด ที่มีมิติทั้งความยากจนเรื้อรัง (จังหวัดที่ติดลำดับ 1 ใน 10 จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงที่สุดต่อเนื่อง หลายปี) และความยากจนรุนแรง (จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงติดลำดับ 1 ใน 10 จังหวัดในปี 2560)ได้แก่ปัตตานี นราธิวาส แม่ฮ่องสอน กาฬสินธุ์ นครพนม ตาก และ บุรีรัมย์ (วรรณี วรรณชาติ, 2561) ปัจจุบันจังหวัดนครพนมมีผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั้งสิ้น 168,734 รายจากที่ลงทะเบียนทั้งสิ้น 225,223 ราย โดยคิดเป็นร้อยละ 33.64 ของประชากรที่อาศัยจริงในจังหวัดนครพนม (คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดนครพนม, 2562) ในแผนพัฒนาจังหวัดนครพนม พ.ศ. 2561-2564 (รอบปี 2562) (จังหวัดนครพนม, 2561) ได้สรุปปัญหาความยากจนในจังหวัดนครพนมนั้นมี 4 สาเหตุหลัก คือ
- ผลผลิตทางการเกษตรเฉลี่ยต่อไร่ค่อนข้างต่ำ เนื่องจาก ขาดการบำรุงดิน อย่างเหมาะสมหรือระบบชลประทานที่ยังไม่ทั่วถึงในหลายพื้นที่ ทำให้พื้นที่ขาดความอุดมสมบูรณ์
- ขาดอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อรองรับผลผลิตทางการเกษตร ทั้งในรูปแบบขนาดกลาง และขนาดเล็ก
- ปัญหาโครงสร้างหนี้ให้ เกษตรกรที่มีค่าใช้จ่ายด้านอุปโภค บริโภคในครัวเรือนครัวเรือนสูงถึงร้อยละ 56
- บริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรหรือระบบชลประทานในจังหวัดอย่างเป็นระบบ และทั่วถึง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มแรงจูงใจให้เกษตรกรเพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นหน่วยงานภาคภาครัฐในจังหวัดนครพนมได้พยายามในการขจัดปัญหาความยากจนด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ในส่วนของงบบูรณาการจังหวัดและแผนพัฒนาจังหวัดรอบ 5 ปี พ.ศ. 2561 – 2564 ด้วยการนำโมเดลไทยแลนด์ 4.0 มาปรับใช้เพื่อยกระดับรายได้ของประชาชน แม้ว่าหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดนครพนมจะดำเนินการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความยากจนมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังปรากฏปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานในด้านต่างๆ เช่น
- ปัญหาเชิงยุทธศาสตร์ในด้านเศรษฐกิจ เช่น แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดยังไม่ได้มาตรฐาน สำหรับการรองรับนักท่องเที่ยว ปัญหาการยกระดับมาตรฐานการแปรรูปสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน การตลาดสินค้าท้องถิ่นและการลงทุนในจังหวัดยังขยายตัวช้า ด้านสังคมและความมั่นคง เช่น ขาดแคลนแพทย์ ปัญหาด้านการศึกษา ตลอดจนเรื่องความมั่นคงชายแดน ยังเป็นอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาของจังหวัด
- ปัญหาด้าน การวางแผนพัฒนาจังหวัดที่มีการวางแผน ครอบคลุมมิติด้าน เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการ
แต่ในบางความต้องการของชุมชนในการพัฒนาอาชีพ หรือการแก้ปัญหา โดยเฉพาะในกลุ่มอาชีพ กลุ่มสัมมนาชีพ หรือเศรษฐกิจฐานรากที่ไม่ได้อยู่ในรายการพืชเศรษฐกิจสำคัญ หรือสินค้า และสินค้า OTOP สำคัญของจังหวัดมักจะไม่ถูกกล่าวถึง หรือส่งต่อความสำคัญไปยังแผนพัฒนาจังหวัด ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจฐานรากเหล่านั้นจะมีศักยภาพในการพัฒนาสูงก็ตาม ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดจากการขาดการเข้าถึงและส่งต่อศักยภาพชุมชน กลุ่มอาชีพ กลุ่มสัมมาชีพหรือเศรษฐกิจฐานราก มายังผู้จัดทำแผนในระดับนโยบาย ทั้งนี้ทางกลุ่มผู้วิจัยเล็งเห็นถึงปัญหา และความจำเป็นอย่างเร่งด่วนต่อการพัฒนาเพื่อขจัดปัญหาความยากจนเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน โดยพัฒนาศักยภาพคน กลุ่มอาชีพ กลุ่มสัมมาชีพ และเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนที่มีศักยภาพ ให้สามารถเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เท่าทัน จนสามารถสร้างกิจกรรมนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพตนเอง ให้สามารพัฒนาการผลิตสินค้าจากทรัพยกรณ์ในชุมชน และสามารถจัดการทรัพยากรณ์ชุมชนเพื่อการสร้างรายได้ร่วมกันได้ โดยอาศัยกลไกการพัฒนาความเข้มแข็งจากภายในของชุมชนด้วย ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) 4 ด้าน หรือ 4Cs ให้เป็นชุมชนที่มีความรู้ทักษะจำเป็นเพื่อศตวรรษที่ 21 จนนำไปสู่การประเมินศักยภาพของกิจกรรมนวัตกรรมของตนเอง แล้วจัดทำเป็นคำขอความต้องการในแผนพัฒนาชุมชน ให้เห็นภาพศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากและการจัดการทรัพยากรณ์ชุมชนที่จำเป็น ให้องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรงบประมาณมาพัฒนาต่อยอดให้ขยายวงกว้างต่อไป โดยนำเสนอแผนพัฒนาชุมชนไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาตำบล จนกระทั่งแผนพัฒนาจังหวัดต่อไป เพื่อให้เป็นการนำเสนอความต้องการจากล่างสู่บน ที่มาจากความต้องการและสภาพปัญหาของชุมชนอย่างแท้จริง ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด คณะผู้วิจัยจึงได้เสนอแผนงานวิจัย การพัฒนาภายใต้ชุดโครงการ “การพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ด้วยนวัตกรรม และการสร้างสรรค์ชุมชนพึ่งพาตนเอง ด้วยจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ประสานสู่แผนพัฒนาพื้นที่ในระดับตำบลและจังหวัด One Plan” ด้วยแนวคิดจากระเบียบกระทรวงมหาดไทย “ว่าด้วยการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ในระดับอำเภอและตำบล 2562” ในพื้นที่เป้าหมาย 10 ตำบล 10 ชุมชน มีทุนการทำงานเดิมในการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม พื้นที่และชุมชนท้องถิ่น และ/หรือ นโยบายในการขับเคลื่อนการทำงานของคณะนักวิจัยมาแล้ว และเป็นพื้นที่มีต้นทุนเศรษฐกิจฐานรากที่มีศักยภาพแต่ยังไม่ได้รับการผลักดันไปสู่แผนพัฒนาจังหวัดเพื่อต่อยอด
โดย สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มย่อย
- กลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพ
- กลุ่มพัฒนานวัตกรรการประมง
- จัดการทรัพยากร์น้ำจากชลประทานร่วมกัน
- กลุ่มพัฒนามาตรฐานและศักยภาพสินค้าที่มีศักยภาพ ที่มาจากทรัพยากรชุมชน
Title
Local Economy development by innovation and Creating a self-reliant community with One PlanKeywords
Local economy,innovation,one planAbstract
–