นวัตกรรมพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและหนุนเสริมผู้ประกอบการชุมชนในเขต พื้นที่ลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง และลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง จังหวัดสงขลา

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 21 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630040
นักวิจัย นายอภิรักษ์ สงรักษ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 20: ชุมชนนวัตกรรม
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ตรัง, สงขลา

ชื่อโครงการ

นวัตกรรมพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและหนุนเสริมผู้ประกอบการชุมชนในเขต พื้นที่ลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง และลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ

นวัตกรรมพัฒนาพื้นที่,เศรษฐกิจฐานราก,ผู้ประกอบการชุมชน,ลุ่มน้ำปะเหลียน, จังหวัดตรัง,ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง, จังหวัดสงขลา

บทคัดย่อ

แผนงานวิจัยการพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและหนุนเสริมผู้ประกอบการชุมชนในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง และลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการยกระดับชุมชนสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้ และการสร้างพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยนวัตกรรมชุมชนเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยพัฒนาพื้นที่ ให้ความสำคัญต่อกระบวนการมีส่วนร่วม ตั้งแต่นักวิจัย ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ชุมชน ท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสนับสนุนแผนงานชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่การบริหารจัดการส่วนต้นน้ำ (Upstream) ประกอบด้วยกลไกการพัฒนากรอบ การวิจัยการพัฒนาโครงการวิจัยที่มีคุณภาพ การจัดทำสัญญาทุนและเปิดบัญชีธนาคาร การออกระเบียบการเงินและบัญชี และการสร้างกลไกความร่วมมือกับภาคีในพื้นที่ การบริหารจัดการส่วนกลางน้ำ (Midstream) ประกอบด้วยการอำนวยความสะดวกให้กับนักวิจัย การพัฒนาเสริมทักษะให้กับนักวิจัย การประเมินติดตามรายงานผลการวิจัย ซึ่งได้กำหนดรูปแบบการติดตามรายงานความก้าวหน้า และกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีชุมชน/นวัตกรรมชุมชนและการพัฒนาความสามารถให้กับนวัตกรชุมชน การให้บริหารช่วยเหลือนักวิจัยตลอดกระบวนการวิจัยผ่านคลินิกให้คำปรึกษา พื้นที่การทำงานร่วมกัน และ การบริหารจัดการส่วนปลายน้ำ (Downstream) ประกอบด้วย การตรวจสอบคุณภาพผลงาน การสร้างการยอมรับของผลผลิตงานวิจัย การสร้างคุณค่าของบทความวิจัยในการตีพิมพ์เผยแพร่ การจดทรัพย์สินทางปัญญา การแสดงผลงานวิจัยต่อเวทีสาธารณะ การประกวดแข่งขัน การจัดกิจกรรมเพื่อการเสนอผลงานและส่งมอบผลงานวิจัยให้กับผู้ใช้ประโยชน์ และการสร้างกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ผลการดำเนินงานของแผนงานวิจัยชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการดำเนินโครงการวิจัยในพื้นที่ชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและหนุนเสริมผู้ประกอบการ ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ ปะเหลียน จังหวัดตรัง จำนวน 14 ตำบล และในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนล่าง จังหวัดสงขลา จำนวน 16 ตำบล รวมจำนวน 22 โครงการ มีนักวิจัยทั้งหมด 77 คน แบ่งตามความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาของนักวิจัย พบว่าสาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีมากที่สุด ร้อยละ 45.45 สาขาเกษตรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 38.96 และสาขาสังคมศาสตร์และบริหารธุรกิจ ร้อยละ 15.58 การพัฒนาชุมชนนวัตกรรม พบว่าเป็นการเสริมเทคโนโลยีพร้อมใช้ หรือองค์ความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมชุมชนที่นำไปสู่การเพิ่มโอกาสและศักยภาพของชุมชน โดยจำแนกตามกลุ่มเป้าหมายการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ของชุมชน สำหรับการสร้างความยั่งยืนในมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดกรอบการสนับสนุน 4 ด้าน คือการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การยกมาตรฐานการผลิตและแปรรูป และการบริหารจัดการตลาดเพิ่มโอกาสทางการตลาด พบว่ามีเทคโนโลยีพร้อมใช้และองค์ความรู้ รวมทั้งสิ้น 50 ผลงาน เกิดนวัตกรชุมชนจำนวน 181 คน ผลการวิจัยพบว่าชุมชนนวัตกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านความเข้มแข็งทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรในพื้นที่ลุ่มน้ำและพื้นที่เชื่อมต่อโดยรอบพื้นที่ลุ่มน้ำของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ช่วยเพิ่มโอกาสในการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและหนุนเสริมผู้ประกอบการชุมชน ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และช่วยให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถแข่งขันได้ เกิดการขับเคลื่อนแผนงานพัฒนาพื้นที่เข้าสู่แผนงานระดับท้องถิ่น

Title

The Innovation Development Area to Raise the Economic Foundation and Support Community Entrepreneur in Urban Palian Basin, Trang Province and Lower Songkhla Lake Basin, Songkhla Province

Keywords

Community Innovation,Local Economic,Local Entrepreneur,Palian Basin,Lower Songkhla Lake Basin

Abstract

The objectives of the community innovation development research for local economic boosting and supporting the local entrepreneurs in Palian Watershed, Trang Province, and lower Songkhla Lake Watershed, are to support the technology and innovation development for boosting community capacity in terms of competition with self-dependence, and to improve the management mechanism and system on community innovation research for spatial development. Rajamangala University of Technology Srivijaya has improved the management mechanism and system of spatial development research which emphasize on coordination process among researchers, university executive, local communities, especially stakeholders in order to support the innovative communities project for sustainable development. There were 3 steps in this project, first step was management on upstream consisted of research model designating mechanism, qualitative research development, financial contract making and opening bank account, financial and account regulating, and making coordinating mechanism with local order group. Second step was management on midstream consisted of providing facilities to the researchers and improving their skills, assessment of research results with the determined follow-up assessment on progress, processes of community’s technology, innovation development and boosting capacity for the innovators in community, supporting the researchers with advisor clinic until research is done and coordination workshop zone. Third step on the downstream consisted of examining research output’s quality, enhancing research output reputation, making research content be interested in published media, reserving intellectual property rights, presentation output on public stage, making competitions, creating events in order to offer and deliver research output to anyone who require it, and designating mechanism to continually transfer technology and learning. The result of research on innovative community for sustainable development, boosting economy and supporting entrepreneurs in watershed of Palian, Trang Province consisted of 14 sub-districts, and in watershed of lower Songkhla Lake, Songkhla Province consisted of 16 sub-districts. There were total 22 projects with 77 researchers involved can be divided by their mastery courses they had graduated, most of them 49.45% mastery in engineering and technology, 38.96% mastery in agriculture and science, and 15.58% mastery in society and business management. Innovative community development was upgrading available technology or knowledge in order to settle community’s innovations which lead to more opportunities and improve efficiency of community classified by developing target groups to meet the community’s needs. In term of making sustainability in the fields of economy, society or environment, 4 supporting frameworks were determined. There were enhancing production performance, improvement of products and packages, upgrading production and processing, marketing management which give more greater marketing channels. Totally 50 available technologies and knowledge, 181 community innovators were found. The research results found that innovative communities were strengthen in the fields of economy, society and environment. Utilization of local resources with together can boost local economy and support local entrepreneurs in term of self-dependence lead to competition among local communities. It seemed the project of spatial development in sub-districts level has been driven into the local level.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น