ชื่อโครงการ
การพัฒนาศักยภาพชุมชนบนฐานการทำงานตามโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล ของมหาวิทยาลัยพะเยาสู่การเป็นชุมชนนวัตกรรมคำสำคัญ
โครงการ 1 คณะ 1 โมเดล,ทุนทางสังคม,การวิจัยเชิงพื้นที่,ชุมชนนวัตกรรมบทคัดย่อ
โครงการ “การพัฒนาศักยภาพชุมชนบนฐานการทำงานตามโครงการ 1 คณะ 1 โมเดล ของมหาวิทยาลัยพะเยา” ดำเนินโครงการบนกรอบแนวคิด บทบาทการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ ตามนโยบายการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) โดยการดำเนินเพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่การใช้ประโยชน์จริงในชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวคิดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ผนวกกับการทำงานเชิงพื้นที่อย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัยพะเยา ตามปณิธาน “ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน” โครงการนี้มีจำนวน 10 โครงการย่อย มีการดำเนินงานในพื้นที่จำนวน 10 ตำบลของจังหวัดพะเยา ประกอบด้วย ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง ตำบลหนองหล่มและตำบลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ ตำบลเชียงบาน ตำบลหย่วนและตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ ตำบลลอและตำบลจุน อำเภอจุน ตำบลเจริญราษฏร์ อำเภอแม่ใจ และตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน ซึ่งโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการเรียนรู้และปรับใช้นวัตกรรม สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงและจัดการปัญหาในชุมชนได้อย่างยั่งยืนในพื้นที่ 10 ชุมชน ของจังหวัดพะเยา และพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่การเป็นชุมชนนวัตกรรมด้วยกลไก (1) สร้าง Learning and innovation platform (2) สร้างนักวิจัยชาวบ้าน/นวัตกรชาวบ้าน (3) ถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมาย (4) สร้างนวัตกรรมเข้าสู่การทำแผนพัฒนาตำบล/ ท้องถิ่นสามารถเชื่อมต่อกับแผนพัฒนาจังหวัด โครงการวิจัยนี้มีแนวทางในการบริหารจัดการโดยมีผู้บริหารระดับรองอธิการบดี เป็นผู้กำกับดูแล และส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานตั้งแต่ระยะต้นน้ำ โดยการกำหนดกรอบแนวคิด นโยบาย กลยุทธ์ในการบริหารจัดการ กำหนดโครงสร้างการบริหารแผนงาน พัฒนาประเด็นโจทย์วิจัยโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ระยะกลางน้ำ โดยสนับสนุนส่งเสริมการบริหารจัดการ การจัดทำสัญญา ด้านการเงิน การคลัง การพัสดุ และการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน การติดตาม/ ประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการด้วยคณะกรรมการ Model Appreciative Inquiry (MAI) สนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานในระยะปลายน้ำ โดยจัดให้มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการถอดบทเรียน (Knowledge Management; KM) เพื่อให้ได้มาซึ่ง Learning and Innovation Platform (LIP) ของแต่ละพื้นที่ และการให้รางวัลและการจัดนิทรรศการและเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ทำให้การดำเนินงานในพื้นที่ 10 ชุมชน โดย 10 โครงการย่อย บรรลุวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ ดังนี้ 1) เกิด 10 ชุมชนนวัตกรรม 2) เกิด 25 นวัตกรรม/ เทคโนโลยี 3) เกิดนวัตกรชุมชน/ นักวิจัยชาวบ้าน จำนวน 266 คน 4) ทำให้เศรษฐกิจชุมชนเติบโตขึ้นจากฐานการทำงานเดิม โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของชุมชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.34 และอัตราการลดลงของมูลค่าการเสียโอกาสทางเศรษฐกิจของชุมชน ลดลงร้อยละ 47.49 และ 5) เกิดกระบวนการการเรียนรู้ Learning and Innovation Platform จำนวน 10 กระบวนการ นอกจากนี้ยังได้มีกระบวนการจัดทำแผนเพื่อพัฒนาพื้นที่บนโจทย์การทำงานของโครงการเพื่อเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนในระยะต่อไป ผลจากการดำเนินงานของโครงการนี้ ยังสามารถต่อยอดสู่การสร้างชุมชนนวัตกรรมในพื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัดพะเยา และเพื่อเป้าหมายพัฒนาจังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดแห่งชุมชนนวัตกรรมต่อไป
Title
Community potential development based on one faculty - one project of University of Phayao for enhancing to be smart communityKeywords
Social capital,Area-based research,Smart,One faculty - one project,Smart communityAbstract
The Project “Community potential development based on one faculty – one project of University of Phayao for enhancing to be smart community” was operated under the concept of the University as the local developer in accordance with the Reinventing Universities policy. The project aimed to connect the knowledge with the actual application in the communities to achieve the sustainable development related with the concept of sustainable development goals (SDGs), in collaboration with the continual local works of University of Phayao under the philosophy “Wisdom for Community Empowerment.” The project comprised of 10 sub-projects, operated in 10 sub-districts of Phayao Province, consisting of San Pa Muang Sub-district in Mueang Phayao District, Nong Lom Sub-district and Dok Khamtai Sub-district in Dok Khamtai District, Chiang Ban Sub-district, Yuan Sub-district and Wiang Sub-district in Chiang Kham District, Lor Sub-district and Chun Sub-district in Chun District, Charoen Rat Sub-district in Mae Chai District and Sa Sub-district in Chiang Muan District. The project’s objective was to empower the communities with regard to innovation leaning and adoption. The communities should be able to use the knowledge to drive the changes and sustainably solve the local problems in the 10 communities of Phayao Province and transform the administration process to the innovative communities via the following mechanisms (1) Creation of learning and innovation platform (2) Creation of local researchers / innovators (3) Knowledge Technology and innovation transfer in consistence with the context of the target groups (4) Integration of innovation with the sub-district / local development plan in connection with the provincial development plan This research project was managed by the University executives of vice-president level. The vice-presidents supervised and promoted the operations in the beginning stage, such as determination of the management concept, policy and strategy, determination of the workplan management structure, development of research questions, in the intermediate stage, such as management promotion, execution of financial, monetary and supplies contracts, activity arrangement for operation promotion, monitoring/ evaluation of the project’s progress by Model Appreciative Inquiry (MAI) committee, and in the final stage, such as establishment of the knowledge exchange and knowledge management (KM) process to develop the learning and innovation platform (LIP) of each area, awarding and exhibition organization, and publicizing of the outcomes of the project. As a result, the operations of 10 sub-projects in the 10 communities achieved the objectives and met the determined indicators, as follows 1) 10 Smart communities were established. 2) 25 innovations / technologies were created and implemented. 3) 266 local researchers / innovators were developed. 4) The community economy grew up from the original economic base by 25.34% and the value of opportunity cost of the local economy decreased by 47.49 %, and 5) 10 learning and innovation platforms were established. In addition, the project set up the local development plan in accordance with the operational requirements of the project to further propose for the consideration of the strategic plan for the Upper Norther provinces. The outcomes of the project could also be used to develop the Smart communities in other areas of Phayao to further transform Phayao province to the Smart community province.