ชื่อโครงการ
การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษคำสำคัญ
คนจน,ความยากจน,กลไกการพัฒนา,สวัสดิการรัฐบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ
- เพื่อสนับสนุนการจัดทำระบบข้อมูลความยากจนและติดตามการช่วยเหลือ
- เพื่อออกแบบกลไกกระบวนการวิจัยและเครื่องมือในการพัฒนาเชิงพื้นที่
- เพื่อติดตาม วิเคราะห์ข้อมูลคนจนและหนุนเสริมกลไกพัฒนาเชิงพื้นที่
- เพื่อสังเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ระดับครัวเรือนและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ใช้กรอบแนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืนเป็นเครื่องมือในการศึกษา
วิธีเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ทุน 5 ด้าน ได้แก่ ทุนการเงิน ทุนทางสังคม ทุนทางธรรมชาติ ทุนมนุษย์ และทุนทางกายภาพ ประชากรเป้าหมาย คือ คนจน 22 อำเภอ จังหวัดศรีสะเกษ 18,028 ครัวเรือน อ้างอิงจากฐานข้อมูล TPMAP วิเคราะห์ผลโดยระบบประมวลผลกลาง LiveingOnNewPace วิธีเชิงคุณภาพ เพื่อสอบทานข้อมูลและศึกษาทางออกจากความยากจน ใน 3 พื้นที่
- ตำบลหนองแค อำเภอราษีไศล
- ตำบลหนองครก อำเภอเมืองศรีสะเกษ
- พื้นที่ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์
พบว่าศักยภาพทุน 5 ด้าน จังหวัดศรีสะเกษ ทุนทางกายภาพ มีลำดับมากที่สุด รองลงมา คือ ทุนมนุษย์ ทุนทางธรรมชาติ ทุนทางสังคม และ ทุนทางการเงิน ตามลำดับ มีกลไกการทำงานระดับพื้นที่ คือ ศูนย์ต่อสู่เพื่อเอาชนะความยากจน คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ กลไกการจัดทำแผน sustainable livelihoods approach ประกอบด้วย
- livelihoods assets มี 7 ด้าน คือ ทุนมนุษย์ ทุนธรรมชาติ ทุน ทุนกายภาพ ทุนสังคม ทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญา และ ทุนสวัสดิการ
- transforming structures and processes ระดับโครงสร้าง หน่วยงาน function ของภาครัฐบาลทำงานเป็นหลัก ร่วมมือกับภาคเอกชน ระดับกระบวนการ การจัดทำแผนเพื่อการพัฒนาในทุกระดับและการจัดทำฐานข้อมูล Big Data เป็นการเสริมหนุนการทำงานระดับโครงสร้าง
- livelihoods strategies มีการนำทุนด้านทรัพยากร ทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญามาสร้างรายได้ และการใช้ทุนสังคมในการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
- vulnerability context ที่พบมากที่สุดคือปัญหาจากภัยธรรมชาติ และสถานการณ์ COVID-19 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ จัดทำระบบฐานข้อมูลคนจน แผนงานการเรียนรู้ของชุมชน แผนพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน แผนการพัฒนานโยบายและการกระจายความรู้สู่สังคม และแผนสร้างเศรษฐกิจชุมชนตัวอย่าง คำสำคัญ Poverty, Area base development addressing poverty, Sustainable livelihoods, livelihoods assets
Title
Research for area development Precision Poverty Alleviation A case study of Sisaket provinceKeywords
Poor person,Poverty,Development machanism,State welfareAbstract
Abstract The objectives of this research are
- to support the establishment of a poverty information system and to monitor assistance.
- To design research process mechanisms and spatial development tools.
- To monitor, analyze data on the poor and support spatial development mechanisms.
- to synthesize household area data and make policy recommendations. This research has used the Sustainable Living Concept as a study tool.
The quantitative study used a questionnaire on five areas of the capital: financial capital, social capital, natural capital, human capital, and physical capital. The target population is the poor living in 22 districts of Sisaket Province with 18,028 households, according to the TPMAP database. The results were analyzed by the central processing system Livingonnewpace. Qualitative research to review data and study the way out of poverty in 3 areas of Sisaket Province, namely (1) Nong Khae Subdistrict of Rasi Salai District, (2) Nong Khrok Subdistrict of Mueang Sisaket District, and (3) Bueng Malu Subdistrict of Kantharalak District. The results showed that the capital potential in all 5 areas of Sisaket Province as physical capital was the highest. Followed by human capital, natural capital, social capital, and financial capital, respectively. There are working mechanism at the area base as Center for Overcoming Poverty, District Quality of Life Development Committee, and planning mechanism. The Sustainable livelihoods approach include
- livelihoods assets There are 7 areas: Human Capital, Natural Capital, Physical Capital, Social Capital, Cultural and Wisdom Capital, and Welfare Capital.
- transforming structures and processes, at the structural level, the main functions of the government sector work in cooperation with the private sector. At the process level, the preparation of development plans at all levels and the creation of Big Data databases supports the work at the structural level.
- livelihoods strategies where resource capital, cultural and wisdom capital are used to generate income and social capital is used to support each other.
- The most common vulnerability context is the problem of natural disasters and the COVID-19 situation. However, the policy recommendations include establishing a database system for the poor, developing a community learning program, formulating a community economic system development plan, developing a plan for policy development and dissemination of knowledge to society, and preparing a plan to build a model community economy. Keywords: Poverty, Area Base Development Addressing Poverty, Sustainable Livelihoods, livelihoods Assets