ชื่อโครงการ
การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยคำสำคัญ
การยกระดับขีดความสามารถ, เศรษฐกิจฐานรากของชุมชน, เทคโนโลยีและนวัตกรรม, กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยบทคัดย่อ
การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลผลิตการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน และพัฒนาระบบตลาดสำหรับผลผลิตการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้พลังความรู้ของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ผ่านกระบวนการบริหารงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ ตั้งแต่ระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยส่วนต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 16 กลุ่ม ในจังหวัดนครศรีธรรมราชและสงขลา ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการจัดการงานวิจัยพัฒนาพื้นที่ ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการสร้างผลผลิตและผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ปัญหา เริ่มต้นจากการให้ความสำคัญจากกระบวนการต้นน้ำ ตั้งแต่การออกแบบงานวิจัย การกำหนดกรอบงานวิจัยและพัฒนาโจทย์การวิจัยที่สร้างความร่วมมือกับชุมชน รวมถึงการวางกลไกการจัดทำสัญญารับทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของนักวิจัย ส่วนการบริหารจัดการส่วนกลางน้ำ เป็นการสนับสนุน ช่วยเหลือนักวิจัยภายหลังจากที่ได้รับการจัดสรรทุนวิจัย ในการหนุนเสริมกระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด การคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อการประเมินติดตามผล การสื่อสารผลงานวิจัย และการเสริมกิจกรรมพัฒนาทักษะในระหว่างการดำเนินการวิจัย รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการทำงานให้กับนักวิจัย สำหรับการบริหารจัดการงานวิจัยส่วนปลายน้ำ เป็นกระบวนการตรวจสอบคุณภาพของงานวิจัยและการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย รวมทั้งเชื่อมโยงผลงานวิจัยเข้ากับแพลตฟอร์มการตลาดภายในระดับมหาวิทยาลัย และตลาดของภาคีเครือข่ายเพื่อให้ชุมชนสามารถได้รับประโยชน์จากงานพัฒนาเชิงพื้นที่จริง ช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่มหาวิทยาลัยในด้านการบริการวิชาการเพื่อชุมชนทำให้ชุมชนทราบถึงแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง กระบวนการบริหารจัดการงานวิจัยดำเนินการภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน ผลการดำเนินโครงการวิจัย พบว่าสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อผลผลิตเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งในด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการคัดเลือกช่องทางตลาด และพัฒนาตลาดออนไลน์ที่เหมาะสมต่อสินค้าและขีดความสามารถของกลุ่มเกษตรกร สร้างโอกาสในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ได้มากขึ้น ส่งผลให้กลุ่มชุมชนเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 15 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพอตนเองได้ ในภาวะที่ประเทศไทยและทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
Title
Boosting Capacity for Local Economic Competition and Development using Technology and Innovation in the East Coast of Southern SubregionsKeywords
Boosting Capacity, Local Economic, Technology and Innovation, The East Coast of Southern SubregionsAbstract
The objective of upgrading competitive ability and strengthen local economy of communities in the Southern provinces located nearby the Gulf of Thailand with technology and innovation, is to improve the qualitative standards of agricultural supply and products in community, and to develop market system which support those products, according to the local universities knowledge accumulated through the research process for spatial development. Whole systems and mechanism were established for managing research in the upstream, midstream and downstream sections were involved in this research to develop 16 targeted groups in Nakhonsithammarat and Songkhla, and to improve their own potential. This study revealed that the research process for spatial development which affects on the production and the research results that can meet our needs, is appeared from upstream emphasizing with research design, framework determine and development of coordinated research with community, including the financial contraction mechanism for provision fund required in this research. Midstream management supports early fund provided researchers on research process in order to provide the most effective and efficient research, experts selection for the performance appraisal, research results transmission, additional activities of skill development during research operating and coordination with network partners to support researchers. Research management on downstream is qualitative investigation process of research for utilization and links research results to the internal marketing platforms in the university level and also links them to network partners market for the sake of communities by spatial development, positively creates appearance of university on academic services provided for communities with acknowledgement of the guideline according to the obligation of university on research and innovation which can lead to truly social utilization. The process of research management is actualized with participating of the communities. The research result indicated that the agricultural supply and community products can be adapted on both quality and various products, packages which meet the needs of consumer, including to market platforms selection and appropriate online markets development suitable for supply and potentiality of cultivation groups. There are more opportunities provide accessibility into the new consumer groups that can deal more 15% income to the targeted community groups and resulted in that they can be survived by themselves with their self-dependence during facing against the impact of CoVid19 incident occurred around the world.