ชื่อโครงการ
การจัดการทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อรักษาคุณค่าสู่การยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจของเซรามิก จังหวัดลำปางคำสำคัญ
การพัฒนา,เซรามิก,การออกแบบ,การยกระดับ,ผลิตภัณฑ์เซรามิก,ความยั่งยืนบทคัดย่อ
การจัดการทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อรักษาคุณค่าสู่การยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจ ของเซรามิก จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ เพื่อรักษาคุณค่าสู่การยกระดับมูลค่าเซรามิกลำปางด้วยคุณค่าใหม่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่จากทุนทางวัฒนธรรมจังหวัดลำปางยุคล้านนา เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเซรามิกระดับครัวเรือนด้วยอัตลักษณ์ใหม่จากทุนทางวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง เพื่อหาแนวทางในการทำการตลาดสำหรับการยกระดับผลิตภัณฑ์เซรามิกระดับครัวเรือนจังหวัดลำปางและเพื่อสังเคราะห์ผลลัพธ์และถอดบทเรียน การจัดการทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจของเซรามิก จังหวัดลำปาง โดยมีกลุ่มตัวอย่างโรงงานเซรามิกระดับครัวเรือนในจังหวัดลำปาง 12 ราย ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ผลการวิจัยพบว่าได้ระบบบริหารจัดการโครงการวิจัย 1 ระบบ ระบบติดตามความก้าวหน้าของโครงการวิจัยย่อย 1 ระบบ รูปแบบการจัดการทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจของเซรามิก จังหวัดลำปาง 1 รูปแบบ เกิดเครือข่ายจากกระบวนการและกลไกความร่วมมือในพื้นที่เป้าหมาย 1 เครือข่าย ได้ชุดความรู้ 4 ชุด คือ
1) การรักษาคุณค่าสู่การยกระดับมูลค่าเซรามิกลำปางด้วยคุณค่าใหม่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น 6 แนวทาง
2) อัตลักษณ์ใหม่จากทุนทางวัฒนธรรมจังหวัดลำปางยุคล้านนา 9 อัตลักษณ์
3) การพัฒนาผู้ประกอบการเซรามิกระดับครัวเรือนด้วยอัตลักษณ์ใหม่จากทุนทางวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง 12 โรงงานและ
4) แนวทางในการทำการตลาด “การสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยเซรามิกครัวเรือนผ่านอัตลักษณ์เชิงวัฒนธรรม” เกิดนวัตกรจากกระบวนวิจัยจำนวน 16 คน ซึ่งเป็นสมาชิกในชุมชน ผู้ประกอบการและสมาชิกในโรงงานเซรามิกระดับครัวเรือนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้แก่สมาชิกในชุมชนและผู้สนใจได้ เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ 12 รูปแบบ ได้แผนที่วัฒนธรรมแหล่งผลิตเซรามิกระดับครัวเรือน 13 แผนที่ จากการบูรณาการอัตลักษณ์ใหม่จากทุนทางวัฒนธรรมจังหวัดลำปางยุคล้านนา ซึ่งกระบวนการวิจัยทั้งชุดโครงการมีความเชื่อมโยงความเป็นสิริมงคลของดินขาวลำปาง ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์ ผสานกับกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ทุนทางวัฒนธรรมล้านนาจังหวัดลำปางสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ใหม่และการพัฒนากิจกรรมการตลาด ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการเซรามิกระดับครัวเรือน โดยมี 2 โรงงานอาสาสมัครผลิตสินค้าภายใต้แนวคิด “ระฆังอธิษฐาน” ทดสอบรูปแบบวิธีการทำการตลาดแบบรวดเร็ว (Fast-track Marketing) ณ วัดดอยพระฌาณ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ระยะเวลา 5 เดือน ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้คือมากกว่าร้อยละ 30 ของรายได้เดิม และเกิดกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในชุมชน และการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจที่มีความสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้องกับเซรามิกระดับครัวเรือนในรูปแบบ Sharing Marketing การแบ่งปันทางการตลาดให้กับผู้อื่นในการทดสอบตลาด ก่อให้เกิดรายได้จากการจำหน่ายสินค้าที่เชื่อมโยงกับระฆังอธิษฐานรวมถึงการจ้างงานเพิ่มเป็นมูลค่ากว่า 925,000 บาท ในส่วนของการเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สาธารณะ ดำเนินการผ่านหนังสือองค์ความรู้จากการวิจัย 3 เรื่อง สื่อ Online จากกระบวนการวิจัย 2 เว็ปไซต์ 1 เพจเฟซบุ๊กและนิทรรศการแสดงผลงานวิจัย 1 ครั้ง
Title
A Management of Local Culture Capital for Maintaining Value to Enhance Lampang Province’s Ceramic Economical ValueKeywords
Development,Ceramics,Creative,Upgrading,Ceramic Products,SustainabilityAbstract
The objectives of the management of local cultural capital to maintain values to enhance the economic value of ceramics in Lampang Province were to maintain the value to upgrade the value of Lampang ceramics with new values based on local identity to create a new identity from the cultural capital of Lampang Province in the Lanna era, to develop ceramic entrepreneurs at the household level with a new identity from the cultural capital of Lampang Province, to find marketing guidelines for upgrading ceramic products at household level in Lampang Province, and to synthesize results and take lessons from the management of local cultural capital to enhance the economic value of ceramics, Lampang Province, with a sample group of 12 household ceramic factories in Lampang Province. It conducted as an integrated research. The results showed that there was 1 research project management system, 1 sub-research progress monitoring system, and 1 model of local cultural capital management to enhance the economic value of ceramics in Lampang Province. Processes and cooperation mechanisms in the target area 1 network received 4 sets of knowledge:
1) value preservation towards upgrading the value of Lampang ceramics with new values based on local identity for 6 approaches,
2) new identity from industrial capital Lampang culture in the Lanna era for 9 identities,
3) the development of household ceramic entrepreneurs with new identity from the cultural capital of Lampang province for 12 factories, and
4) marketing guidelines “Creating a community economy with ceramics households through cultural identity” 16 innovators were born from the research process who are members of the community. Entrepreneurs and members of a household ceramic factory who are a sample group that can transfer knowledge to community members and interested parties 12 new products were born, 13 cultural maps of household ceramic production sites were obtained from the integration of new identity from the cultural capital of Lampang Province in the Lanna era. The integrated study, which including one project management research and four sets of knowledge researches, related to propitiousness of Lampang kaolin both in scientific and historical fields. Then the integrated study coordinated with knowledge management process transforming Lanna cultural capital of Lampang province to new identity product design. After that marketing activities were designed and applied, and this progress later caused small ceramic factories to generate income. There were 2 volunteer factories to produce products under the concept “Prayer Bells” tested a model of fast-track marketing at Doi Phra Chan Temple, Mae Tha District, Lampang Province, for a period of 5 months, resulting in an increase in income exceeding the target of more than 30 percent of the original income and the economic driving mechanisms within the community and the link between businesses connected to or related to household ceramics in the form of Sharing Marketing. It generates income from selling products linked to prayer bells, including an increase in employment worth more than 925,000 baht. In terms of disseminating and transferring knowledge to the public, it conducted through 3 research knowledge books, online media from research processes, 2 websites, 1 Facebook page, and 1 research exhibition.