การพัฒนาศักยภาพเมืองร้อยเอ็ดบนฐานเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคอย่างยั่งยืน

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 27 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F640031
นักวิจัย อาจารย์ ดร. ขวัญชนก อำภา
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
ทุนวิจัย
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 30 เมษายน 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ร้อยเอ็ด

ชื่อโครงการ

การพัฒนาศักยภาพเมืองร้อยเอ็ดบนฐานเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคอย่างยั่งยืน

คำสำคัญ

ความมั่นคงทางอาหาร,เศรษฐกิจสีเขียว,ยั่งยืน

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยการพัฒนาศักยภาพเมืองร้อยเอ็ดบนฐานเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อการพัฒนาศักยภาพเมืองร้อยเอ็ดบนฐานเศรษฐกิจสีเขียวเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมชานเมือง เพื่อรองรับการพัฒนาเมืองบนฐานเศรษฐกิจสีเขียวในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มศักยภาพการปลูกผักแบบปลอดสารพิษที่มีมาตรฐานและคุณค่าทางโภชนาการ ในพื้นที่เกษตรกรรมเขตชานเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด และเพื่อยกระดับห่วงโซ่อุปทานเพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจการเกษตรสีเขียว โดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จากผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ซึ่งมีความเหมาะสมในการอนุรักษ์และสงวนพื้นที่ไว้เพื่อการเกษตรกรรมชานเมือง เพื่อประโยชน์แก่ความมั่นคงทางอาหารของคนเมืองร้อยเอ็ด ได้แก่ บริเวณตำบลดงลาน ตำบลรอบเมืองและตำบลนิเวศน์ แต่ปัญหาและอุปสรรคในการอนุรักษ์พื้นที่ดังกล่าวคือประชาชนรุ่นลูกหลานไม่ให้ความสนใจในอาชีพเกษตรกรรม และมีการขายพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อส่งต่อไปยังผู้ประกอบการบ้านจัดสรร หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ จึงควรมีมาตรการทางผังเมืองเพื่อควบคุมเชิงพื้นที่ ที่ต้องอนุรักษ์และพัฒนาให้คู่ขนานกันไป โดยอาศัยการระดมความคิดและความร่วมมือของหน่วยงานทุกภาคส่วนมากำหนดนโยบายร่วมกัน นอกจากนี้กลุ่มเกษตรกรที่เข้ามาร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) ของเกษตรกรในเขตชานเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อการทำการเกษตรปลอดภัย/ปลอดสารพิษเพื่อการขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มศักยภาพการปลูกผักแบบปลอดสารพิษที่มีมาตรฐาน โดยมีการตรวจแปลงและจัดประชุมกลุ่มเพื่อสามารถสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างเกษตรกร นักวิจัย ชุมชน ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้บริโภค สร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยและผู้บริโภคในจังหวัดร้อยเอ็ดร่วมกันออกแบบปฏิทินการปลูกพืชและพัฒนาวิธีการเขตกรรมเพื่อลดการเข้าทำลายโรคและแมลงศัตรูพืช เก็บตัวอย่างพืชผักเพื่อส่งตรวจสอบคุณภาพผลผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานเกษตรปลอดภัย สร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยและผู้บริโภคในจังหวัดร้อยเอ็ด ทำให้สมาชิกในกลุ่มผู้ปลูกผักปลอดภัยได้รับการรับรองมาตรฐานผักปลอดภัย และรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย (สัญลักษณ์ Q) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) จากกรมวิชาการเกษตร เกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP มีจำนวน 16 ราย ปลูกผักจากเดิมจำนวน 6-8 ชนิด เพิ่มเป็น 28 ชนิด มีการประชาสัมพันธ์พื้นที่ปลูกผักของกลุ่มเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึงแหล่งปลูกผักปลอดภัยของจังหวัดร้อยเอ็ด และร่วมกันจัดทำแผนผัง แผนที่ปลูกผักของสมาชิกในกลุ่ม เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดร้อยเอ็ด นอกจากนี้จากผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเปิดตลาดขายผักปลอดภัยของเกษตรกรทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการตลาด ด้านเทคนิค ด้านการจัดการ และด้านการเงิน ตลอดจนการให้ข้อเสนอแนะของหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในจังหวัดร้อยเอ็ด ชุมชนที่ปลูกผักปลอดภัย ในเขตชานเมือง พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดได้และดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง มีการจัดตั้งตลาดนัดชุมชนของเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นแห่งแรก โดยชื่อว่า “ตลาดสุขภาพดี๊ดีจังหวัดร้อยเอ็ด” ซึ่งเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการมีช่องทางการจัดจำหน่ายผักปลอดภัยในเขตพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดเพิ่มขึ้น และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถสร้างรายได้ ลดต้นทุนในการผลิตหรือพัฒนาชุมชน สังคม หรือพัฒนาไปสู่เชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรมได้ สามารถทำแพลตฟอร์มในการเปิดตลาดแบบออนไลน์ให้เกิดการยกระดับห่วงโซ่ทางเศรษฐกิจบนฐานเศรษฐกิจการเกษตรสีเขียว โดยมีเครือข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนของจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อโครงการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว เกษตรกรผู้สนใจสามารถนำไปต่อยอดการพัฒนาในระดับชุมชน และเพื่อให้ได้ผลผลิตทางเกษตรกรรมรองรับเมืองเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน

Title

Roi Et City's potential development on green economy to promote food security and sustainable consumption

Keywords

Food security,Green Economy,Sustainable

Abstract

This research project is a study to find a way to conserve and develop suburban agricultural areas to support urban development based on a green economy in Roi Et Province. The objectives of this study were to economic cities to develop the potential of Roi Et on the green economy base to promote food security and sustainable consumption. To analyze the development of suburban agricultural areas and support urban development based on green economy in Roi Et province. To drive technology and agricultural innovation to increase the potential of growing non-toxic vegetables that are standard and nutritious in agricultural areas on the outskirts of Roi Et Province and to enhance the supply chain to strengthen the green agricultural economy by participating in all sectors in Roi Et Province From the results of the study, it was found that the area was suitable for conservation and conserving the area for suburban agriculture. For the benefit of the food security of Roi Et people, namely the area of Dong Lan Subdistrict Sub-districts around the city and Sub-districts Niwet But the problem and obstacle in preserving the area is that the people of the descendants are not interested in the occupation of agriculture and selling agricultural land to pass on to housing operators or other buildings. Therefore, there should be measures in urban planning to control the area that must be conserved and developed in parallel By relying on brainstorming and cooperation of agencies from all sectors to set policies together. In addition, a group of farmers who participated in a participatory workshop (Participatory Action Research: PAR) which farmers in the outskirts of Roi Et province For safe / non-toxic farming, to drive technology and agricultural innovation to increase the potential of growing non-toxic vegetables with standards. Plots are inspected and group meetings are organized to create mutual understanding among farmers, researchers, communities, representatives from relevant agencies and consumers. Create a network of safe vegetable growers and consumers in Roi Et province to design a planting calendar plants and developing cultural practices to reduce the infestation of diseases and insect pests Collecting vegetable samples to send for inspection of the quality of produce to meet the standards of safe agriculture and create a network of safe vegetable growers and consumers in Roi Et province. Makes members of the group of safe vegetable growers receive the certification of safe vegetable standards and certified standards for safe agricultural products (symbol Q) and good agricultural practices (GAP) from the Department of Agriculture. There are 16 GAP certified farmers growing vegetables from 6-8 types to 28 types. The groups vegetable growing areas are publicized to let consumers know about safe vegetable growing areas in Roi Et province and jointly draw up a plan Map of group members growing vegetables to be a source of learning and agricultural tourism in Roi Et province. In addition, from the results of the feasibility study of the open market for safe vegetable sales of farmers in 4 aspects, namely marketing, technical, management and finance as well as giving recommendations to related agencies and network partners in Roi Et province Community that grows vegetables safely in the suburbs area in Roi Et province and operate regularly and continuously A community market for farmers who grow safe vegetables in Roi Et Province was established for the first time, named “Good Health Market in Roi Et Province”, where farmers who participated in the project had more distribution channels for safe vegetables in Roi Et Province. and farmers participating in the project can generate income Reduce production costs or develop communities, societies, or develop into commercial or industrial areas. It can make a platform to open an online market to raise the economic chain based on the green agricultural economy with a network of working with government agencies and the private sector of Roi Et province When the research project is completed Interested farmers can apply for further development at the community level and will be get agricultural products to support the sustainable green economy city.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น