การพัฒนาเมืองและชุมชนสู่ความยั่งยืนบนฐานเศรษฐกิจสีเขียว “เชียงรายเมืองเกษตรสีเขียว อาหารปลอดภัย”

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 42 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F640033
นักวิจัย นายธนากร สร้อยสุวรรณ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 30 เมษายน 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย เชียงราย

ชื่อโครงการ

การพัฒนาเมืองและชุมชนสู่ความยั่งยืนบนฐานเศรษฐกิจสีเขียว “เชียงรายเมืองเกษตรสีเขียว อาหารปลอดภัย”

คำสำคัญ

เศรษฐกิจสีเขียว,เชียงราย,เมืองเกษตรสีเขียว,อาหารปลอดภัย,โมเดลธุรกิจสำหรับเมือง

บทคัดย่อ

วิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณผสมผสานกันรวมถึงการบูรณาการการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายการพัฒนาเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่ง อาหารที่ปลอดภัยและส่งเสริมการทาเกษตรในเมือง (Micro Urban Farming) สร้างกลไกและกระบวนการความร่วมมือในการขับเคลื่อนนโยบาย “เชียงรายเมืองเกษตรสีเขียว อาหารปลอดภัย” และสร้างต้นแบบ Urban Business Model สำหรับสินค้าเกษตรปลอดภัย โดยทำการเก็บตัวอย่างเลือดของเกษตรกรและผู้บริโภค เพื่อตรวจหาเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase) ในน้ำเหลือง (Plasma) เก็บตัวอย่างพืชผัก ดิน และ น้ำ ในพื้นที่การทำเกษตรปลอดภัย เพื่อนำมาตรวจสอบหาสารตกค้าง โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ชั้นสูง Gas Chromatography (GC) เทียบกับสารมาตรฐาน (Standards) และวิเคราะห์หาสารตกค้างโดยวิธีวิเคราะห์อย่างง่าย (Test Kit) สำหรับตรวจสอบเบื้องต้นในพื้นที่เพาะปลูก และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและ แบบสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายได้แก่ 1. เกษตรกรในเขตเทศบาลนครเชียงราย จำนวน 60 คน 2. ผู้บริโภคในอำเภอ เมืองเชียงราย จำนวน 500 คน (สำหรับแบบสอบถาม) และ3. ผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครเชียงราย จำนวน 50 คน (สำหรับเข้าร่วมกิจกรรม) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการเก็บตัวอย่าง เลือด ดิน น้ำ ผลผลิตและ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าร้อยละ (Percentage) และหาค่าเฉลี่ย โดยใช้เกณฑ์ในการแปลความหมายค่าเฉลี่ยแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ แบบ (Rating Scale) ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า1) มีพื้นที่ 2 แห่งในการส่งเสริมการทาเกษตรในเมือง (Micro Urban Farming) ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ดอยสะเก็นและแปลงผักปันสุข (โรงเรียนเทศบาล 8 บ้านใหม่) เพื่อให้คนในชุมชนและคนใน โรงเรียนได้บริโภคผักที่ปลอดภัย 2) กลไกและกระบวนการความร่วมมือในการขับเคลื่อนนโยบาย เช่น การแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ระดับจังหวัดเชียงความร่วมมือ (MOU) เมืองอาหารปลอดภัย ระหว่าง เทศบาลนครเชียงรายกับองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงและ โครงการส่งเสริมการทาเกษตรปลอดภัยทั้งระดับชุมชน เมือง จังหวัด 3)ต้นแบบ Business Model การผลิตสินค้า เกษตรปลอดภัย ชุมชนดอยสะเก็น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายคือ คนในชุมชน คนภายนอก พ่อค้าคนกลาง และเพื่อนบ้าน ช่องทางการตลาดขายหน้าบ้าน ตลาดสด รายได้เฉลี่ยของเกษตรประมาณเดือนละ 5,000 บาท ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. นโยบายการส่งเสริมให้นำผลผลิตที่ได้จากการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยของ กลุ่มเกษตรไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารกลางวันให้แก่โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครเชียงราย 2. การสร้าง ความมั่นคงทางอาหารจากการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ด้วยการปลูกเองบริโภคเองและเหลือนำไปจำหน่าย ใน ด้านกลยุทธ์ที่พร้อมนาไปสู่การยกระดับงานวิจัย คือการพัฒนาโครงการกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกและการ คำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้ (Carbon Credit) จากการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย

Title

Urban and community development for sustainability on green economy " Chiang Rai green agricultural urban food safe "

Keywords

Green economy,Chiang Rai,Green agricultural urban,food safe,Urban Business Model

Abstract

This research is research and development using a combination of qualitative and quantitative research and integration of urban development network partners. Its objectives are to increase opportunities for access to safe food sources and to promote Micro Urban Farming, create mechanisms and processes for policy-driven cooperation. “Chiang Rai, a green agricultural city food safety” and create a prototype Urban Business Model for safe agricultural products by collecting blood samples from farmers and consumers to detect cholinesterase enzyme (Cholinesterase) in the lymph (Plasma). Collect samples of vegetables, soil and water in safe farming areas. to be inspected for residues Using advanced analytical instruments, Gas Chromatography (GC) compared to Standards and analyzed for residues by a simple analytical method ( Test Kit) for preliminary examination in farmland. and collecting data using questionnaires and interviews. The target groups are: 1. Farmers in Chiang Rai Municipality, amounting to 60 people, 2. Consumers in Mueang Chiang Rai District, 500 people (for questionnaires), and 3. Consumers in Chiang Rai Municipality, 50 people (for participating in activities). Data were analyzed from blood, soil, water, product and questionnaires. Data were analyzed by using statistics to find percentage (Percentage) and find the mean. by using the criteria to interpret the mean on a 4-level estimation scale (Rating Scale). The results of this research found that 1) 2 areas were obtained to promote Micro Urban Farming, namely Doi Saken Learning Center and Pansuk Vegetable Plot. (Baan Mai Municipality 8 School) Vegetable growing area so that people in the community and school people can eat vegetables that are safe; Chiang Rai province level Memorandum of Cooperation (MOU) for safe food cities between Chiang Rai City Municipality and 8 local administrative organizations and a project to promote safe farming at community, city, provincial levels. 3) Business Model for safe agricultural product production. Doi Saken Community Target customers are people in the community, outsiders, middlemen and neighbors. Ways to approach customers to sell in front of the house Sold through the fresh market, the average income of agriculture is about 5,000 baht per month. Policy Recommendations 1 . Policy to promote the use of produce from the production of safe agricultural products by agricultural groups as raw materials for the production of lunches for schools under Chiang Rai Municipality. produce safe agricultural products by growing them for their own consumption and the rest to sell in terms of strategies that are ready to lead to the upgrading of research It is the development of greenhouse gas reduction activities and the calculation of the amount of greenhouse gases that can be reduced or stored (Carbon Credit) from the production of safe agricultural products.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น