ชื่อโครงการ
การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบชุมชนริมคลองฝั่งธนบุรีด้วยเครือข่ายคลังสมองของพื้นที่และแผนผังภูมินิเวศเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืนคำสำคัญ
เครือข่ายคลังสมองของพื้นที่,แผนผังภูมินิเวศ,เศรษฐกิจสีเขียว,ชุมชนริมคลองฝั่งธนบุรีบทคัดย่อ
โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบชุมชนริมคลองฝั่งธนบุรีด้วยเครือข่ายคลังสมองของพื้นที่และแผนผังภูมินิเวศเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนริมคลองฝั่งธนบุรีและคลัสเตอร์เศรษฐกิจบนแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว ร่วมกับชุมชนเป้าหมาย 4 แห่งในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ชุมชนพูนบำเพ็ญ (เขตภาษีเจริญ) ชุมชนตลาดพลู (เขตธนบุรี) ชุมชนคลองบางประทุน (เขตจอมทอง) และชุมชนคลองบางมด (เขตทุ่งครุ-บางขุนเทียน) รวมถึงพื้นที่ชุมชนและคลองที่เชื่อมโยงกัน โดยมีกระบวนการและผลวิจัยสำคัญ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนากลไกเครือข่ายและเครื่องมือยุทธศาสตร์ 2) การพัฒนาพื้นที่ต้นแบบและพื้นที่กลางเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และ 3) การประสานแผนผังการพัฒนากับนโยบายและโอกาสในการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและขยายผล โดยตลอดกระบวนการวิจัย ได้ดำเนินงานร่วมกับชุมชนต้นแบบ และกรุงเทพมหานคร (ทั้งสำนักงานเขตและส่วนกลาง) และภาคีที่เกี่ยวข้อง โครงการฯ ได้ร่วมกับเครือข่ายคลังสมองของพื้นที่ในการค้นหารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวบนฐานภูมินิเวศต้นทุนและความต้องการของชุมชน พร้อมกับดำเนินการลดช่องว่างที่ก่อให้เกิดความไม่ยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทาน ทั้งในเชิงการพัฒนาสินค้าและบริการ และการพัฒนาการตลาดและการขนส่ง และทำการเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อให้การดำเนินงานขับเคลื่อนมีความต่อเนื่อง ซึ่งผลวิเคราะห์และบทเรียนจากปฏิบัติการชี้ให้เห็นว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวนำมาซึ่งผลลัพธ์ต่าง ๆ ได้แก่ การมีเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกชุมชนที่เพิ่มขึ้น พื้นที่และปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรและเส้นทางบริการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น มาตรฐานการผลิตและการให้บริการที่ดีขึ้น รายจ่ายของครัวเรือนลดลงและงานและรายได้ของคนในชุมชนมากขึ้น ช่องทางการตลาดของชุมชนที่เพิ่มขึ้น ระบบการจัดการสินค้าและขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเป็นการสร้างต้นแบบการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดผลกระทบที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ความยั่งยืนของผลลัพธ์ดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนระบบนิเวศที่สอดคล้องกัน ซึ่งคณะผู้วิจัยได้แบ่งข้อเสนอเชิงนโยบายเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการพัฒนาเชิงพื้นที่ อาทิ การฟื้นฟูคุณภาพน้ำและการอนุรักษ์ภูมินิเวศเชิงทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เป็นต้นทุนสำคัญของเศรษฐกิจสีเขียวของชุมชนให้ยั่งยืน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุน เช่น การสัญจรทางเลือกเชื่อมต่อระบบล้อ ราง คลอง จักรยาน และเส้นทางท่องเที่ยววิถีคลอง เป็นต้น และข้อเสนอต่อระบบนิเวศสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวชุมชนริมคลองฝั่งธนบุรี ซึ่งประกอบด้วยระบบนิเวศสนับสนุนด้านนโยบาย ทุน การเสริมสร้างศักยภาพทักษะความรู้ และเครือข่ายความร่วมมือ การสนับสนุนที่จำเป็นเหล่านี้จะทำให้เศรษฐกิจสีเขียวชุมชนเกิดความยั่งยืน และหากชุมชนสามารถมีรายได้ที่เหมาะสมและเพียงพอจากเศรษฐกิจสีเขียวบนฐานนิเวศต้นทุนทรัพยากรที่มีอยู่ จะเกิดแรงจูงใจในการรักษาพื้นที่ และลดความเสี่ยงในการสูญเสียคุณค่าบนสถานการณ์ความเสี่ยงที่กำลังคุกคามเข้ามา นอกจากนั้น ยังสร้างคุณค่าในเชิงคุณภาพชีวิต การรักษาวิถีวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบต่อดิน น้ำ อากาศ ซึ่งสร้างความยั่งยืนให้กับทั้งชุมชนสิ่งแวดล้อมโดยรอบ และเมืองในภาพรวม
Title
Development of Thonburi Pilot Canal Communities through Local Think Tank Networking and Ecological Spatial Planning for Sustainable Green Local EconomyKeywords
local think tank network,ecological spatial plan,green economy,Thonburi canal communitiesAbstract
Abstract ‘Development of Thonburi Pilot Canal Communities through Local Think Tank Networking and Ecological Spatial Planning for Sustainable Green Local Economy’ is an action reserch project aims to develop green economy for Thonburi canal communities and economic cluster with four targeted communities in Bangkok, namely Punbampen (Pasicharoun District) Talad Plu (Thonburi District), Klong Bang Pratun (Jomthong District) and Klong Bangmod (Thung Kru-Bang Khuntian District) as well as communities connected through canal networks. The Project has three reserch processes, including: 1) Development of networks (local think tank) and plans (ecological spatial plans) as strategic tools to develop local green economy 2) Development of pilot sites and platforms for supply chain management and 3) Coodinating the communities’ green economy plans and actions with local government policies and investment opportunties. Throughout these processes, the Project had worked closely with the pilot communiteis and Bangkok Metropolitan Administration (both with districts and divisions) and concerned stakeholders. The Project in cooperation with local think tanks identified appropriate green economy appraches based on local ecological assets and needs. It at the same time tried to diminish gaps that lead to unsustainable supply chains both in terms of local goods production and service providing as well as marketing and logistic management. The Project aslo linked the local initiatives with potential supporting networks to sustain the implementation. The analysis and lessons learnt from the project actions illustrated that driving green economy for canal communities had led to positive outputs and outcomes. These include e.g., enhance cooperation networks both within the communities and with other stakeholders, increase agricutural areas and varieties of sightseeing routes, enhance standards of local agricultural production and service providing, decrease households expenses and increase jobs and income, increase marketing channels for local goods and services, enhance efficiency in logistic management and demonstrate business activities with least impacts possible to the society and environment. However, the sustainability of the above outcomes would need aligned supporting ecology in which the Project divided into two major policy recommendations. The first is the policy recommendations for spatial planning e.g., rehabilitation of water quality and conservation of natural resources and cultural diversities which are the key local assests for green economy and development of supporting facilities such as alternative travel routes linking road, rail, bike and canal networks and tourism routes on canal communities livelihoods. The second is policy recommendations for supporting ecology for canal communties’ green economy devleopmnet which include supporting ecology in terms of policies, fundings, capacity buildings and cooperation networks. These needed supports would make the local green economy sustained. And if the canal communities are able to have enough income from the green economy based on their local assests, they would have motivations in protecting their lands and communties and hence this would reduce risks of lossing important local values under the circumstance of increaseing land use change. In addition, local green economy also help enhancing quality of life, conserving local culture and enviornment, decreasing impacts to earth, water, and air and therefore bring sustainability to the communities, surrounding environment and the urban areas as a whole.