ชื่อโครงการ
แนวทางการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่พัฒนารอบสถานีขนส่งมวลชน เพื่อเป็นเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ กรณีศึกษาสถานีศาลายาคำสำคัญ
เศรษฐกิจท้องถิ่น,การเติบโตเมือง,การร่วมลงทุน,การพัฒนาพื้นที่รอบสถานี,ศาลายาบทคัดย่อ
เนื่องจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบขนส่งทางรางที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้เส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนส่วนต่อขยาย เส้นทางตลิ่งชัน-ศาลายา จะเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากต่อรูปแบบการเดินทางและรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้คนในพื้นที่เมืองศาลายา ที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ทั้งเชิงกายภาพและการพัฒนาเชิงพาณิชยกรรมที่ต่อเนื่องกับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางเช่น ห้างค้าปลีก สำนักงาน และที่อยู่อาศัยหนาแน่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้เดินทางและผู้ประกอบการต่างๆ ที่จะได้ประโยชน์ร่วมกับการเกิดขึ้นของโครงการรถไฟฟ้า ดังนั้นการศึกษาแนวทางการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพตามแนวคิด Transit Oriented Development (TOD) เช่น เส้นทางการเดินทางสัญจร ผนวกกับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการเดินทางและการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมเชิงพาณิชย์เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาเมืองและมีบทบาทอย่างมากต่อในการขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาเมืองโดยมีสถานีขนส่งสาธารณะเป็นศูนย์กลาง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพของพื้นที่สถานีรถไฟศาลายาให้สอดรับกับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งการศึกษากลไกการปรับตัวของเศรษฐกิจท้องถิ่นให้สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับการพัฒนkเมืองอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญและเป็นหนึ่งในนโยบายของภาครัฐ การพัฒนาพื้นที่เมืองโดยรอบสถานีขนส่งสาธารณะเป็นการพัฒนาขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับหลากหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน โดยในส่วนของภาคเอกชนสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มธุรกิจที่ขับเคลื่อนเมืองในปัจจุบันและกลุ่มเอกชนที่สนใจเข้ามาลงทุนในอนาคต ซึ่งหากจะศึกษาแนวทางการร่วมทุนระหว่างสองกลุ่มนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดในเชิงการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่และเชิงของการร่วมทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ทุกภาคส่วนได้ประโยชน์ร่วมกัน จึงจำเป็นต้องมีการศึกษากลไกการปรับตัวของเศรษฐกิจท้องถิ่นเพื่อนำข้อมูลและแนวทางการดำเนินการที่ทุกฝ่ายพึงพอใจไปผลักดันการสนับสนุนแนวทางร่วมทุนในการพัฒนาพื้นที่เมืองโดยรอบสถานีรถไฟศาลายาต่อไป แนวคิดในงานวิจัยนี้ จึงเน้นแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงกายภาพควบคู่ไปกับการสร้างกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นในพื้นที่เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและลดความเหลื่อมล้ำ โดยจะเชื่อมโยงความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้ได้ประโยชน์จากการวิจัยในครั้งนี้ ให้มีความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและผสมผสานการปรับตัวของธุรกิจภายในชุมชนต่อแหล่งทุนภายนอก นำไปสู่แผนการปรับตัวทางด้านธุรกิจเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการโดยรอบสถานีขนส่งมวลชน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวทางการการปรับตัวของธุรกิจท้องถิ่นที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบริบททางเศรษฐกิจพื้นที่ตำบลศาลายา โดยกระบวนการสร้างความต้องการในการปรับตัวของเศรษฐกิจท้องถิ่นและกระบวนการประเมินความเป็นไปได้ของแนวทางการปรับตัว เพื่อบูรณาการการพัฒนาร่วมกับแบบแผนการร่วมทุนกับทางกลุ่มทุนภายนอก เพื่อวิเคราะห์กลไกการปรับตัวของเศรษฐกิจ และระบุขอบเขตศักยภาพในการร่วมกันพิจารณาในการกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟศาลายา
Title
Investment Options in Transit-Oriented Development Project to be a Smart and Livable City: Case Study of Salaya Station.Keywords
Local Economic,Urban Development,Investment,Railway Station,TOD-development,Salaya StationAbstract
Due to the development of rail transportation infrastructure that is taking place in the near future, the extension of the Light Red Line Project Taling Chan – Salaya route. It will have a great influence on people traveling style and lifestyle in Salaya area. It will stimulate the development of both physical and commercial areas that should be hand in hand with the development of rail transport systems such as retail stores, offices and high-density housing. This will benefit both travelers, and local entrepreneurs that will benefit in conjunction with the emergence of the light red railway project. Therefore, this research studied investment guidelines for the development of physical infrastructure according to the concept of Transit Oriented Development (TOD), such as travel routes. Together with the use of information technology to help travelers and provide information to stimulate local economy. Stimulating commercial activities is a cornerstone of urban development and plays an important role in driving urban development with a public transport hub. Development of the physical infrastructure of the Salaya Railway Station area to be in line with the upcoming developments including the study of the adaptation mechanism of the local economy to be able to adapt to sustainable urban development is important for supporting the TOD area. The development of urban areas surrounding public transport stations is a large-scale development involving a wide range of sectors, both public and private. With these consequences, the TOD planning needs a strong collaboration between public and private sector. Private sector in such development including the local businesses that driving the local economic and the newcomer that come upon the new opportunities of investments. Therefore, the future development that would benefits to all stakeholders in the area and prospect for joint-venture development for driving local economic. This such development model needs a study of mechanism of local economic adaptation to achieve the sustainable socioeconomic development in TOD area. This research emphasizes the development of physical infrastructural as well as local economic participatory in Salaya TOD area to help stimulate the basic economy and reduce inequality gap between local businesses and new investors. This study engaged with various stakeholders and beneficiaries in the area to encourage local businesses to be ready for future urban socioeconomic changes and to make a guidance for bottom-up participation TOD development which would prevent the problems from urban gentrification and achieve the self-sustain urban development using the development participatory processes for urban planning among local business, municipality, public transport operator, and investors.