การพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ระยะที่ 2

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 98 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A14M640122
นักวิจัย นายแมน ปุโรทกานนท์
หน่วยงาน -
ทุนวิจัย งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีงบประมาณ 2564
แผนงานหลัก การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาคนจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
Flagship
วันที่เริ่มต้น 1 มิถุนายน 2021
วันที่สิ้นสุด 31 กรกฎาคม 2022
ระยะเวลา 1 ปี 2 เดือน
สถานที่ทำวิจัย กาฬสินธุ์, ชัยนาท, ปัตตานี, แม่ฮ่องสอน, ยโสธร, ศรีสะเกษ, สกลนคร, สุรินทร์, อำนาจเจริญ

ชื่อโครงการ

การพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ระยะที่ 2

คำสำคัญ

ลดความยากจนแบบมุ่งเป้า,ความยากจนหลายมิติ,ระบบการดำรงชีพอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

บทสรุปผู้บริหาร โครงการ การพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ระยะที่ 2 (ระยะเวลาดำเนินการ 1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2565) ดำเนินการต่อเนื่องจากโครงการ ระยะที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำบทเรียนทั้งผลสำเร็จและข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการระยะแรกของ 10 จังหวัดนำร่อง ไปสู่การปรับปรุง ต่อยอด ขยายผล และส่งเสริมให้มีการพัฒนาตัวแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับพื้นที่ ตลอดจนพัฒนาระบบเชื่อมโยงกลไกและภาคี ในปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างมีส่วนร่วม (Provincial Poverty Platform: PPP) ทั้งระดับพื้นที่และระดับหน่วยงานส่วนกลางในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ชัยนาท ปัตตานี มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ และอำนาจเจริญ โจทย์สำคัญของการวิจัยในระยะที่ 2 คือ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลครัวเรือนคนจนเป้าหมาย ที่มีมาตรฐานและน่าเชื่อถือ (quality assurance) การพัฒนาตัวแบบในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จด้วยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย การสนับสนุนให้มีการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนให้สอดคล้องกับปัญหาและศักยภาพของครัวเรือนเป้าหมาย และการขยายผลให้เป็นที่ยอมรับจากองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าควรมีกระบวนการอย่างไร จะต้องใช้องค์ความรู้ที่จำเป็นอะไรบ้าง และจะต้องเชื่อมโยงกลไกในการขับเคลื่อนอย่างไร

ผลการศึกษาที่สำคัญ ประกอบด้วย

1. การพัฒนาระบบข้อมูล เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบพัฒนาระบบข้อมูลและการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ในการค้นหากลุ่มเป้าหมาย ด้วยระบบค้นหา-สอบทานทั้งที่เป็นพื้นที่ปฏิบัติการ (on-site) และการสอบทานด้วยระบบดิจิทัล (online) ระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนเป้าหมายของโครงการฯ ได้รับการออกแบบให้มีระบบสอบทาน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีความร่วมมือในระดับพื้นที่ (ตำบล-อำเภอ) เพื่อกระจายอำนาจ ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล สภาวะความยากจนในระดับพื้นที่ (Area-based-poverty profile) เพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามความคืบหน้าของข้อมูลครัวเรือนคนจนเป้าหมาย ทั้งในระดับอำเภอ-ระดับจังหวัด และสามารถแสดงผลการประมวลข้อมูล (data visualization) ให้สอดคล้องกับฐานทุนดำรงชีพ และตัวชี้วัดที่กำหนดสภาวะความยากจนของครัวเรือนเป้าหมายกลุ่มต่างๆ นี้ได้รับการจำแนกไว้ การพัฒนาระบบข้อมูลที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถกำหนดเงื่อนไขพร้อมออกแบบรายงาน ส่งต่อข้อมูลเพื่อให้สามารถช่วยเหลือ ลดทอนบรรเทาความเดือดร้อนของกลุ่มเป้าหมายได้ทันสถานการณ์ การติดตั้งของระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนเป้าหมายดังกล่าวข้างต้นนี้อยู่ระหว่างกระบวนการติดตั้งและปรับใช้ประโยชน์โดยหน่วยงานท้องถิ่น โดยการเชื่อมโยงระบบจากฐานข้อมูล PPPConnext ของฐานข้อมูลกลาง www.pppconnext.com เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ใช้ในการวางแผนโครงการ-กำหนดกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่และดำเนินการส่งต่อข้อมูลเพื่อรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานรับผิดชอบในระดับจังหวัด

2. การพัฒนาแพลตฟอร์ม เชื่อมโยงภาคีในการแก้ไขปัญหาความยากจน ในรูปพหุภาคียุทธศาสตร์การสร้างและเสริมหนุนภาคีเครือข่าย (Collaborative Governance) จาก หลายภาคส่วน ทั้งกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้นำทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ตลอดจนหน่วยงานเอกชน และภาคประชาสังคมให้ร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ถือเป็นกลยุทธ (strategy) การทำงานพัฒนาที่นับว่าใหม่ในการดำเนินการในระดับพื้นที่ (ตำบล อำเภอ) ที่ต้องอาศัยการพัฒนาขีดความสามารถของภาคีเครือข่าย ที่มุ่งประสิทธิผลของรูปธรรมของการแก้ไขปัญหา (solutions) ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของกลุ่มต่างๆ ที่มาร่วมกันเป็นภาคีร่วมมือ เพื่อให้คาดการณ์ได้เท่าทันสถานการณ์ที่แปรผัน จนสามารถปรับกลวิธีที่ใช้ให้สามารถรับมือภาวะความผันแปรที่เกิดขึ้นได้อย่างทันต่อสถานการณ์ กลวิธีการจัดการและพัฒนาภาคีเครือข่ายจากภาคส่วนต่าง ๆ จนสามารถร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ และวางแผนปฏิบัติงานได้ ตลอดจนร่วมเรียนรู้จากการติดตามและประเมินผล จึงเป็นส่วนสำคัญแรก ที่ต้องชี้แจงและทำความเข้าใจกับทีมงานระดับอำเภอ การปรับบทบาททีมวิจัยของสถาบันการศึกษาที่รับผิดชอบแต่ละจังหวัด เรียนรู้บทเรียนจากปฏิบัติการในพื้นที่ ทั้ง 10 จังหวัด เพื่อให้การดำเนินงานมุ่งประสิทธิผล เอื้อต่อการสร้างทักษะ จัดทำแผนปฏิบัติที่มีผลลัพธ์เป็นการปรับแก้ไขความยากจนในพื้นที่ ภาคีเครือข่ายที่ร่วมงานกันนำใช้ระบบข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ฐานทุนดำรงชีพของครัวเรือนยากจน และการกำหนดกรอบวิเคราะห์บริบทพื้นที่ เพื่อออกแบบแนวทางเลือกในการแก้ไขปัญหาและจัดทำโครงการลดทอนภาวะความยากจน วิธีการและเครื่องมือที่ได้พัฒนาจากโครงการ สามารถนำมาปรับใช้กับรูปแบบและกลไกการจัดการแผนงานพัฒนาของอำเภอที่ดำเนินการอยู่ได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม การเสริมศักยภาพให้กับภาคีเครือข่ายระดับอำเภอลงไปจนถึงชุมชน ต้องมีการปรับใช้กลยุทธหรือกลวิธี (Tactics) ที่เหมาะสมกับปัญหาที่มีความเฉพาะตัวของแต่ละพื้นที่ ดังนั้นบทบาทสำคัญของทีมกลางในฐานะพี่เลี้ยงหรือโค้ชที่เข้าร่วมกับขับเคลื่อนงานกับทางจังหวัด และอำเภอ ต้องมีความสามารถในการสื่อสารทำความเข้าใจกับภาคีเครือข่ายในอำเภอ ซึ่งอาจมีข้อจำกัดในการเลือกใช้กลวิธีสำหรับที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับลักษณะเหตุปัจจัยเฉพาะของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ได้อย่างตรงจุดมากขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยสนับสนุนความรู้และข้อมูล มีภาคีหลักที่อาจประกอบด้วยหน่วยงานภาคเอกชนและภาคประชาสังคมทำหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือนคนจนกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการเชื่อมโยงวิเคราะห์ระบบข้อมูล การออกแบบทางเลือกการพัฒนาที่สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการและบริบท ตลอดจนการจัดทำเป็นโครงการแก้ไขความยากจนบรรจุลงในแผนท้องถิ่น นำไปสู่การพัฒนาเป็นแผนพัฒนาของอำเภอและเชื่อมโยงกับหน่วยงานหลักในระดับจังหวัด พัฒนาเป็นแนวทาง/กรอบตัวชี้วัดและแผนงานการปฏิบัติแก้ไขความยากจนอย่างมุ่งเป้า

3. การพัฒนายุทธศาสตร์แก้ปัญหายากจนระดับพื้นที่ ระบุให้ตำบลเป็นขอบเขตพื้นที่ปฏิบัติการสร้างรูปธรรมแก้จนด้วยข้อมูลที่มีการสอบทาน-เห็นชอบและใช้ร่วมกัน โดยมีอำเภอเป็นหน่วยบูรณาการให้มีความครอบคลุมทุกมิติของการจัดการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ นับตั้งแต่การจัดการระบบข้อมูลเพื่อมุ่งเป้าครัวเรือนคนจนเป้าหมาย การจำแนกสภาวะความยากจนของครัวเรือนเป้าหมายด้วยการศึกษา-วิเคราะห์ทุนของระบบดำรงชีพของครัวเรือน 5 มิติ การศึกษา-วิเคราะห์บริบทของพื้นที่เพื่อกำหนดสภาวะความยากจนพื้นที่ (Poverty Profile) การกำหนดเป้าหมายร่วมกันของภาคีที่เกี่ยวข้อง และการร่วมมือทำงานในรูปแบบการอภิบาลบนฐานความร่วมมือเพื่อสร้างการสนับสนุนของกลไกเชิงสถาบัน รวมถึงการติดตามข้อมูลสะท้อนผล (feedback loop) ซึ่งแสดงให้เห็นทางเลือกในการนำเอาคนจนออกจากความยากจนด้วยโมเดลแก้จนแบบต่างๆ ประกอบด้วย การส่งต่อเพื่อรับสวัสดิการ-ช่วยเหลือให้กลุ่มเปราะบาง การจัดระบบสวัสดิการให้ครอบคลุมทั้งสวัสดิการตามสิทธิของรัฐและความช่วยเหลือจากกลไกชุมชน-ท้องถิ่น และการทำโมเดลแก้จนที่เอื้อทั้งการสร้างรายได้และเสริมอาชีพให้กับกลุ่มที่ต้องการเสริมสร้างการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือนตนเอง ทั้งนี้โมเดลแก้จนสำหรับกลุ่มที่ขาดโอกาส หรือเสี่ยงจนนั้น เน้นการพัฒนาทักษะ เสริมความรู้โดยมีเป้าหมายการปรับสู่การเป็นผู้ประกอบการ ด้วยการประกอบอาชีพอย่างมีแบบแผนเชิงธุรกิจ (business model) ซึ่งทั้งนี้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของครัวเรือนเป้าหมาย โดยเปิดโอกาสให้ครัวเรือนยากจนเป้าหมายได้ฝึกทักษะในการใช้วิจารณญาณในการพิจารณาทางเลือก การวางแผนบริหารจัดการชีวิตที่สอดคล้องกับปัญหา-ความต้องการของตนเองเป็นสำคัญ

4. การกำหนดนโยบาย-มาตรการแก้ไขความยากจนระดับพื้นที่ด้วยระบบข้อมูลที่มีธรรมาภิบาลการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมุ่งเป้า เพื่อกำหนดนโยบายบนฐานข้อมูล-ความรู้เชิงประจักษ์ ควรเป็นการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลที่มีระบบธรรมาภิบาล ที่หมายถึง การพัฒนาฐานข้อมูลครัวเรือนคนจนให้ครอบคลุมประชากรกลุ่มเป้าหมายและสมบูรณ์ในทุกมิติ สามารถนำไปใช้ในการออกแบบนโยบายและมาตรการที่เหมาะสมตามสภาพปัญหาและความต้องการของประชากรกลุ่มยากจนในพื้นที่เป้าหมาย ได้อย่างสอดคล้องกับบริบทและศักยภาพของพื้นที่ ที่สำคัญคือ มีการเปิดโอกาสให้ประชากรกลุ่มยากจนและกลุ่มเปราะบางได้เข้าถึง รับรู้ถึงข้อมูล ของสิทธิประโยชน์ที่ตนเองพึงได้ รวมทั้งสามารถเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือและสวัสดิการที่รัฐจัดให้อย่างทั่วถึง
(1) การมีข้อมูลครัวเรือนยากจนที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบข้อมูลการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกมิติ เช่น ข้อมูลสถานะบุคคล ระบบข้อมูลทะเบียนราษฎร์ บัตรประจำตัว เป็นต้น ตลอดจนมีโครงสร้างการเชื่อมโยงกับข้อมูลหน่วยงาน-องค์กรระดับพื้นที่ ทั้งหน่วยตำบล อำเภอและจังหวัดที่ทำหน้าที่ให้การบริการและสนับสนุนแนวทางการประกอบอาชีพที่บรรจุอยู่ในแผนงาน-โครงการต่างๆ ของหน่วยงานเหล่านั้น ทั้งนี้เพื่อประกอบในการตัดสินใจกำหนดทางเลือกในการพัฒนาตนเองของกลุ่มเป้าหมาย
(2) ระบบข้อมูลควรออกแบบให้สามารถบันทึก-ประมวลผลอัตโนมัติ แสดงสถานะปัจจุบันของภาวะความยากจนระดับพื้นที่ ที่แสดงถึงสภาวะระดับความยากจนของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อการติดตามและเฝ้าระวัง มีระบบช่วยการบ่งชี้ที่แสดงถึงความต้องการบรรเทาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด ทันต่อสถานการณ์ หรือแสดงข้อมูลสถานะบ่งชี้ถึงระบบดำรงชีพของครัวเรือนใดที่มีแนวโน้มที่จะหลุดพ้นจากภาวะความยากจน ตลอดจนมีการแสดงผลในรูปสารสนเทศข้อมูล Data Visualizations ที่สื่อสารถึงตัวแบบการแก้ไขปัญหาความยากจน ที่พัฒนามาจากการใช้ประโยชน์ข้อมูลการแสดงผลลัพธ์การแก้ไขปัญหาความยากจนบนแอพพลิเคชั่น (Web-based application) เพื่อให้ข้อมูลการแก้ไขความยากจนสามารถเผยแพร่สู่สาธารณะ และเป็นกระบวนการสะท้อนกลับในการช่วยรับฟังข้อเสนอแนะการปรับปรุงระบบกับกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างสม่ำเสมอ

5. การเสริมสร้างโอกาสหารายได้และความมั่นคงด้านอาชีพให้กับกลุ่มเปราะบางในชุมชน
(1) การเพิ่มโอกาสในการทำงาน (Job Opportunities) โดยการสร้างระบบข้อมูลแรงงาน และติดตามสถานะการจ้างงานไว้รองรับการหางานทำ และการเปลี่ยนงาน และการสร้าง platform ช่วยหางาน/ขายสินค้าและบริการ ทั้งในระบบและนอกระบบที่เอื้อต่อการหารายได้เสริมในระดับชุมชน เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้จากหลายแหล่ง ซึ่งจะช่วยเป็นเบาะรองรับแรงกระแทกในการลดทอนผลกระทบที่มาจาก shocks /ที่อาจเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
(2) การสร้างแรงจูงใจหรือให้รางวัล (incentives & rewards) ที่สอดคล้องกับการเสริมทักษะหรือการเรียนรู้ใหม่ให้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส-กลุ่มคนต้องการรายได้-อาชีพที่ต่อเนื่อง นี้อาจรวมถึงกระบวนการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust) ความมั่นใจของกลุ่มครัวเรือนเป้าหมายที่มีลักษณะปิดกั้นทางสังคม สร้างเป็นเงื่อนไขให้เขาเหล่านั้นกล้าที่จะก้าวออกมาจากขอบเขตสังคมแบบเดิมของกลุ่มตน ให้เปิดรับโอกาสความเป็นไปได้ใหม่ๆ ด้วยการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ ทักษะจากการทดลองปฏิบัติการจริง เช่น กลุ่มช่างอาสาฯ ช่วยสร้างบ้านให้กับผู้ประสบภัยที่จังหวัดชัยนาท ที่ควรจะได้รับการสนับสนุนทั้งทุนเริ่มดำเนินการช่วยจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์เบื้องต้น และเครื่องมือช่างที่อาจมีราคาแพงในรูปแบบเช่าเพื่อใช้ทำงาน เป็นต้น
(3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดหางาน-มีงานทำ ควรทำหน้าที่จัดทำมาตรฐานทักษะสำหรับงานประเภทต่างๆ จัดทำแบบประเมินทักษะ เพิ่มพูนทักษะ และแนะนำแหล่งงานใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนการจัดหางานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น และควรหาแนวทางส่งเสริมการจัดหางานให้กับกลุ่มเปราะบางเป็นการเฉพาะ เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ กลุ่มที่ถูกเลิกจ้างที่อยู่ห่างไกลเมือง โดยออกแบบนวัตกรรมการจ้างงาน เช่น การจับคู่กันระหว่างนายจ้าง (งานเพื่อสังคม) ให้กับกลุ่มเปราะบางโดยตรง ผ่านการประสานงานกับกลุ่มผู้นำในระดับพื้นที่ในรูปแบบการช่วยเหลือเป็นกรณีเฉพาะ
(4) ควรปรับบทบาทหน่วยที่ทำหน้าที่จัดหางานให้เป็นผู้กำกับดูแลและสนับสนุน platform การหางานที่มีการริเริ่มโดยกลุ่มเอกชน/กลุ่มในระดับชุมชน ที่ริเริ่มการจัดหาตลาดงานที่หลากหลาย-เหมาะสมให้กับกลุ่มครัวเรือนเป้าหมาย กลุ่มเปราะบางที่มีความต้องการงานที่เหมาะสม และสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนในภาวะยากลำบาก
6. ส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ผ่านกระบวนการปรึกษาหารือ (Deliberative Democracy) กับพหุภาคี สร้างกระบวนการส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่กับกลุ่มภาคีหลายภาคส่วน-พหุภาคีในระดับพื้นที่(ตำบล อำเภอ) เป็นการกระจายอำนาจสู่ชุมชน-ท้องถิ่น ให้มีสำนึกในการจัดการปัญหา-ความเสี่ยงของตนเองอย่างรับผิดชอบ/ด้วยการสนับสนุนส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความยากจนในท้องถิ่นด้วยการกระจายอำนาจสู่ชุมชน-ท้องถิ่น ส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม-ชุมชน ท้องถิ่น ได้ตระหนักรู้และเข้าใจปัญหา เข้าใจถึงความต้องการและมีศักยภาพในการค้นหาทางเลือกในการพัฒนาชุมชน-ท้องถิ่นของตนเอง ด้วยการเสริมทักษะความรู้ การเรียนรู้ นวัตกรรมทางสังคม มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีการพัฒนาสร้างเสริมกระบวนการให้กลุ่มในชุมชน-ท้องถิ่น มีโอกาสเรียนรู้ กระบวนการในการกำหนดนโยบายที่เอื้อต่อสภาวะการดำรงชีพ และสามารถคาดการณ์ถึงสภาวะความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตที่ส่งผลกระทบต่อตนเอง ต่อกลุ่ม ชุมชนโดยที่สามารถระดมพลังความร่วมมือผ่านเครือข่ายของตนเองอย่างเป็นผู้กระทำ (active actors) ด้วยการวางแผนรับมือภาวการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม

Title

The Development of a Support System for Area Based on Comprehensive and Precise Poverty Alleviation Project (Phase 2)

Keywords

Precision Poverty,Multi-dimensional Poverty approach,Sustainable Livelihoods Framework

Abstract

Executive Summary The Project on The Development of a Support System for Area Based on Comprehensive and Precise Poverty Alleviation Project, second phase (1 June 2021-31 July 2022) has been continuously implementing from the first phase. The project took the lessons learned, both for the success and the limitations, for the improvement and expansion to the models and the integration of institutions and networks for practical poverty alleviation platforms in the 10 provinces’ working areas: Kalasin, Chainart, Pattani, Mukdaharn, Mae Hongsorn, Yasothorn, Srisaket, Sakhonnakorn, Surin, and Amnartchareon. Crucial agendas for the second phase of the Project covered the following: the improvement of the database system to the standard and quality assurance, the development of platform with multi-stakeholders’ participation and collaboration, support for applied innovation appropriate with limitations and potentials of the poor households, how can we make the expansion of work be accepted by agencies related and involved? Which process and knowledge that should be applied on poverty alleviation? and how to link all the mechanism on poverty alleviation?

Main research results are as follows:

1. The development of database system on effective poverty alleviation. There are both the design framework and the application of modern technologies on database system on poor households. In search for the target groups, after they are identified, there is the verification process at the working areas (on-site) and online. Database system of the poor in the Project was designed to have verification process with participation of the networks at local levels (sub-district-district). This is the way to decentralize and to allow access to data and area-based poverty profile to parties and networks of the Project. It will be the tool for monitoring the progress/ and or situation of the targeted poor both at district and provincial levels. The search result will be shown in data visualization in line with the five pentagon and indicators for the poor classification undertaken earlier. With the development of database system, agencies working with poverty alleviation can set condition with report producing and can quickly articulate the report with information required for the reference of the needy to the get the assistance in time. Currently, the database system of the poor is in the process of setting up into the offices of the Tambon Administrative Organization with the link from PPPConnext of the central database system (www.pppconnext.com). This is to facilitate the use of information at local level. Staff of the local authorities’ offices can use the information in planning for activities related to poverty alleviation and can send the report or information to get more assistance from responsible agencies at provincial level.

2. Setting up the platform of all strategic networks in poverty alleviation, for Collaborative management. They are from various sectors, like the government, non-governmental, private sector, civil society, formal and informal leaders, and the poor. It is the current strategy for working towards poverty reduction and human quality of life development that all stakeholders can work together effectively. Undertaking the strategic work at local levels (sub-distract and district levels) needs the capacities of all involved stakeholders and in a collaborative manner so that they can cope with and respond to the changes in time. The most important task is to make the common understanding of the teamwork at the district level on the concept and working approaches of the Project. The research teams of the high education institutions responsible for each province need to adjust their roles to work as facilitators and supporters for the collaborative governance at the district level. Capacities building for partners and involved stakeholders is also crucial as they must equally take part in poverty alleviation. From the lessons learned in working with 10 provinces during the last two years, the work will be effective if the partners and all stakeholders are able to analyze the situation of the poor in five dimensions with the data system so that the practical operation models can be planned properly. Adjusting strategies to be more focused to capacities building of partners at district and communities’ levels need to be areas specific with various tactics appropriated to situation and challenges in each area. Thus, important roles of the supporting team as Mentor or Coach working alongside with the research teams and networks at district level, depended very much on the capacity to communicate directly and adequately with partners and networks. Research teams took active roles for information, data and knowledge providing. Key partners composed of line agencies, NGOs, and civil society have been supporting the work in linking information and data from different sources to the data analysis related to the design of the Operating Model. Thus the lesson learned from this working process has encouraged line agencies to make sub-district development plans , led further to district development plans with guidelines and framework to indicators for precise poverty alleviation.

3. The development of area-based strategies for poverty alleviation. The sub-district was identified as implementation area for practical poverty alleviation with the application of verified data while the district worked as the integration unit of development plans for poverty alleviation as well as followed up on feedback loop on how the poor was taken out from the poverty cycle. Various operating models for different groups of the poor included: immediately transferring the most vulnerable group to government units responsible for welfares of the poor or in some cases we could transfer them to the support of communities’ mechanism. In case of the poor who have capacity to help themselves, appropriate operating models were designed as business model with the objectives to help them become the entrepreneurs. These activities were undertaken with participation of the poor from the start.

4.Identification of policy-measures on poverty alleviation with the governance of data system The undertaking of precise poverty alleviation to support policy design based on data system and evidence-based interventions should make use of the governance data system. The implication of governance data system is the development of data system to covering all target groups with the accuracy in every dimensions. Thus, the governance data system can be used in the policy design and measures suitable to the conditions of the poor and their context. The most important aspect of the governance data system is that the poor will have access to their own information, right and benefit they can receive. They then can analyze their own needs, capacities, and challenges. Findings from the Project included:
(1) To design for appropriate and effective operating models for different groups of the poor, we need to have verified and updated data of the poor households, their context. Information of the services and development plans of the line agencies responsible will be useful as well, as the poor can have more alternatives for decision making.
(2) The data system should be designed to allow for the record and data processing to update the situation of the poor at local level. The set of information should be presented as data visualization or dashboard which reveals of the operating models and the results of the implementation of the precise poverty alleviation on the web-based application. These processes then can be publicized and will work as feedback loop for improvement.

5. Increase job opportunities for vulnerable groups. Job opportunities was increased by the setting up of the data system on work force and the job availability in the areas. The data system served as platform for the vulnerable groups to find a job in the communities either formal or informal for additional income so that poor families can have social safety net in case of economic shocks. Recommendations to promote the increase of job opportunities.
(1) Making incentives and giving rewards related to skill trainings to the disadvantaged groups. For the social exclusion groups, there needs to start with trust building so that they have more confident to associate with others and open to new knowledge, information, and the chances to apply the skills. Example was from the constructor groups in Chainart Province. They are classified as poor but with skills in building and construction. They were given chances to renovate houses damaged from flood disaster. This has given them more confident in their capacity and made this known to the society and it can become their long-term income generation with the support of funding for equipment and materials for the start.
(2) Line agencies related to recruitment should set up standard of skill sets for different types of work, measures for skills evaluation, skills training, and introduction to sources of new jobs. These are to promote more effective for job opportunities. There should also be specific job opportunities and recruitment for vulnerable groups like vulnerable groups, senior citizens, laid-off groups. It can be done by matching the employers and employees through leaders in the communities.
(3) The roles of line agencies related to recruitment should be adjusted to monitor and support platform for job opportunities for the poor and vulnerable groups, initiated by private sector at local level.

6. Promote Deliberative Democracy among multi-stakeholders and partners at sub-district and district levels. This is the strategy to decentralize the authority to communities in taking parts of managing their own problems and risks. The direct stakeholders are strengthened to be aware of their own problems, potentials, and capacities to analyze the problems they have faced and their alternatives to solve those problems. The work has been undertaken by skills training on various related technics and analytical skill so that the vulnerable groups can assess for the risks which might impact their livelihoods and then as groups, they should be able to collaborate among their networks in planning to respond to the changes as active actors.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น