โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อยกระดับศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 26 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630017
นักวิจัย นางสาวชนิดา ป้อมเสน
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 20: ชุมชนนวัตกรรม
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2020
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กรุงเทพมหานคร, กาญจนบุรี

ชื่อโครงการ

โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อยกระดับศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ

ชุมชนนวัตกรรม,ยกระดับศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชน,จังหวัดกาญจนบุรี

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยเรื่อง การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อยกระดับศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมและนวัตกรชุมชนเพื่อยกระดับศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชนให้มีองค์ความรู้การปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่ ในการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ปัญหาการผลิตที่เกิดขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้าของชุมชนซึ่งจะส่งผลถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนในอำเภอพนมทวน อำเภอท่าม่วง และอำเภอทองผาภูมิ ในจังหวัดกาญจนบุรี

ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างนักวิจัย ภาคีเครือข่ายภาครัฐ และกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ด้วยกระบวนการระดมความคิด (Brainstorming) เพื่อสรุปรวบรวมประเด็นปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาด้วยองค์ความรู้ กระบวนการคิด เทคโนโลยีและนวัตกรรม จำนวน 45 นวัตกรรม การสร้าง learning & Innovation Platform และนวัตกรชุมชน จำนวน 150 คน มีคุณสมบัติวิเคราะห์ปัญหาชุมชน มีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมชุมชน และถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกชุมชนเป้าหมายรวม 15% จากผลการดำเนินงานวิจัยเกิดผลกระทบกับพื้นที่ คือชุมชนเกิดแรงกระตุ้นให้พัฒนาตัวเอง ในหลายด้าน และการเข้ามีส่วนร่วมของหน่วยงานราชการหลายภาคส่วน เกิดการสร้างเครือข่าย และมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างเข้มแข็ง มีแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้กับเยาวชนในพื้นที่ โดยผ่านทางศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) โรงเรียน และวัด เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น

Title

Research and development of community innovation for enhancing the potential and strength of communities in Kanchanaburi

Keywords

Community of innovation,Enhancing the potential and strength of communities,Kanchanaburi

Abstract

This research project, the research and development of community innovations to enhance the potential and strength of communities in Kanchanaburi Province have a purpose to develop innovation and community innovators to enhance the potential and strength of the community to have a body of knowledge, apply local wisdom and technology and modern innovation. To analyze and solve production problems arise to increase the production capacity of the community. Which will result in concrete and sustainable development of their own quality of life in Phanom Thuan District, Tha Muang District and Thong Pha Phum District in Kanchanaburi.

The researcher conducted the research through a process of participation between researchers. government network partners and target groups and stakeholders, community enterprise groups with the brainstorming process (Brainstorming) to summarize the issues and solutions to problems with knowledge, thought processes, technology and innovation, 45 innovations, creating a learning & innovation platform, and 150 community innovators. The innovators are qualified to analyze community problems that have knowledge of technology and community innovation and transfer knowledge and can increase income for members of the target community by 15% from research results that affect the area. The community has been motivated to develop itself in many aspects and the participation of government agencies in many sectors. create a network and strong participation of people in the community. There is a plan to transfer knowledge and technology to youth in the area. through non-formal education centers (NSOs), schools and temples for continuous development from generation to next generation.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น