การพัฒนาชุมชนนวัตกรรมการยกระดับสิทธิชุมชนสู่การสร้างเศรษฐกิจสีเขียว

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 30 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630056
นักวิจัย นายเดโช ไชยทัพ
หน่วยงาน มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคเหนือ
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 20: ชุมชนนวัตกรรม
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย เชียงใหม่

ชื่อโครงการ

การพัฒนาชุมชนนวัตกรรมการยกระดับสิทธิชุมชนสู่การสร้างเศรษฐกิจสีเขียว

คำสำคัญ

ชุมชนนวัตกรรม,สิทธิชุมชน,เศรษฐกิจสีเขียว

บทคัดย่อ

การวิจัยโครงการพัฒนาชุมชนนวัตกรรมการยกระดับสิทธิชุมชนสู่การสร้างเศรษฐกิจสีเขียวมุ่งเน้นศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาแนวทางการสร้างชุมชนนวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่อันหลากหลายและสอดคล้องกับต้นทุนเฉพาะของแต่ละพื้นที่ รวมถึงการสร้างพื้นที่การเรียนรู้และการปรับตัวของคนในชุมชนได้เข้าใจและตระหนักถึงศักยภาพในการกำหนดอนาคตชุมชนด้วยฐานองค์ความรู้ของตนเอง ภายใต้การแก้ไขปัญหาด้านสิทธิชุมชน ปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โอกาสในการยกระดับคุณภาพชีวิต ความเหลื่อมล้ำและความเป็นธรรมทางสังคม สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมโลก เพื่อเป็นรูปธรรมหนึ่งในการมุ่งไปสู่เป้าหมายการผลักดันชุมชนนวัตกรรมของประเทศและการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับสากล (SDGs)

ผลจากการวิจัยพบว่า

  1.  การยกระดับสิทธิชุมชนภายใต้บริบทใหม่ของการจัดการทรัพยากร ไม่สามารถดำเนินการได้โดยชุมชนหรือรัฐเพียงฝ่ายเดียว แต่จำเป็นต้องมีกระบวนการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ ซึ่งการออกแบบระบบการจัดการร่วมและสร้างความร่วมมือระหว่างผู้คนที่หลากหลาย จะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาสิทธิและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมในปัจจุบัน
  2. การสร้างชุมชนนวัตกรรมภายใต้แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวต้องมีการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ในเรื่องสิทธิไปพร้อมๆ กับการเชื่อมโยงต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนี้ การผสมผสานความรู้จากภายนอกกับความรู้พื้นบ้านจะทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนได้หลากหลายรูปแบบ
  3.  กฎหมายและนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรในปัจจุบัน ได้เปิดพื้นที่ให้กับชุมชนมีช่องทางในการเข้าถึงและใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ศักยภาพของชุมชนในการเชื่อมโยงสิทธิกับเศรษฐกิจสีเขียวให้ตอบโจทย์ความยั่งยืนได้นั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงการจัดการร่วมภายใต้กระบวนทัศน์แบบพหุนิยมทางกฎหมาย ทั้งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน และการประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ และในประเด็นการจัดทำแผน ข้อเสนอ และกลไกการติดตามร่วมกันในระดับต่างๆ คำสำคัญ ชุมชนนวัตกรรม, สิทธิชุมชน, เศรษฐกิจสีเขียว Innovative Community, Community Rights, Green Economy

Title

Community Development for Enhance Community Rights to Building Green Economy

Keywords

Innovative Community,Community Rights,Greeneconomy

Abstract

A research of the innovative community development project: enhancing community rights to build a green economy emphasizes to study, analyze and develop a guideline for creating innovative community that is suitable for diverse area context and in accordance with the specific capital of each area, as well as creates a learning and adaptive platform for community member to understand and realize its potential. This is to define the future of the community with its own knowledge base, under the situation of resolution of community rights and natural resource management problems, an opportunity to improve quality of life, including to inequality, social justice and global environmental situation. This is for creating a concrete example aimed to archive the goal of enhancing the innovative communities of the country and the Sustainable Development Goals (SDGs) at the international level as well.

The results of the research find that:

  1. the enhancement of community rights under the new context of resource management cannot be operated by the community or the state by itself. It needs the supporting process of diverse sectors. Therefore, the designing of a co-management system as well as creating cooperation among diverse sectors will be an important condition for the development of rights and sustainable resource utilization under the changing economic and social situation at present.
  2. the creation of an innovative community for building an green economy needs to build a learning platform which connect the community rights to the local wisdom. Moreover, the combination of external knowledge and folk knowledge will develop many forms of the community economy.
  3. current laws and policies on resource management have opened a space for communities to have access to and use natural resources legally. However, to develop the potential of the community in connecting rights with the green economy to meet sustainability needs, it is necessary to consider the co-management under the legal pluralistic paradigm on the issues of conflict management, community strengthening and collaborating with diverse sectors, as well as on the preparation of plans, proposals and mutual monitoring mechanisms at various levels. Key Word Innovative Community, Community Rights, Green Economy.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น