การเพิ่มประสิทธิภาพ มาตรฐานการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรวิถีชุมชนจังหวัดลำปางและจังหวัดตากด้วยนวัตกรรม

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 17 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630030
นักวิจัย ผศ. สันติ ช่างเจรจา
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 20: ชุมชนนวัตกรรม
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย เชียงใหม่, ตาก, ลำปาง

ชื่อโครงการ

การเพิ่มประสิทธิภาพ มาตรฐานการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรวิถีชุมชนจังหวัดลำปางและจังหวัดตากด้วยนวัตกรรม

คำสำคัญ

การเพิ่มประสิทธิภาพ, มาตรฐานการผลิต, การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร, วิถีชุมชน, นวัตกรรม

บทคัดย่อ

โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพ มาตรฐานการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรวิถีชุมชนจังหวัดลำปางและจังหวัดตากด้วยนวัตกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการเรียนรู้และรับ ปรับใช้นวัตกรรม สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงและจัดการปัญหาในชุมชน พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนภายใต้ผลผลิตจากการวิจัยที่สอดคล้องกับ 4 ประเด็น ได้แก่ 1) เกิดต้นแบบแผนงานเชิงพื้นที่ (Flagship) 2) สร้างคนเชี่ยวชาญบนงานใหม่ (นักวิจัย/นวัตกร) 3) ขยายความรู้สู่ชุมชนและ 4) สร้างรูปธรรมแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ในการดำเนินงานวิจัยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและได้ผลผลิตใหม่ตามประเด็นสำคัญ ได้แก่ ต้นแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กลไกการพัฒนาพื้นที่ด้วยฐานนวัตกรรม ในวิถีเกษตรชุมชน จำเป็นต้องกำหนดรายละเอียดเชิงประเด็นจากความหมายของ “ชุมชนนวัตกรรม” คือ ผลงานสิ่งประดิษฐ์หรือกระบวนที่คิดค้นขึ้นมาใหม่บนความต้องการของกลุ่มคนขนาดเล็กที่อาศัยในอาณาบริเวณเดียวกัน “ชุมชนนักวิจัย/นวัตกร” คือ กลุ่มคนที่มีส่วนร่วมในการสร้างระบบคิด (คิดเป็น/ไม่หยุดคิด/สร้างเครือข่ายทางความคิดที่สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา) การยกระดับความคิดและแนวทางการแก้ไขสู่การปฏิบัติ ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาเชิงพื้นที่และกรอบแนวทางชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในวิถีเกษตรของชุมชน จากการดำเนินงานพบว่า บนเป้าหมายมุ่งเน้นกระบวนการการเพิ่มประสิทธิภาพ มาตรฐานการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรวิถีชุมชน พัฒนาระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต สร้างมาตรฐานการผลิตแบบระบบเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร โดยการวิจัยแบบมีส่วนร่วม และพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชบนพื้นฐานของข้อมูลเกษตรเชิงพื้นที่และฐานความรู้พืชแบบบูรณาการศาสตร์ รวมถึงการสร้างและบ่มเพาะนักวิจัยชุมชน/นวัตกรชุมชน ให้มีศักยภาพด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต และการจัดการมาตรฐานคุณภาพ และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน โดยนักวิจัยชุมชน/นวัตกรชุมชน สามารถขยายผลความรู้สู่ความคิดด้านการพัฒนาที่ต่อเนื่องในการยกระดับการผลิตที่มีประสิทธิภาพการผลิต และการจัดการมาตรฐานคุณภาพ และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร โดยการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ภายใต้การร่วมมือของหน่วยงานรัฐ สนับสนุนต่อยอดการพัฒนา นอกจากนี้ยังสามารถขยายผลระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพการผลิต และการจัดการมาตรฐานคุณภาพ และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรให้กับเครือข่ายหน่วยงานในพื้นที่และชุมชนอื่นๆ ภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานของโครงการวิจัยฯ ในระยะเวลา 1 ปี ที่มีปัจจัยที่เป็นข้อกำหนดสำคัญคือ วิถีด้านการเกษตรที่มีปัจจัยช่วงเวลาของฤดูกาลที่ต้องมีการดำเนินงานของชุมชนเป้าหมาย สภาพพื้นที่ชุมชนที่มีข้อจำกัดต่อการเดินทาง และการติดต่อสื่อสารที่อาจจะมีผลต่อการดำเนินงาน จึงได้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ สร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับพัฒนาทางความคิดในรูปแบบ Active Leaning โดยจัดกิจกรรมสร้างการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่นักวิจัยชุมชนได้ ตามแผนการดำเนินงานที่วางไว้ร่วมกัน บูรณาการวิธีการจัดกระบวนการเรียนกับการบริการวิชาการและการวิจัย ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่มีทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer Technology) และการพัฒนาเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วม (Participatory Development Technology) ทำการขยายผลการเรียนรู้สู่การปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองของนักวิจัยชุมชน (PAR) ซึ่งพบการเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้นกับนักวิจัยชุมชน/นวัตกรชุมชน โดยภาพรวมมีการจัดการประสิทธิภาพการผลิต และการจัดการมาตรฐานคุณภาพ และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรในวิถีอาชีพของชุมชนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนมากกว่าร้อยละ20 ผลผลิตมีคุณภาพเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 จากเดิม และผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนมีมูลค่าทางการตลาดเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่าร้อยละ 20 มีการสร้างและบ่มเพาะนวัตกรชุมชน ในจังหวัดลำปางจำนวน 51 คน และจังหวัดตากจำนวน 42 คน รวมทั้งหมด 93 คน ให้มีศักยภาพด้านการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต และการจัดการมาตรฐานคุณภาพ และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร และสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีขยายผลสู่ชุมชน เครือข่ายหน่วยงานในพื้นที่และชุมชนอื่นๆ เกิดนวัตกรรมกระบวนการหรือการต่อยอดใช้ประโยชน์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตวิถีเกษตรชุมชนจำนวน 1 นวัตกรรม คือ เทคโนโลยีเสริมประสิทธิภาพและควบคุมการผลิตที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพผลผลิตในวิถีเกษตร สามารถเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ได้ 46 ผลิตภัณฑ์ ระยะเวลาการทำงานลดลงร้อยละ 50 ค่าใช้จ่ายด้านแรงงานลดลงร้อยละ 50 คุณภาพของผลผลิตด้านน้ำหนัก ความสม่ำเสมอ ขนาด เป็นต้น ดีขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 และเกิดระบบสารสนเทศที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ข้อมูล เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาเครือข่ายอาชีพการเกษตรเชิงพื้นที่แต่ละตำบล จำนวน 1 ระบบ เกษตรกรต้นแบบจังหวัดลำปางได้รับใบรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี GAP ทั้งหมดจำนวน 24 ราย จำนวนพืช 47 ชนิด เกษตรกรต้นแบบจังหวัดตากที่สนใจการผลิตพืชมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและอินทรีย์ ยื่นใบสมัครคำขอรับรองแหล่งผลิตพืชมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีจำนวน 10 และอินทรีย์ 1 ราย รวม 11 ราย ข้อมูลคุณภาพคุณค่าทางโภชนาการ องค์ประกอบทางเคมีและสารสำคัญของผลิตผลชุมชน 13 ชุมชน ฐานข้อมูลคุณภาพและสารตกค้างของผลผลิต/สินค้าเกษตร เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการยกระดับคุณภาพ/มาตรฐาน 13 ชุมชน ด้านอาคารสถานที่ผลิตอาหาร/เครื่องดื่มที่เป็นไปตามมาตรฐาน GMP และสอดคล้องกับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม/ชุมชน 4 ชุมชน ต้นแบบตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ 1 ชุมชน ปัญหาพิเศษนักศึกษาระดับปริญญาตรี 4 เรื่อง ปัญหาพิเศษนักศึกษาระดับชั้น ปวส. 1 เรื่อง โครงงานปัญหาพิเศษนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรสุโขทัย (ภาคีเครือข่าย) 4 เรื่อง และเผยแพร่ในงานประชุมวิชาการจำนวน 2 เรื่อง

Title

Effectiveness Enhancement of Production Standard and Value Added Creation of Agricultural product based on local communitys way in Lampang and Tak Provinces by innovation

Keywords

Effectiveness Enhancement,Production Standard,Value Added Creation,local community,innovation

Abstract

Effectiveness enhancement of production standard and value-added creation of agricultural product based on local communitys way in Lampang and Tak Provinces by innovation was purposed to strengthen the capacity of the community to learn and receive Implement innovation, applied knowledge to change and managed problems in the community and sustainable self-reliance. Under the results of research that corresponds to 4 issues, 1) forming a model of spatial plans (Flagship) 2) creating experts on new tasks (Researchers/Innovators) 3) expand knowledge to communities and 4) create concrete spatial development plans for sustainable community development, in conducting research to achieve goals and obtain new products based on key issues, i.e. participative learning model; Mechanism of space development based on innovation in community agriculture. It is necessary to elaborate on the issue from the meaning of an “innovative community” is a work of inventions or a process that is newly invented based on the needs of a small group of people living in the same area. “Researcher/innovator community” is a group of people who participate in the creation of a thinking system. (Think/Dont Stop Thinking/Create a Thought Network that Can Analyze and Solve Problems). Upgrading ideas and solutions to actions under the concept of spatial development and innovative community guidelines for sustainable development in the agricultural way of the community. From the operation, the goal is focused on the optimization process, production quality standards and value-added creation of agricultural production in agricultural communitys way of life. The research was to develop an efficiency production system, reduction production costs, agricultural production standards e.g. Good Agricultural Practices (GAP) and organic agriculture and creation of value-added agricultural products by participatory research. The decision supporting systems were developed to optimize crop production based on a spatial agricultural data and integrated plant knowledge base. Building and cultivating community researchers/ community innovators was developed to have the potential in efficient production development, agricultural quality standard mangement and value-added of agricultural products towards the security of the grassroot communitys economic stability. The community researchers/community innovators were able to extend obtained knowledge to continual development ideas for efficient production raising, quality standard management and value-added of agricultural products based on participatory research under the cooperation of government agencies support and further development. They were also able to extend obtained knowledge to the network of local agencies and other communities under the scope of the research project in a period of one year. There are main factors that are important requirements, i.e. agricultural way based on seasonal periods which required the implementation of target community and the community area with travel and communication limitations that may affect research operations. Therefore, the learning process has been organized by creating a suitable participatory learning process to develop thinking pattern by active leaning, which is organized knowledge learning activities that learners can take self action and thinking process that community researchers can implement. According to the collectively implementation action plans, integrating methods of organizing the learning process incoporative with academic and research services by training workshops through transfer technology and participatory development technology was performed to extend the learning outcomes into self community implementation by participatory action research (PAR). These learing process lead to the potential change of community researchers/community innovators in management of agricultural production efficiency, quality standard management and value-added creation of agricultural products. The result found that agricultural productivity in the communitys occupation has increased efficiency, cost production reduced by more than 20, agricultural produce quality increased by more than 20% and community agricultural products in market value increased by more than 20%. The 93 Community researchers/innovators were built up and incubated to have the potential in management of agricultural production efficiency, quality standard management and creation ofvalue-added agricultural products, which of 51 and 42 persons in Lampang and Tak provinces, respectively. They can also transfer technology for knowledge expand to self communities, local agency networks and other communities. The process innovation or build on utilization to increase agricultural production efficiency by community agricultural way was created, i.e. efficient enhancement technology and production control that help to reduce costs and to increase producing quality in agricultural ways. The result showed that 46 food products are created, working time production is reduced by 50 percent, labor production costs were reduced by 50%, the better quality of production in terms of weight, consistency, size, etc., improved by more than 50 percent. One system of new information system was created and could be applied to the data for developing an agricultural occupational networks in each sub-district. Lampang provincial model farmers have received certificates of good agricultural practice (GAP) of 24 persons and 47 kinds of plants (Q-certify). For Tak Province, an application of ten and one model agriculturers (total 11 farmers) were submitted for certification GAP and organic standards of plant production areas, respectively. In addition, the database of nutritional quality information, chemical compositions and important constituents of 13 innovative communities were found in this project. The quality and residues database of agricultural produce/commodities were performed to be used as a database for raising of the product quality/standards of 13 communities. The production plant of food/beverage from four communities were developed to raise the plant standard to meet GMP standard. The prototype solar dryer is built up for one community in this research. The special problems of four undergraduate students and one student of High Vocational Certificate were published. There were four topics of the special problem projects of students from Sukhothai Agricultural College were published. Furthermore, The two research articles were presented at the academic conferences.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น