ชื่อโครงการ
การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพะเยา สู่การสร้างชุมชนนวัตกรรมคำสำคัญ
เกษตรกรรมยั่งยืน,พะเยา,ชุมชน,นวัตกรรมบทคัดย่อ
แผนงานวิจัย การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพะเยา สู่การสร้างชุมชนนวัตกรรม มีโครงการย่อย 2 โครงการ ได้แก่ โครงการวิจัยการพัฒนาชุมชนนวัตกรรมด้วยองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ ของเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพะเยา และโครงการการพัฒนาการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ระดับชุมชน เชื่อมโยงเครือข่ายระดับจังหวัดและประเทศของเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน จังหวัดพะเยา เป็นงานวิจัยเพื่อยกระดับเกษตรกรสมาชิกสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดพะเยาสู่การเป็นต้นแบบของชุมชนนวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งต้นทางการผลิต จนถึงขบวนการทางการตลาด โดยใช้ชุมชนต่างๆในจังหวัดพะเยาที่เป็นสมาชิกสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพะเยา จำนวน 10 ชุมชนเป็นต้นแบบการผลิตพืชอินทรีย์ โดยเกณฑ์ที่ใช้การคัดเลือกชุมชนเป้าหมายคือเป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพสูง มีทัศนคติและแนวคิดที่ดีในการทำเกษตรอินทรีย์ เป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็งและผู้นำมีความเสียสละ รวมทั้งมีความพร้อมและมีความมุ่งมั่นในการทำระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน โดยนำภูมิปัญญาเดิมที่กลุ่มเกษตรกรมีอยู่แล้วร่วมกับองค์ความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ ผ่านกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและนักวิจัยชุมชนที่เป็นทั้งนักวิจัยหลักและนักวิจัย โดยงานวิจัยหรือนวัตกรรมที่ส่งต่อเป็นนวัตกรรมที่แก้ไขปัญหาการผลิตพืชผักอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรที่ทำการเกษตรอินทรีย์ มีการใช้กระบวนการจัดการแบบมีส่วนร่วม ผ่านกระบวนการคิด การวางแผน การทดลองหาแนวปฏิบัติในการผลิตพืชอินทรีย์ให้เป็นระบบตั้งแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ การผลิตต้นกล้าผักอินทรีย์ การกำจัดศัตรูพืชแมลงแบบผสมผสาม การจัดการวัชพืชเพื่อในระบบการผลิตพืชอินทรีย์ การผลิตเห็ดอินทรีย์ การทำข้าวฮางงอกอินทรีย์ที่มีสารกาบ้าสูง และการผลิตไข่ไก่อินทรีย์กาบ้าสูง ซึ่งได้พัฒนาขบวนการวิจัยร่วมกับนวัตกรชาวบ้าน และพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายในตลาดเป้าหมาย 5 ร. ได้แก่ ร้านค้าชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาล ร้านอาหาร และโรงแรม และมีแนวโน้มสู่การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์สู่ตลาดต่างประเทศ โดยนวัตกรชุมชนสามารถเป็นต้นแบบของการพัฒนาองค์ความรู้ และถ่ายทอดให้กับผู้สนใจอื่นต่อไปได้ นอกจากนี้ได้มีการศึกษาในประเด็นของผลกระทบทางเศรษฐกิจของชุมชนนวัตกรรมทั้ง 10 ชุมชน
ก่อนเริ่มดำเนินโครงการมีมูลค่ารวมทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 11,170,941 บาท และภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมชุมชนนวัตกรรมมีมูลค่ารวมทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 13,063,256 บาท ซึ่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในภาพรวมของทั้ง 10 ชุมชนเพิ่มขึ้นจากเดิมเท่ากับ 16.94 % ส่วนในประเด็นของการวัดมูลค่าทางสังคมหลังเข้าร่วมโครงการ สรุปได้ว่า ลงทุนในโครงการวิจัยนี้ 1 บาท ได้ผลตอบแทนคืนมา 1.24 บาท หมายความว่าการลงทุนนี้มีความคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียได้กลุ่มนักวิจัยชุมชน 10 ชุมชน และแกนนำสมาชิกชุมชน 10 ชุมชน ได้รับผลตอบแทนหรือผลประโยชน์จากการจัดกิจกรรมของโครงการวิจัยนี้มากที่สุดและน้อยที่สุด คือ 44.24% และ 14.48% ตามลำดับ
Title
The Development of Network in Phayao Sustainable Agriculture to the Community InnovationKeywords
Agricultural sustainable,Phayao,Community,InnovationAbstract
The research plan “The Development of Network in Phayao Sustainable Agriculture to the Community Innovation” is composed of 2 subprojects: The Development of Community Innovation with Organic Farming Knowledge of Network in Phayao Sustainable Agriculture, and The Development of Marketing for Organic Agricultural Product at the Community Level connecting the provincial and national networks of the Sustainable Agriculture Network in Phayao Province. This research aimed to upgrade the farmers, who were members of Phayao Sustainable Agriculture Confederation to become a model of a participatory organic agricultural innovative community. Knowledge sharing and learning from the upstream production to the market management was conducted in 10 selected organic plant production communities who were the members of Phayao Sustainable Agriculture Confederation. The selected target communities had to be the farmer groups with high potential, a good attitude, innovative ideas in organic agriculture, significant production capability, strong leadership, as well as readiness and commitment in regulating organic agricultural system for sustainability. Conventional wisdom that farmers already have combined knowledge in organic farming was applied through community participatory research process, by community researchers, who were both primary and co-researchers. The projects used participatory management, integrated design, planning, and searching for the best practices in plant production system including: organic rice and vegetable seed production, organic fertilizer production, vegetable-sprout production, integrated pest management, weed management, organic mushroom production, high GABA-germinated brown rice, and high GABA egg production. The knowledge and understanding gained by this research were a result of the innovations that solved the farmer’s problems in organic plant production, to produce better quality products. Distribution channels were developed in 5 targeted markets: local shops, schools, hospitals, restaurants, and hotels. There is significant potential in these organic agricultural products for exporting. Local innovators can be models of knowledge development and can thereby transfer these methods and techniques to others. Moreover, the economic impacts of the 10 innovative communities were studied.
The total value before this project started, and after the project was finished were 11,170,941 and 13,063,256 baht, respectively. This overall economic impact of 10 communities was a 16.94% increase in total value, while a measurement of social value after the project ended, showed that the return of investment 1 baht was 1.24 baht. This demonstrates that this investment was worth the initial cost. Stakeholders who were the local researchers, and the leaders from 10 communities, received the greatest and the least return from this project, which is 44.24% and 14.48% gain respectively.