การพัฒนากลไกดูดซับเศรษฐกิจเครื่องแกงฮาลาลันตอยยีบันของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีสู่ตลาดในเครือข่ายมหาวิทยาลัยฟาฏอนี

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 15 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630026
นักวิจัย ผศ.ดร. อิสมาอีล ราโอบ
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ปัตตานี

ชื่อโครงการ

การพัฒนากลไกดูดซับเศรษฐกิจเครื่องแกงฮาลาลันตอยยีบันของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีสู่ตลาดในเครือข่ายมหาวิทยาลัยฟาฏอนี

คำสำคัญ

กลไกดูดซับเศรษฐกิจ, เครื่องแกงฮาลาลันตอยยีบัน, วิสาหกิจชุมชน, ตลาด

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์
(1) เพื่อสำรวจและ chain ทั้ง Demand site ภายในมหาวิทยาลัย และ Supply site
(2) เพื่อพัฒนากลไกการบริหารจัดการความปลอดภัยตลาดในเครือข่ายมหาวิทยาลัยฟาฏอนี
(3) เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมทางการตลาดสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนและการกระจายรายได้

กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา คือ วิสาหกิจชุมชนผลิตเครื่องแกงจำนวน 5 กลุ่ม และได้ดำเนินจัดตั้งบริษัท เอฟแอนด์คิว จำกัด (F&Q) ซึ่งเป็นธุรกิจที่ช่วยแก้ปัญหาสังคม และเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เครื่องแกงสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า

1) กลุ่ม LE มีวัตถุดิบสำหรับแปรรูปเครื่องแกงโดยมีแหล่งเพาะปลูกประมาณ 30 ไร่ และมีกำลังผลิตโดยรวมทั้ง 4 กลุ่มประมาณ 1,000 กิโลกรัมต่อเดือน โดยมีตลาดรองรับคือ ตลาดท้องถิ่น ตลาดกลุ่มหน่วยงานราชการ ตลาดออนไลน์ และตลาดประเทศมาเลเซีย
2) การพัฒนากลไกการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยฟาฏอนีได้พัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย โดยมีสำนักวิจัยและพัฒนาเป็นหน่วยบริหารจัดการวิจัย (Supporter, Faciliatory) โดยพัฒนานักวิจัยให้มีทักษะการประกอบการเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนกลุ่มอาชีพชุมชน (Local Enterprise) โดยได้กำหนด Value Volume และ Ultimate Goal อีกทั้งระบบบริหารจัดการทุนวิจัยมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้สร้าง Driven University System Learning Platform และ Reinventing University
3) การวัดผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) สูงสุดได้แก่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงพอเพียงบ้านฉาง เท่ากับ 37.19% รองลงมา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงใส่ใจคุณภาพ เท่ากับ 36.35% วิสาหกิจชุมชนกลุ่มนิปิสกูเละ เท่ากับ 34.19% และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงท่าด่าน เท่ากับ 28.38 % ซึ่งตัวเลข ROI สอดคล้องกับสัดส่วนต้นทุนของแต่ละกลุ่ม ซึ่งกลุ่มบ้านฉางจะมีสัดส่วนต้นทุนต่ำสุด เท่ากับ 72.89 % ทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนสูงกว่ากลุ่มอื่น ในทางตรงกันข้ามกลุ่มบ้านท่านมีสัดส่วนต้นทุนสูงสุด เท่ากับ 77.89 % ทำให้อัตราผลตอบแทนที่ต่ำกว่ากลุ่มอื่น อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) เฉลี่ยทั้ง 4 กลุ่ม เท่ากับ 34.02 % คำสำคัญ: กลไกดูดซับเศรษฐกิจ มาตรฐานฮาลาลและตอยยีบัน วิสาหกิจชุมชนจังหวัดปัตตานี

Title

The Development of Economic Absorbing Platforms on Halalan Toyiban Curry of Pattani Community Enterprise in Fatoni University Network Market

Keywords

Economic Absorbing,Halalan Toyiban Curry,Community Enterprise,Market

Abstract

This research aimed to survey supply and demand site, to develop market safety management mechanisms in the network of Fatoni University, and to drive the marketing activities towards a circular economy and income distribution. The target group consisted five local enterprises and F&Q company Ltd,. The findings found that, The local enterprises have raw materials for processing curry paste with a plantation of approximately 30 hectares and a total production capacity of four groups of approximately 1,000 kg per month. Moreover, supporting markets are local market, government agency market, online market, and Malaysia market. The development of management Fatoni University has developed a research management system as a supporter and faciliatory. By developing researchers to have entrepreneurial skills to help and support community occupational groups that focus on Value, Volume, and Ultimate Goal. In addition, Fatoni University Research has created driven University, system learning platform, and reinventing University that are the research fund management system of Fatoni University. The highest measure of return on investment is Banchang (ROI=37.19%), Maelan (ROI=36.35%), Nipiskuleh (ROI=34.19%), Tadan (ROI=28.38%) respectively and overall is (ROI=34.02%) Keywords: Economic Absorbing, Halalan Toyiban, Pattani Local Enterprise

สำหรับสมาชิกเท่านั้น