ชื่อโครงการ
การพัฒนาต้นแบบการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กของเกษตรกรรายย่อยเพื่อพัฒนาเกษตรกรสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์คำสำคัญ
จังหวัดน่าน,ระบบการผลิตอาหาร,ความปลอดภัย,ความมั่นคง,ความยั่งยืน,วิสาหกิจชุมชน,การระดมความคิดร่วมกัน,แพะ,แกะบทคัดย่อ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
- พัฒนาเกษตรกรให้มีองค์ความรู้และทักษะการเลี้ยงแพะ-แกะ ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
- เพื่อพัฒนาการด้านพันธุ์ อาหารและการจัดการการเลี้ยงแพะ-แกะของเกษตรกรให้เป็นไปตามหลักวิชาการและมีประสิทธิภาพ
- เพื่อพัฒนาต้นแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมด้านการเลี้ยงแพะ-แกะ จังหวัดน่าน
- เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายผู้เลี้ยงแพะ-แกะ ในจังหวัด
โดยได้มีการสร้างกลุ่มเกษตรกรจำนวน 58 ราย ใน 10 ตำบล และกลุ่มผู้นำ (นวัตกร) ของแต่กลุ่มจำนวน 18 ราย มีการจัดอบรมใหญ่ให้ความรู้แก่เกษตรกร เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องการเลี้ยง การจัดการ พันธุ์ การดูแลสุขภาพของสัตว์ เพื่อเพิ่มผลผลิต การจัดการพืชอาหารหยาบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสัตว์เคี้ยงเอื้องขนาดเล็กและการอบรมบ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่หัวก้าวหน้า จำนวน 3 ครั้ง และมีการอบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มย่อยประมาณ 50 ครั้ง จัดให้มีการบริการด้านต่าง ๆ ที่จะไปสู่เป้าหมายการผลิตแพะ-แกะที่มีคุณภาพตั้งแต่การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าของการเลี้ยงแพะ-แกะในจังหวัดน่าน การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยราชการทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์อำเภอ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ภาคการศึกษา ผู้ประกอบการรายย่อยและเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ-แกะ และการจัดเตรียมฝูงแพะพันธุ์ดี และกระจายแพะพันธุ์ทั้งตัวผู้และตัวเมียทั้งหมด 36 ตัว แก่เกษตรกรในโครงการรุ่นแรกจำนวน 6 ราย ในภาพรวมพบว่าการดำเนินงานระยะแรกประสบความสำเร็จและเกษตรกรมีความหวังและตอบรับเป็นอย่างดี จากการวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงานพบว่า กระบวนการทำความเข้าใจในเชิงลึกเพื่อทำข้อมูลฐานหมู่บ้าน (village profile) ร่วมกับการเข้าพื้นที่จริงเพื่อทำความเข้าใจการดำเนินงานของโครงการเป็นรายกลุ่ม สามารถประเมินความพร้อมของกลุ่มเป้าหมายหรือชุมชนนวัตกรรมเดิมที่กำหนดไว้ในแผนการ ทำให้สามารถยกเลิกและปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่มีความพร้อมในการดำเนินงานได้จริง ในการดำเนินงานชุมชนนวัตกรรม การกำหนดเป็นชุมชนนวัตกรรมในระดับตำบลเพียงอย่างเดียวไม่เหมาะสมในการเลี้ยงปศุสัตว์ชนิดใหม่ พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะและแกะมีการรวมกลุ่มกันในหลายรูปแบบ บางกลุ่มเป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรในหมู่บ้าน บางกลุ่มเป็นการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะที่สมาชิกอยู่หลายหมู่บ้านภายในตำบล และบางกลุ่มเกษตรกรมาจากหลายหมู่บ้านในหลายตำบล นอกจากนี้กระบวนการทำความเข้าใจและทำงานร่วมกับเกษตรกร พบว่าการจัดกระบวนการกลุ่มย่อย โดยเน้นให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลาง (user-centric) และการพัฒนาแกนนำเกษตรกรให้สามารถเป็นผู้นำการประชุมและเป็นผู้ประสานงานหลักในพื้นที่ เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายผู้เลี้ยงแพะ-แกะได้จริง ในการพัฒนาเครือข่ายการขับเคลื่อน การเลี้ยงแพะ-แกะในจังหวัดน่าน ผ่านการจัดเวทีอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากหลายภาคส่วนทั้งเกษตรกร แกนนำเกษตรกร หน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษา และต่อมาได้มีการวางแผนงานกับทุกภาคส่วนในลักษณะการทำความเข้าใจและวางแผนงานร่วมกัน (co-creation) และการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการร่วมกันทุกภาคส่วน เป็นกลไกสำคัญกลไกหนึ่งในการพัฒนาและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (change) ให้เกิดขึ้น สุดท้ายในการบริหารโครงการ คณะผู้ดำเนินโครงการเองได้นำแนวคิดการทำงานแบบอไจล์ (agile) และกรอบการทำงาน (framework) แบบสกรัม (scrum) มาปรับใช้พบว่าในช่วงระยะแรก ยังมีความไม่เข้าใจลักษณะแนวคิดการทำงานแบบใหม่นี้โดยเฉพาะผู้ช่วยวิจัยในทีมย่อย แต่เมื่อมีการใช้กรอบการทำงานในลักษณะนี้เป็นระยะเวลาหนึ่งและมีการปรับตัวและทำความเข้าใจแนวคิดนี้ทำให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปได้ราบรื่นขึ้นและสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานกับเกษตรกรในกลุ่มย่อยต่าง ๆ ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทางคณะผู้วิจัย ได้เน้นการจัดการกลุ่มและติดตาม ให้ความรู้ต่อเนื่องผ่านการพบปะ ประชุมออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ ผลักดันให้มีการสร้างเครือข่ายผ่านทางคณะกรรมการบริหารเครือข่าย โดยคัดเลือกเกษตรกรแกนนำ ติดตามแกนนำในการปฏิบัติงานในพื้นที่ของตัวเอง แลกเปลี่ยนความรู้ ทดลองปลูกพืชอาหารสัตว์เพื่อเป็นแหล่งอาหารในหน้าแล้ง พัฒนาผลิตภัณฑ์จากเนื้อแพะ-แกะที่เป็นความต้องการของชุมชนและตลาดพื้นถิ่น ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถของเกษตรกรและการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อสร้างกลุ่มวิสาหกิจชุมชน งานวิจัยนี้นับว่าประสบความสำเร็จสามารถเป็นต้นแบบการเรียนรู้ในการนำไปใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศและยังส่งผลกระทบต่อการสร้างรายได้และส่งผลต่อทัศนคติของเกษตรกรและผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าสู่อาชีพเลี้ยงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของแพะ-แกะด้วย ผลสัมฤทธิ์ของโครงการนี้ คือช่วยกระตุ้นให้เกษตรกรมีการเรียนรู้ การจัดการด้วยตนเอง โดยการพัฒนาตนเองเป็นนวัตกรชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน เกษตรกรในจังหวัดน่านจะมีรายได้และอาชีพใหม่จากการเลี้ยงแพะ-แกะ และเพื่อให้โครงการนี้มีความยั่งยืน ทางโครงการฯ สามารถชักนำให้เกษตรกรรุ่นใหม่มาดำเนินการต่อ โดยการให้การสนับสนุนด้านความรู้จากงานวิจัย เพื่อให้เป็นผู้ประกอบการที่ดีในอนาคตอันใกล้นี้ คำสำคัญ แพะ แกะ ต้นแบบการเรียนรู้ นวัตกรรม ชุมชน และเกษตรกรรุ่นใหม่
Title
Development of Instructional prototype of small ruminant production in small- holder farms to enhance farmers toward being smart farmersKeywords
Nan,Food Production System,Food Safety,Food Security,Sustainability,Social Enterprise,Co-Creation,Sheep,GoatAbstract
This project was aimed
- to develop small-holder farmers to have a knowledge and practical skills for goat-sheep farming .
- to develop the model to support an introducing of new livestock in the community, e.g. genetics, feeding management, herd health management and technical support for farmers goat-sheep raising .
- to develop a learning model and innovative idea in goat-sheep farming in Nan province
- to develop potential and strengthen Goat-Sheep Farmer Network in Nan Province.
The progress has been made in the first six months of the project (May to November 2020), including the establishment of a group of 58 farmers in 10 subdistricts from 7 districts and a group of 18 leaders (innovators) of each subdistrict. The three conferences/workshops and onside regular visits were carried out to educate farmers, government officials, and related operators in regard to rearing, breeding management, herd health management, roughage management, agricultural products processing and young smart farmer development. Moreover, about 50 workshops in subgroups were performed. The supporting services program was created and provided to reach the goal of producing quality sheep and goat products, including the study of the value chain of sheep farming in Nan Province, creating a network of cooperation with government agencies, Subdistrict Administrative Organization, Subdivision (Section) of Livestock Promotion, Department of Livestock Development (DLD) officers, academic sector, small entrepreneurs, and goat-sheep farmers. Up to now, a total of 36 male and female high genetic value goats were distributed to 6 leading farms. Overall, it was found that the initial operation was successful and the farmers had good hopes and responses. Regarding the analysis of the operation process, it was found that the process of in-depth approach to create a Village Profile in conjunction with the actual access to the small group of willing farmers to clarify the operation of this project are capable of assess the actual availability of target groups or innovation communities. This makes it possible to cancel some existing groups and modify new target groups that are actually ready to operate. In operating an innovation community, a policy of establishment of an innovative community at only the subdistrict level may not be suitable for raising new livestock in this area. Goat and sheep farmers are found to be grouped in many forms. Some groups are groups of farmers in the village. Some groups are group of goat farmers whose members live in several villages within the subdistrict. And some groups of farmers are recruited from many villages in several districts. In addition, regarding the process of understanding and working with farmers, it was found that the subgroup meeting/workshop focusing on farmers as the center (user-centric) and development of the farmers leaders (community innovators), who can lead the meeting and be the key coordinator in the area are proved to develop potential and strengthen the network of small-holder sheep and goat farms. The development of mobility networks of goats and sheep farmers at Nan Province makes all sectors understand their roles through organizing the forums to exchange ideas from various sectors including farmers, farmers’ leaders, government agencies and educational institutions. Next, work has been planned with all sectors in a way to understand and plan work together as a co-creation. The joint workshop with all sectors is one of the most important mechanisms in the development and driving of “Change”. Lastly, according to the project management, the project team has adopted the “Agile” concept and the “Scrum” framework. However, in the first place, this new concept of work is not yet understood, especially by the research assistants in the sub team. But when this framework has been applied for a period of time, all project members are adapted and more understood this concept, resulted in the implementation of the project is smoother and can be adjusted to work with specific farmers in different groups with faster actions and more efficient. Moreover, the research team focused on group management and follow-up plan, continuing the workshop in subgroup and all sectors meeting, establishment of networking/partners through the network administration board by selecting the farmers’ leaders as community innovators, monitoring the following operations of the innovators in their communities, encouraging the exchange of knowledge between the sectors, performing the experiment to define the suitable roughage management model especially in the dry season, developing Nan’s goat and sheep meat products that meet the needs of local communities and markets, and developing the capabilities of farmers and forming community enterprises. The present project, if successful, will be a learning model for application in other areas. It also impacts the income for farmers and influence the intention of farmers and entrepreneurs who want to enter the small ruminant industry. The outcome of this project is to enhance the self-learning, self-organized and management by creating the local community innovators leading to sustainable development in rural. The farmers in Nan will have a new career path through goat production. This of course will increase their per se income. To be a sustainable, we arrive to convince the young smart farmers to follow up this program by supporting academic and research knowledges in order to be a good entrepreneurship in the near future. Keywords: Goat, Sheep, Learning model, Innovation, Community, Young smart farmer.