กลไกการขับเคลื่อนระบบนิเวศเศรษฐกิจสีเขียวอย่างไม่เป็นทางการเมืองขอนแก่น กรณีศึกษา: การสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ให้กับผักอินทรีย์

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 33 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A15F640034
นักวิจัย ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร. สักรินทร์ แซ่ภู่
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การพัฒนาเมืองและกลไกการเติบโตใหม่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P15 เมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 พฤษภาคม 2021
วันที่สิ้นสุด 30 เมษายน 2022
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ขอนแก่น

ชื่อโครงการ

กลไกการขับเคลื่อนระบบนิเวศเศรษฐกิจสีเขียวอย่างไม่เป็นทางการเมืองขอนแก่น กรณีศึกษา: การสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ให้กับผักอินทรีย์

คำสำคัญ

การสร้างพื้นที่,ความมั่นคงทางอาหาร,ศูนย์เรียนรู้,พื้นที่สีเขียวนันทนาการ, นิเวศเศรษฐกิจสีเขียว

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้เกิดขึ้นจากประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหารในเมืองซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในวิกฤติการณ์โรคระบาดโควิด 19 การสร้างพื้นที่ในการสร้างพื้นที่เกษตรกรรมในเมืองอาจเกิดขึ้นได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้พื้นที่รกร้าง การใช้พื้นที่รอการพัฒนา การใช้พื้นที่สาธารณะ หรือ การสร้างบูรณาการของการใช้พื้นที่ที่หลากหลายผสมผสานระหว่างพื้นที่เกษตรกรรมกับกิจกรรมของการท่องเที่ยว งานวิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการคือ (1) ศึกษา วิเคราะห์ เชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้ประกอบการต้นน้ำเดิมด้านการผลิตผักอินทรีย์รอบเมือง ฐานข้อมูลกลางน้ำในด้านระบบการกระจายสินค้า และฐานข้อมูลปลายน้ำที่เป็นร้านอาหารที่ปลอดภัย ไปสู่การเข้าถึงฐานข้อมูลได้จากกลุ่มผู้บริโภค (2) พัฒนาและออกแบบต้นแบบระบบการผลิตผักอินทรีย์ในเมืองและรอบเมือง (3) ส่งเสริมการก่อเกิดของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ด้านผักอินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับทั้งในห่วงโซ่ ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำใหม่ (4) จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนความรู้ ในการพัฒนาผู้ประกอบการร่วมกันของภาคีความร่วมมือและกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ในเมือง และ (5) สร้างการจัดการกลไก ระบบนิเวศเศรษฐกิจสีเขียว และพัฒนาระบบตลาดผักอินทรีย์ที่ปลูกโดยรอบเมือง โดยผลของการศึกษาได้ถูกจำแนกออกเป็น 3 ส่วนคือ (1) การพัฒนาศักยภาพนิเวศต้นน้ำ ได้แก่ การกำหนดพื้นที่เหมาะสมเพื่อเกษตรกรรมในเมืองและรอบเมือง การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงพื้นที่รกร้างเป็นพื้นที่การผลิตผักอินทรีย์ การยกระดับศักยภาพของเกษตรกรรายย่อยในการผลิตผักอินทรีย์ การสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มการเข้าถึงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคผักอินทรีย์ การสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านรายได้ทางอ้อมจากคาร์บอนเครดิต (2) การพัฒนาศักยภาพนิเวศกลางน้ำ ได้แก่ การพัฒนาและยกระดับทักษะทางตลาดออนไลน์และบรรจุภัณฑ์ให้กับเกษตรกร การพัฒนาและทดลองการขายรถพุ่มพวงตลาดเขียว การสร้างนิเวศในการบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ การพัฒนาและยกระดับการปรุงอาหารของร้านอาหารอย่างไม่เป็นทางการ และ (3) การพัฒนาศักยภาพนิเวศปลายน้ำ คือ การสร้างการรับรู้แก่ผู้บริโภคด้านอาหารอินทรีย์ การสร้างกลไกการตรวจสอบย้อนกลับด้านคุณภาพของผักอินทรีย์ของเมือง การสร้างทัศนคติในการบริโภคผักอินทรีย์ให้กับประชาชนและเยาวชน การเชื่อมโยงนิเวศการผลิตผักอินทรีย์เข้ากับนิเวศเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเทคโนโลยี

Title

Khonkaen Informal Green Economy Ecosystem Driven Mechanism: The case of new network value chain for organic vegetable

Keywords

Place Making,Securing Food,Learning Centre,Green Recreation, Green Economy Ecology

Abstract

The research problem is based on the issue of urban food security during the COVID-19 pandemic crisis. The landscape of urban farming can be created in a variety of ways, such as the use of wasteland, non-development land, public space, or even the integration of agriculture areas with tourism activities. The research objective is as follows: (1) to study, analyse, and link the databases of upstream entrepreneurs in organic vegetable production around the city, the mid-stream database in product distribution, and the downstream database in consumer groups; (2) to develop and design prototypes of the organic vegetable production system in and around the city; (3) to encourage the young and new generation of organic vegetable entrepreneurs involved in the upstream – midstream – downstream chains; (4) to organize the workshop for knowledge exchange in the development of joint entrepreneurship among the cooperation and business groups in the city; and (5) to establish and develop the management mechanism, green economy ecosystem, and market system for organic vegetable growth around the city. The results of the study were divided into three parts: (1) upstream ecosystem: developing and transforming wasteland into organic vegetable production; upskilling small entrepreneur and farm; creating an open platform between organic vegetable producers and consumers; and encouraging learning exchanges on indirect income from carbon credits; (2) midstream ecosystem: developing and upgrading skills in online marketing and packaging for farmers; developing an open platform between organic vegetable producers and consumers; and encouraging learning exchanges on indirect income from carbon credits.(3) downstream ecosystem; encouraging customer awareness of organic food, establishing a quality inspector mechanism for urban organic vegetables, promoting the attitude toward consuming organic vegetables among people and youth, and linking the organic vegetable production ecosystem with the creative and digital economies.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น