ชื่อโครงการ
การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ในพื้นที่จังหวัดชัยนาทคำสำคัญ
การพัฒนาพื้นที่,ความยากจน,ระบบข้อมูลคนจนบทคัดย่อ
โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท มีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนากระบวนการและตัวแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จ โดยสนับสนุนการจัดทำระบบข้อมูลความยากจน การติดตามการช่วยเหลือในการแก้ปัญหาความยากจน และการพัฒนาตัวแบบปฏิบัติการแก้จน ด้วยการออกแบบกลไก กระบวนการวิจัย และเครื่องมือในการพัฒนา เชิงพื้นที่สนับสนุนการทำงานช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความยากจน ติดตาม วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลครัวเรือนคนจน และหนุนเสริมกลไกพัฒนาเชิงพื้นที่ บูรณาการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) จากทุกภาคส่วนทั้งส่วนราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้ 1) ค้นหาและสอบทานครัวเรือนคนจนเป้าหมาย จำนวน 4,601 ครัวเรือน มาจากฐานข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform – TPMAP) จำนวน 2,094 ครัวเรือน และ Add on ครัวเรือนคนจนจากการชี้เป้าโดยชุมชนที่เห็นร่วมกันว่ามีสภาวะความเป็นอยู่ยากลำบากจริง จำนวน 2,507 ครัวเรือน ลักษณะของครัวเรือนเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนอยู่ยาก “ไม่มีรายได้ แต่ถ้ามีรายได้ก็ไม่สม่ำเสมอ ไม่มีที่ดินทำกิน หรือมีที่ดินทำกินก็ไม่ใช่ของตนเอง มีปัญหาการเข้าถึงแหล่งน้ำทำการเกษตร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพใช้แรงงาน ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีพหรือสร้างรายได้ และยังไม่ได้ใช้อุปกรณ์สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการดำรงชีพ” มีทุนการดำรงชีพอย่างยั่งยืน 5 มิติ (Sustainable Livelihoods Framework: SLF) ด้านสังคมต่ำที่สุด (1.36) ครัวเรือนเป้าหมายส่วนใหญ่ ยังไม่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการชุมชน ยังไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มทางสังคม แต่เริ่มมีแนวทางหรือกฎระเบียบที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กติกา ธรรมนูญชุมชน การบริหารจัดการ องค์กร กลุ่ม หรือสถาบันในชุมชนขึ้นอยู่กับผู้นำหลัก และมีทุนทางกายภาพสูงที่สุด (2.83) ส่วนใหญ่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง สภาพมั่นคงแข็งแรงปานกลาง ถูกสุขลักษณะ มีสาธารณูปโภคพื้นฐาน ไฟฟ้า ประปา แต่บางครัวเรือนเข้าไม่ถึงอินเตอร์เน็ต 2) กระบวนการค้นหาและสอบทานที่มีคุณภาพ ด้วยการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ ดังนี้ (1) สร้างกลไกความร่วมมือในระดับพื้นที่ทั้งในส่วนของจังหวัด และอำเภอ (2) พัฒนาทีมสำรวจและสอบทานข้อมูล (3) สำรวจ และสอบทานข้อมูลครัวเรือนเป้าหมาย (4) ติดตาม และตรวจสอบ ความถูกต้อง ครบถ้วน และเชื่อถือได้ของข้อมูล ทำให้ได้ “ข้อมูลที่มีคุณภาพ” 3) เกิดการส่งต่อข้อมูลความช่วยเหลือ 2 ลักษณะ ดังนี้ (1) การส่งต่อข้อมูลความต้องการไปตามภารกิจของหน่วยงาน (2) พัฒนาโครงการบรรจุในแผนงาน/โครงการของหน่วยงานเพื่อดำเนินการช่วยเหลือครัวเรือนคนจนเป้าหมาย ทั้งระดับเทศบาล ระดับอำเภอ และจังหวัด 4) เกิดกลไกดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจน ได้แก่ นักจัดการข้อมูลชุมชน และภาคีเครือข่ายความร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน ที่ร่วมกันดำเนินการ 5) ครัวเรือนคนจนมีความต้องการ 2 ลักษณะสำคัญ คือ (1) อยู่ได้ : การดำรงชีพขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพ คือ มีอาหารที่เพียงพอ ที่อยู่อาศัยที่แข็งแรง และการเข้าถึงสวัสดิการรัฐตามสิทธิ สวัสดิการชุมชน (2) อยู่ดี : โอกาสในการพัฒนาตนเอง ในด้านการมีงานทำ ทักษะอาชีพ รายได้ 6) เกิดปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจน จากการใช้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ (1) ข้อมูลทุนศักยภาพคนจน (Sustainable livelihoods) (2) ข้อมูลศักยภาพชุมชนและบริบทความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ที่เอื้อต่อ การพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหา นำมาสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในเวทีวิเคราะห์โอกาส และพัฒนาแนวทาง แก้จน ซึ่งเป็นพื้นที่เรียนรู้ร่วมของคนจน ผู้นำชุมชน หน่วยงานในท้องถิ่น ทำให้เข้าใจสถานการณ์และพัฒนาทางออกและร่วมมือแก้ไขปัญหาความยากจน ที่มีนักจัดการข้อมูลชุมชนเป็นผู้สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในเวที นำไปสู่การวิเคราะห์ทางเลือกร่วมกันเพื่อตัดสินใจออกแบบโมเดลแก้จนบนฐานทุนชุมชนและศักยภาพคนจน ดังนี้ (1) นวัตกรรมแก้จน “แพะเงินล้าน” ขับเคลื่อนโดยนักจัดการข้อมูลชุมชน ทำให้เกิดการจัดตั้ง “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพโพงาม” โดยชุมชนได้ใช้ศักยภาพของผู้นำชุมชน ทุนทรัพยากร และความเข้มแข็งของกลุ่มในชุมชน ซึ่งเป็นจุดแข็งมาขับเคลื่อนให้เกิดการประกอบการ ทำให้เกิดตัวแบบสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจน ดังนี้ 1. การออกแบบงานที่อยู่บนฐานการเชื่อมโยงกับข้อมูลทุนการดำรงชีพ และทุนบริบทชุมชน 2. เกิดกิจการที่คนจนร่วมเป็นเจ้าของและได้รับประโยชน์ในเชิงการมีรายได้ที่เกิดจากการทำงาน/มีงานทำ 3. มีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยมาสู่การผลิตจริงที่ต่อยอดเป็นธุรกิจ/วิสาหกิจได้ 4. ผลผลิตมีศักยภาพในการจำหน่ายได้ทั้งตลาดทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ มีครัวเรือนเป้าหมายเข้าร่วมจำนวน 149 ครัวเรือน (2) การบริหารจัดการแปลงรวม สำหรับครัวเรือนที่ไม่มีที่ดินทำกิน และมีทักษะด้านการเกษตร ใช้พื้นที่รวมในการเพาะปลูกเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างรายได้ ภายใต้แนวคิด “การเกื้อกูลจากชุมชนผ่านครัวเรือน รอการพัฒนาสู่ครัวเรือนพึ่งพิง” (3) กองทุนข้าวสาร สำหรับครัวเรือนพึ่งพิง เพื่อให้มีข้าวสารเพียงพอที่จะบริโภค และสามารถนำเงินสวัสดิการไปใช้ในการดำรงชีพด้านอื่นให้เพียงพอและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น ซื้อกับข้าว ซื้อยา เป็นค่ารถไปหาหมอ (4) กองทุนแก้จน ทำหน้าที่เป็น “ไมโครไฟแนนซ์ (Microfinance)” สำหรับครัวเรือนรอการพัฒนา โดยนำผลกำไรจากการประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจแก้จนมาบริหารจัดการร่วม ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดพัฒนาอาชีพ (5) เครือข่าย ช่าง D Home: คลังแรงงานแก้จน สำหรับครัวเรือนประกอบการ ด้วยการ Matching ครัวเรือนที่มีทักษะด้านช่างและได้รับการพัฒนาทักษะ(Up Skill) การเป็นผู้ประกอบ กับครัวเรือนที่ต้องการช่างในการซ่อมแซมบ้าน รวมถึงครัวเรือนคนจนที่ได้รับงบประมาณค่าวัสดุซ่อมบ้านจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน แต่ยังขาดแรงงาน 7) ลักษณะตัวแบบแก้จนที่จะทำให้คนจนมีส่วนร่วม และสามารถพัฒนาตนเองได้ คือ 1) กิจกรรมที่ดำเนินการอยู่บนฐานการเชื่อมโยงกับข้อมูลทุนการดำรงชีพ และทุนบริบทชุมชน 2) เป็นกิจกรรมที่คนจนร่วมเป็นเจ้าของและได้รับประโยชน์ในเชิงการมีรายได้ที่เกิดจากการทำงาน/มีงานทำ 3) มีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยมาสู่การผลิตจริงที่ต่อยอดเป็นธุรกิจ/วิสาหกิจได้ 4) ผลผลิตมีศักยภาพในการจำหน่ายได้ทั้งตลาดทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ 8) การเชื่อมโยงการปฏิบัติการแก้จนกับแผนในระดับท้องถิ่น ต้องเริ่มจากการเห็นชอบร่วมกันของคนในชุมชนพัฒนาเป็นแผนชุมชน และแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะช่วยให้โครงการได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านงบประมาณ และการต่อยอดพัฒนา ทำให้การปฏิบัติการมีความยั่งยืนในระยะยาว
Title
Collaboration Integrated Area development for solve absolute poverty. Case study in Kalasin ProvinceKeywords
Area Based Development,Poverty,Poverty..informationAbstract
The research project for area-based development towards comprehensive and precise poverty alleviation in Chainat province had the main purpose to develop a comprehensive poverty alleviation process and model by means of poverty data system development, poverty alleviation assistance monitoring, and operating model development for poverty alleviation. This was supported by designing mechanisms, research methodology and area-based development tools in accommodating works on poverty alleviation assistance. Household data were monitored, analyzed and synthesized along with the enhancement of area-based development mechanisms and the integration of poverty alleviation collaboration. The policy proposals were made on the basis of participatory action research (PAR) involving all sectors: government, private, civil society and communities. The following results were found: 1) A total of 4,601 targeted poor households were searched and reviewed indicating that 2,094 households were from the Thai People Map and Analytics Platform (TPMAP) database, while the other 2,507 households with hard livelihood conditions were confirmed by the community. Most target households had hard livelihood conditions. “They had no income but, if they had one, their income was inconstant. They had no agricultural land or had one but they held no land ownership. They faced agricultural water access problem. Most of their employment was labor. They failed to utilize natural resources in their livelihood or income earning, and used no information and communication devises in their livelihood.” With respect to 5 dimensions of Sustainable Livelihoods Framework (SLF), the social aspect accounted for the lowest mean score (1.36). Most targeted household had no participation in community management, activities, and social group. Certain guidelines or regulations such as rules, Community Charter, management, organizations, groups or community institutions were initiated via various community participation. This depended on main leader. In addition, the physical capital accounted for the highest mean score (2.83). A majority of households had their own accommodations, which were moderately strong, hygienic, as well as equipped with basic utilities, electricity and water supply. However, some of them had no Internet access. 2) The quality process of search and review emerged from the participation of various local sectors in: (1) building local collaboration mechanisms on the part of province and district; (2) creating a data survey and review team; (3) surveying and reviewing data of targeted households, and (4) monitoring and inspecting the accuracy, completeness and reliability of data to achieve “quality data”. 3) The assistance data were passed on in 2 manners: (1) transfer of data according to the agency’s missions, and (2) project development under the agencys plans/projects to provide the targeted poor households with assistance at municipal, district and provincial level. 4) Poverty alleviation mechanisms were introduced such as joint collaboration between community data managers and partners in poverty alleviation networks. 5) There were 2 important attributes of poor households’ needs. (1) Having a livable life: they had basic subsistence in a quality manner: adequate food, strong dwelling, state and community welfare access according to individual rights. (2) Having a good life: they had self-improvement opportunities in terms of employment, vocational skills and income. 6) Actions for poverty alleviation were proceeded with the use of important data on (1) capital of the poor’s potentials (sustainable livelihood) and (2) community’s potentials and context of changes facilitating problem-solving guideline development. It created collaborative learning forum for opportunity analysis and poverty alleviation guideline development. It was a collaborative learning space for the poor, community leaders and local authorities to acquire the understanding of situations; initiate solutions; and engage in poverty alleviation collaboration. The community data managers created collaborative learning process in the forum for a joint analysis of alternatives in making a decision to design the following poverty alleviation models based on community capital and potentials of the poor. (1) Poverty Innovation “Goats with Million Income” was steered by community data managers in establishing “Community Enterprise of Po Ngam Vocational Development Group” where community leader potentials, capital, resources, and strength of community group were the strong point used by the community in driving entrepreneurship. The important models for poverty alleviation were as follows: 1. The job was designed on the basis of links to the capital of livelihood and of community context. 2. A business that the poor people jointly owned and gained benefits in light of income from the work/employment. 3. The research-based knowledge was truly applied to the real manufacturing and further development of business/enterprise. 4. The product had both internal and external marketing potentials. There were 149 target households participating. (2) Large-scale farm management was for households that had no agricultural land but they possessed farming skills. Large-scale cultivation land enabled them to create food security and generate income under the concept of “community generosity through development-waiting households towards dependent households”. (3) Rice Fund was for dependent households to have adequate rice for consumption, while welfare money could be spent in the other aspects of livelihood and in quality of life improvement such as food or medicine purchase or commuting expenses for doctor visits. (4) Poverty Relief Fund served as a “Microfinance” for development-waiting households. Profits earned from operations of poverty alleviation enterprise groups were jointly managed to foster the accessibility to funding sources for career development. (5) D Home Technician Network: Labor Hub for Skillful Households was for matching households that possessed technician skills and attended entrepreneurship up-skill programs with the ones looking for house repair service/technicians or with those poor ones that lacked labor but their budget for house maintenance materials was supported by the Community Organization Development Institute. 7) The characteristics of poverty alleviation models allowed the poor to have the participation and to engage in self-development. 1) Activities were carried out on the basis of links to the data on livelihood capital and on community context. 2) Activities that the poor could jointly own and received benefits in light of income from work/employment. 3) The knowledge based on research was applied to the real manufacturing and expanded to a business/enterprise. 4) The product boasted of internal and external marketing potentials. 8) The links between poverty alleviation actions and local plans had to be initiated with mutual approval of people in the community towards the development of community’s plans and local administrative organization’s development plans This would help projects to receive constant budget supports and achieve further development resulting in a sustainable operation in the long term. Therefore, the development of poverty alleviation models based on the potentials and household capital base of the poor and the community focused on the expansion of the area of operations to disseminate employment opportunities and to generate income for poor households. Poverty alleviation innovations were also developed in terms of basic livelihood, entrepreneurship, human capital enhancement, economic and social capital so that the targeted poor households would have better quality of life, earn income and be employed.