ชื่อโครงการ
โครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยโครงงานฐานวิจัยและกระบวนการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้คำสำคัญ
คำสำคัญ,โครงงานฐานวิจัย,กระบวนการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย,การศึกษาเชิงพื้นที่บทคัดย่อ
โครงการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนประถมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 35 โรงเรียนให้กับนักเรียนในช่วงชั้นอนุบาล-ม.3 โรงเรียนทั้งหมดนี้ได้เข้าร่วมพัฒนาการสอนให้กับครู เพื่อจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยการจัดสอน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ในช่วงชั้นอนุบาล-ป.3 และโครงงานฐานวิจัย ในช่วงชั้น ป.4-ม.3
เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ โครงการนี้จึงพัฒนา
(1) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครู
(2) ทักษะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู และ
(3) รูปเเบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับโรงเรียน เพื่อให้ครูมีพื้นที่เเลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก โครงการนี้จึงช่วย
โรงเรียน จัดตั้งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครู ซึ่งมีทั้งหมด 3 ชุมชน นั่นคือ
(1) ชุมชนของกลุ่มครู ซึ่งแยกเป็นกลุ่มครูช่วงชั้นอนุบาล กลุ่มครูช่วงชั้น ป.1-ป.3 และกลุ่มครูช่วงชั้น ป.4-ม.3
(2) ชุมชนของกลุ่มครูทั้งโรงเรียน
(3) ชุมชนของกลุ่มครู 35 โรงเรียน ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผลของกิจกรรมชุมชนนี้ ทำให้ครู มีความรู้ วิธีการสอน และแนวทางแก้ปัญหาชั้นเรียน จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนครู ครูที่เข้าร่วมในโครงการนี้ได้รับการพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกจากกิจกรรมการเรียน รู้ต่าง ๆ คือ
(1)การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกด้วยตนเอง
(2)การแลกเปลี่ยนการสอนกับเพื่อนครู
(3)การรับคำปรึกษาจากโค้ชการสอน และการสรุปบทเรียนร่วมกับครูต่างโรงเรียน
เมื่อได้รับการพัฒนาทักษะเป็นเวลาหนึ่งปี ครูประมาณ 266 คน มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และพร้อมเป็นกำลังสำคัญในการขยายผลสู่โรงเรียนอื่น ๆ
รูปเเบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโครงการนี้ ได้จัดสอนในโรงเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลไปจนถึงม. 3
รูปเเบบการจัดการเรียนรู้นี้ประกอบด้วยรูปเเบบการฝึกทักษะวิทยาศาสตร์เบื้องต้น สำหรับนักเรียน ช่วงชั้นอนุบาล-ป.3
รูปเเบบการฝึกทักษะการวิจัยสำหรับนักเรียนช่วงชั้น ป.4-ม.3 เพื่อให้นักเรียน ทุกช่วงชั้น มีพัฒนาการเรียนรู้ตามลำดับขั้น องค์ประกอบของรูปเเบบนี้มี
(1) คาบเรียนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
(2) กิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
(3) กิจกรรมเปิดบ้าน สำหรับเป็นพื้นที่การเรียนรู้ร่วมของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
(4) โรงเรียนมีแผนกลยุทธ์การพัฒนาที่มีกิจกรรมการสอนเชิงรุกนี้
(5) เครือข่ายการเรียนรู้ร่วม 3 ฝ่าย คือมหาวิทยาลัย (เป็นโค้ช)โรงเรียน (เป็นผู้ปฏิบัติ) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (เป็นพี่เลี้ยง)
ที่หนุนเสริมการพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียน ผลจากการใช้รูปเเบบใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกพบว่า โรงเรียนในโครงการทั้งหมด 35 โรงเรียน ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้รูปเเบบนี้ คือเชิงรุก นั่นคือ
(1) โรงเรียนจัดสอนครบหนึ่งปี
(2) ผู้ปกครองและชุมชนยอมรับการสอนแบบนี้และให้โรงเรียนจัดสอนต่อ
(3) นักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นทุกตัวชี้วัดด้านสมรรถนะ (ทักษะวิทยาศาสตร์และสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ และสังคม) ของนักเรียนชั้นอนุบาล-ป.3 และด้านผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ (ความรู้ ทักษะพื้นฐาน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์) ของนักเรียนชั้น ป.4-ม.3 สรุป รูปแบบการจัดการเรียนเชิงรุกทั้งโรงเรียนนี้ มีประสิทธิภาพในการพัฒนานักเรียนให้มีทักษะศตวรรษที่ 21
จากคะแนนตัวชี้วัดด้านผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ ที่ประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ และสร้างครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกนี้ นอกจากนี้โรงเรียนนำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสามจังหวัดที่อยู่นอกโครงการนี้จำนวน 9 โรงเรียนได้นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกนี้ ไปใช้เป็นนวัตกรรมในหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และจากการถอดบทเรียนเชิงระบบของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พบว่า กฎระเบียบและแนวความคิดเป็นอุปสรรคในการพัฒนาการศึกษา ทำให้โรงเรียนไม่สามารถดำเนินงานอย่างเป็นอิสระดังนั้นการสร้างพื้นที่เรียนรู้ร่วมกันระหว่างโรงเรียนและคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จะทำให้เกิดความเข้าใจและเปลี่ยนแปลงเพื่อเป้าหมายเดียวกัน
Title
Development of Students’ Learning Potential using Research-Based Learning and Little Scientists House Approaches in Education Innovation Areas of Southern Border ProvincesKeywords
Keywords,Project Based Learning,Little Scientist House,Area basedAbstract
The goal of this project is to implement active learning management systems in 35 schools for students at primary and secondary levels in three southern border provinces.
These participating schools developed teachers’ skills to teach in active learning classrooms using the Little Scientists House (LSH) approach for students at grade 1-3 and the Research-Based Project (RBP) approach for students at grade 4-6.
To achieve this goal, these schools in collaboration with this project develop
(1) professional learning communities (PLC) for teachers,
(2) teaching skills and tools for active learning classrooms.
(3) teaching formats for active learning in schools.
This project facilitated participating schools to develop three main teachers’ PLCs; that is,
(1) communities for teachers during grade 1-3 and grade 4-6,
(2) communities for all teachers at each school and
(3) communities for all teachers from all participating schools that are organized by Prince of Songkla university.
Activities from these communities enable teachers to learn teaching strategies and how to solve problems happening in class. Two teaching formats were implemented in the participating schools for students at grade 1-6. The first format is to develop elementary scientific skills for students at grade 1-3, and the second format is to develop research skills for students at grade 4-6.
Major elements of all teaching formats include
(1) a weekly lesson for at least 2-3 hours,
(2) at least one activity organized by teachers’ PLCs per week,
(3) open-house activities where teachers, parents, students and local communities exchange their ideas about these active learning classrooms,
(4) schools’ strategies to improve these teaching formats, and
(5) communities, where Prince of Songkla university, schools and the office of the basic education commission share ideas about these active learning systems.
All 35 participating schools can implement these teaching formats. These schools have used these formats for one year consecutively. Parents and local communities also accept and prefer these formats for their children to learn from active learning classrooms by the schools. Finally, students have a significant increase in scores according to competency assessments for students at grade 1-3 and indexes that measure learning outcomes for students at grade 4-6.