การยกระดับการผลิต แปรรูป และตลาดโคเนื้อจังหวัดพะเยา เพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่แก่ผลิตภัณฑ์ชุมชน จากเศรษฐกิจฐานรากสู่มูลค่าเชิงพาณิชย์

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 29 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630008
นักวิจัย ดร. ภูวิศสรณ์ ภูมิสรณคมณ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยพะเยา
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 พฤษภาคม 2020
วันที่สิ้นสุด 14 พฤษภาคม 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย พะเยา

ชื่อโครงการ

การยกระดับการผลิต แปรรูป และตลาดโคเนื้อจังหวัดพะเยา เพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่แก่ผลิตภัณฑ์ชุมชน จากเศรษฐกิจฐานรากสู่มูลค่าเชิงพาณิชย์

คำสำคัญ

การแปรรูป,ผลิตภัณฑ์,ห่วงโซ่คุณค่าใหม่,แผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยี,โคขุน

บทคัดย่อ

โครงการวิจัยการยกระดับการผลิต แปรรูป และตลาดโคเนื้อจังหวัดพะเยาเพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่แก่ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากเศรษฐกิจฐานรากสู่มูลค่าเชิงพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างห่วงโซ่คุณค่าของโคเนื้อพะเยาขึ้นมาใหม่ (New value chain) โดยนำจุดอ่อน (weakness) และช่องว่าง (Gap) ของการพัฒนาโคเนื้อพะเยาในห่วงโซ่คุณค่าเดิม (Old value chain) มาทำให้เกิดการยกระดับกระบวนการผลิตโคสายพันธุ์ลูกผสม การเลี้ยงโคและการขุนโคด้วยระบบการจัดการที่ดี การแปรรูปเนื้อโคเป็นผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการสร้างแบรนด์และพัฒนาการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้แก่ผู้บริโภค นอกจากนั้นมีการพัฒนาระบบและกลไกในการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยพะเยาและภาคีเครือข่าย โดยใช้กระบวนการผสมผสานของการทำงานวิจัยเชิงพื้นที่และงานวิจัยเชิงพาณิชย์ การบริหารจัดการทุนวิจัยนี้ใช้กลไกการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยพะเยา โดยสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยพะเยาร่วมกับกองบริหารงานวิจัยภายใต้การกำกับดูแลของ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม การบริหารจัดการชุดโครงการประกอบด้วยการคัดเลือกประเด็นการวิจัย การสรรหานักวิจัยเข้าร่วมโครงการ การสร้างทีมร่วมกันพัฒนาข้อเสนอโครงการ การกำหนดเป้าหมายการทำงานร่วมกัน การเชื่อมโยงนักวิจัยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การพัฒนาศักยภาพนักวิจัย การสนับสนุนให้นักวิจัยเข้ารับการอบมพัฒนาความรู้ การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงาน การติดตามความก้าวหน้าของการวิจัย การจัดประชุมร่วมกับทีมจัดการกลางของ บพท. การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกับมหาวิทยาลัยอื่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยในโครงการย่อย การสรรหานักวิจัยเพิ่มเติมเข้ามาร่วมในโครงการในประเด็นการประเมินผลกระทบทางสังคม การพัฒนาช่องทางการตลาดใหม่ของโคเนื้อและผลิตภัณฑ์จากโคเนื้อพะเยา การถอดบทเรียนจากกระบวนการทำงานทั้งในฝั่งของผู้ประกอบการ นักวิจัย และนิสิตที่เข้าร่วมโครงการ นอกจากนั้นทำการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างช่องทางการรับรู้ถึงแบรนด์โคเนื้อคุณภาพเมืองพะเยา การจับคู่เชื่อมโยงธุรกิจ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและหน่วยงานภาคีเครือข่าย ผลจากการวิจัยได้ทำให้เกิดการเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจของผู้เลี้ยงโคแม่พันธุ์ในการเพิ่มปริมาณโคเนื้อลูกผสมสายพันธุ์ยุโรปเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าใหม่ และสามารถสร้างความตระหนักและความเชื่อมั่นแก่ผู้เลี้ยงโคถึงความสำคัญของสายพันธุ์โคที่ดี ผู้ประกอบการเกิดการเรียนรู้ในกระบวนการเลี้ยงโคขุนเพื่อให้ได้เนื้อที่มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการก่อนเข้าสู่กระบวนการเชือดโคของธุรกิจโรงเขือดและแปรรูป งานวิจัยนี้ได้เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เดิมและสร้างการรับรู้แบรนด์โคเนื้อพะเยาด้วยการแปรรูปโคเนื้อในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่พร้อมบริโภค เพิ่มช่องทางการตลาดของโคเนื้อคุณภาพเมืองพะเยาด้วยการพัฒนากลไกตลาดออฟไลน์และออนไลน์ โดยมหาวิทยาลัยพะเยาได้จัดทำ UP Inno Shop และพัฒนาแบรนด์เนื้อโค UP Beef ทดลองจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการ ทำการเชื่อมโยงผู้ประกอบการต้นน้ำที่ผลิตลูกโคเนื้อลูกผสมและผู้เลี้ยงโคขุนกับกลุ่มผู้ประกอบการที่รับซื้อโคและแปรรูป ส่งผลให้เกิดเป็นห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของโคเนื้อของจังหวัดพะเยาและสามารถจะขยายตลาดและสร้างรายได้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการให้มากขึ้นในอนาคต

Title

The Enhancement of Phayao Beef Production, Processing and Marketing to Create New Value Chain for Local Enterprises to Commercial Value Added

Keywords

Process,Product,New value chain,Technology roadmapping,Beef cattle

Abstract

This research project aims to create a new steam engine of local economy enhancement by up-level entrepreneurship of local enterprises in Thailand. About 317 local enterprises were managed by empowerment and engagement via about 15 teams from area based-universities. One hundred local enterprises were also enhanced by the coordination and administration center. In addition, the coordination and administration center acts as evaluator and monitor the action of university teams who are coworker with the local enterprises. It is the first year of research grant from Area-based Program Management Unit; Local Enterprise. It was focusing on enhancement and increase capacity building of local enterprises by achievement of two key success points. The former was value addition of target local products. Prices of target local products comprising of either local resource or local wisdom were increased more than 10 percentage. The latter was also profit of local enterprise in the network value chain was increased about 10 percentage. They resulted of a management of new network value chain and new income distribution structure, especially the early party as farmers. Both key success points led to motivation of local economy and local circular economy. There are two models of research work comprising area-based universities and the coordination and administration center. The first model is driven by area-based universities about 15 teams. Knowledges, researches, innovations, and academic researchers in university were empowered in the work. Local government and private sector were involved as supporters and facilitators aiming mutual benefit among stakeholders in the new network value chain. There was symbiosis work culture as fair trade. Moreover, research units in area-based universities might be re-organized and re-managed. The impact of this model was not only motivation of local economy but also reinventing university driven that might focus on a suitable solution of impact local problem as a real problem of local enterprise. The knowledge-, research-, and innovation-based university might be implemented in the local people who are in the network value chain. It might be led to self management of local people to their problems. We analyzed a lesson learn of the area-based universities driven. There were about 3 types of research management. In the first type, researcher team empowered local enterprise by trading their products on the real market from target customer including Fatoni University, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, Rajamangala University of Technology Srivijaya, Rajamangala University of Technology Lanna, and Ubon Ratchathani University. The second type, the team built new market channel either target customer or another customer. However, it was not the real market calling pseudo-real market. There are about 2 area-based universities as Huachiew Chalermprakiet University and Rajamangala University of Technology Krungthep. The third type, prototypes of target products was developed and no trading of target products on any market. There are also about 8 area-based universities including Mahasarakham University, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, Rajamangala University of Technology Tawan-ok, Rajamangala University of Technology Rattanakosin, Rajamangala University of Technology Isan, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and Phayao University. The second model is driven by the coordination and administration center under supervision of Assoc. Prof. Bhundit Innawong who emphasize to find out an important trigger point in local business. Result indicated that ego-system management along with eco-system management could solve local business problem. For ego-system of local enterprise, their capacities, performances of effectiveness access managements and holistic business managements were estimated and sought a root cause of business problem following by a new business management via Wow project and financial course as research tools. New network value chain was also performed for eco-system management. Moreover, we build an alternative occupation for local enterprises as a role model. Moreover, we build an alternative occupation for local enterprises as a role model. Performance of university teams was classified by capability of problem extraction and solvation in network value chain. They were divided into 3 groups as Gold, Silver, and Bronze. For monitoring of universities action, we found that most university team must be empowered by Wow project and financial course. The team must realize about business management, especially finance literacy. When they become aware of local business management, they might create appropriate tool for enhancing local business the next year.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น