การสร้างคุณค่า และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนโอทอป ที่มีการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่จากทรัพยากรพื้นถิ่น สัตว์น้ำจืด ของจังหวัดสุพรรณบุรี

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 27 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630018
นักวิจัย ผศ.ดร. สายชล ชุดเจือจีน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 มิถุนายน 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กรุงเทพมหานคร, กาญจนบุรี, สุพรรณบุรี

ชื่อโครงการ

การสร้างคุณค่า และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนโอทอป ที่มีการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่จากทรัพยากรพื้นถิ่น สัตว์น้ำจืด ของจังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ

ห่วงโซ่คุณค่าใหม่, วิสาหกิจชุมชน, ผลิตภัณฑ์โอทอป, จังหวัดสุพรรณบุรี, ปลาน้ำจืด, สัตว์น้ำจืด, เกษตรกรอัจฉริยะ, พลังงานแสงอาทิตย์, กุ้งก้ามกาม

บทคัดย่อ

จากการวิเคราะห์ปัญหาจาก ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำของกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ปลาดุก กุ้งก้ามกามและกุ้งขาว การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมและศักยภาพ ตามนโยบายแผนพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ.2561-2565 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2563 ) โครงการวิจัยการสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนโอทอป ที่มีการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่จากทรัพยากรพื้นถิ่นสัตว์น้ำจืด ของจังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงกุ้งและ ปลาน้ำจืด ที่เป็นผลิตภัณฑ์โอทอป จังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยบูรณาการศาสตร์ต่างๆ องค์ความรู้ และศักยภาพของบุคลากรบนพื้นฐานต้นทุนเดิม และความร่วมมือจากเครือข่ายที่ทางมหาวิทยาลัยมีความร่วมมือเป็นทุนเดิมในการวิจัยและพัฒนายกระดับการจัดการฟาร์มอัจฉริยะ กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เพื่อจัดการความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงสัตว์น้ำให้เกษตรกร เสริมสร้างขีดความสามารถในการผลิตสินค้าสัตว์น้ำนำไปสู่การยกกระดับพื้นที่แหล่งผลิตสินค้าแปรรูปทางการเกษตรที่มีมาตรฐาน บนพื้นฐานอาหารเพื่อสุขภาพมีมาตรฐานการผลิตที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแปรรูป ตลอดจนยกระดับพื้นที่แหล่งผลิตสินค้าแปรรูปจากสัตว์น้ำ กุ้งและปลาเป็นต้น เป็นตลาดขายสินค้าให้แก่ชาวบ้านผู้บริโภคท้องถิ่น นักท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นจุดจำหน่ายสินค้าให้ผู้บริโภคภายในประเทศประชาชนทั่วไปที่รักสุขภาพ เป็นการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชน เกษตรอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมเพื่อการบริโภคและการส่งออก สร้างความเข้มแข็งในระดับชุมชนเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Title

Value Creation and Value Added of community enterprise OTOP Product from Freshwater animals with New Value Chain as a Local Resources in Suphanburi Province.

Keywords

New Value Chain,community enterprise,OTOP Product,Suphanburi Province,fresh-water fish,Freshwater animals,Smart farmer,Solar Energy,giant freshwater prawn

Abstract

From the analysis of problems from upstream, midstream and downstream of farmers Community enterprise catfish, lobster and white shrimp Environmental and Potential Analysis According to the Suphan Buri Provincial Development Plan Policy, Fiscal Year 2018-2022 (Review Edition B.E. with new value chain management from indigenous freshwater resources of Suphan Buri Province The objective is for research and development to raise farmers groups. Community enterprise that raises shrimp and freshwater fish that are OTOP products Suphanburi Province with innovation and technology through the participation of the community by integrating various sciences, knowledge and potential of personnel on the basis of the original cost and cooperation from the network that the university has jointly invested in research and development to improve the management of smart farms. Large-scale farmer groups to manage external risks with technology and innovation This is to support the use of technology to develop aquaculture careers for farmers. Strengthen the production capacity of aquatic products, leading to upgrading the area of production of processed agricultural products with standards. On the basis of healthy food, there are production standards that are accepted by consumers through scientific and technological processes. By using local wisdom combined with scientific processes to create processed aquatic products as well as upgrading the area for producing processed products from aquatic animals shrimp and fish etc. It is a market to sell products to villagers, local consumers. tourist as well as being a point of sale for domestic consumers and the general public who love health It is a marketing promotion of community products. Agro-industrial and commercial for consumption and export Build strength at the community level for people to have a good quality of life.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น