โครงการพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 45 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13M630011
นักวิจัย นายแมน ปุโรทกานนท์
หน่วยงาน -
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 15 เมษายน 2020
วันที่สิ้นสุด 14 มิถุนายน 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย กาฬสินธุ์, ชัยนาท, ปัตตานี, มุกดาหาร, แม่ฮ่องสอน, ยโสธร, ศรีสะเกษ, สกลนคร, สุรินทร์, อำนาจเจริญ

ชื่อโครงการ

โครงการพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ

คำสำคัญ

ลดความยากจนแบบมุ่งเป้า,ความยากจนหลายมิติ,ระบบการดำรงชีพอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) Program Management Unit on Area Based Development ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัย “การพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ”( The Development of a Support System for Area Based on Comprehensive and Precise Poverty Alleviation Project. ) ที่มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างแพลตฟอร์มการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ (Personalize Poverty Alleviation : PPA) ดำเนินการในเชิงยุทธศาสตร์ โดยมีการสำรวจครัวเรือนยากจนและประเมินข้อมูลทุนพื้นฐาน ศึกษาบริบทพื้นที่วิเคราะห์ปัญหา รวมทั้งกระตุ้นการขับเคลื่อนของหน่วยงานภาครัฐและมหาวิทยาลัยในพื้นที่ให้เป็นหน่วยประสานกับผู้มีส่วนได้-ส่วนเสีย (กลุ่มคนจนระดับต่างๆ) ในการร่วมกันแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งทำให้เกิดการพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้เกิดการแก้ไขปัญหาความยากจนจากระดับท้องถิ่นสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนจนอย่างตรงเป้าในระดับประเทศ ช่วงเริ่มต้นโครงการใช้ Thai People Map and Analytics Platform (TPMAP) เป็นฐานข้อมูลเบื้องต้น มีจำนวนคนจนรวม 131,040 คน โจทย์ของโครงการวิจัยฯ ต้องการค้นหาว่า “คนจนอยู่ที่ไหน จนเพราะอะไร และจะพ้นความจนได้อย่างไร” โครงการวิจัยฯ จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการทำงานดังนี้ (1) ทบทวนหลักการ แนวคิด แนวทาง และพัฒนาการการแก้ไขปัญหาความยากจนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการ monitor ข้อมูลและ movement การแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศและพื้นที่ (2) ออกแบบกลไก กระบวนการ เครื่องมือ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพการทำงานช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความยากจนของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ 10 จังหวัด (3) ติดตาม วิเคราะห์ และหนุนเสริมกลไกการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจน และ (4) ประมวล สังเคราะห์ความรู้จากการทำงานเชิงพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาความยากจน และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โดยกำหนดพื้นที่วิจัย 10 จังหวัดนำร่อง การดำเนินงานโครงการฯ มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาคนจนกลุ่มเป้าหมาย 20% ล่าง ผ่าน 3 กระบวนการหลักประกอบด้วย 1) การค้นหา (Targeting) สอบทาน (Verification) ข้อมูล และสำรวจทุนคนจนและครัวเรือนระดับพื้นที่ 2) การสร้างระบบส่งต่อความช่วยเหลือไปยังหน่วยงาน ภาคีต่างๆ และ 3) การออกแบบโครงการช่วยเหลือคนจนอย่างตรงเป้า (Operating Model) สอดคล้องกับบริบทและคนจนเป้าหมาย สร้างการเรียนรู้ พัฒนาทักษะในการดำรงชีพ นำไปสู่การเสริมสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนจนกลุ่มเป้าหมาย นิยามและการวัดความยากจน แนวทางการทำความเข้าใจสภาวะความยากจนใน 2 แนวทาง โดยผสมผสานกรอบวิเคราะห์ 2 แบบ เข้าด้วยกัน โดยดำเนินการนำเข้าข้อมูลของกลุ่มคนที่ขัดสนทั้งในเชิงเศรษฐกิจหรือรายได้ กับข้อมูลเชิงคุณภาพที่อธิบายภาวะทางสังคมที่นำมาจากระบบบข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) และนำมาศึกษาศักยภาพหรือทุนของครัวเรือนคนยากจนมิติต่างๆ ด้วยกรอบการดำรงชีพแบบยั่งยืน (Sustainable Livelihood Framework) รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ทั้งที่เกื้อหนุนและความเสี่ยงที่ครัวเรือนเหล่านั้นต้องประสบ ทั้งนี้การ กำหนดนิยาม “คนจน” หมายถึง กลุ่มคนที่ขาดแคลนทุนพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่ส่งผลให้ครัวเรือนมีโอกาสในการสร้างทางเลือกหรือกลยุทธ์ในการดำรงชีวิตอย่างจำกัด โดยแบ่งได้ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 อยู่ลำบาก : กลุ่มที่มีความขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ต้องดำเนินการนำเข้าสู่ระบบสวัสดิการโดยเร่งด่วน กลุ่มที่ 2 อยู่ยาก : กลุ่มที่มีปัจจัยพื้นฐานเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ในแต่ละวัน ซึ่งต้องเร่งดำเนินการจัดหาปัจจัยดำรงชีพ/หรือยกระดับความสามารถในการจัดหาปัจจัยดำรงชีพให้พออยู่ได้ กลุ่มที่ 3 อยู่ได้ : กลุ่มที่มีฐานทุนสำหรับการดำรงชีพ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะอยู่รอดได้อย่างปลอดภัยหากประสบกับภาวะความแปรปรวนต่าง ๆ จำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกัน และยกระดับความเป็นอยู่ให้หลุดพ้นจากสภาวะความขาดแคลน/เปราะบาง กลุ่มที่ 4 อยู่ดี : กลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่อสภาวะความแปรปรวน/ความเสี่ยงต่างๆ มีฐานทุนในด้านต่าง ๆ ที่เพียงพอในการวางแผนอนาคตของตนเอง ครอบครัว และเป็นฐานทุนในระดับชุมชนได้ ผลการดำเนินงาน ระยะเวลา 1 ป? 2 เดือน ของการทำงานโครงการเพื่อแก?ไขป?ญหาความยากจนในพื้นที่ 10 จังหวัด มีดังนี้ 1.มีระบบข้อมูลที่แม่นยำ มีประสิทธิภาพ เพื่อเชื่อมโยงสู่ระบบแผนพัฒนาจังหวัด 2. มีการพัฒนาระบบส่งต่อความช่วยเหลือกรณีปัญหาคนจนตกสำรวจให?เข้าสู่ระบบบริการของรัฐ 3. มีการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่นำร่อง 4. มีการพัฒนาระบบค้นหา สอบทานระดับท?องถิ่น 5. มีการจัดทำข?อเสนอ แนวทางการนำข้อมูลคนจนที่พ้นความยากจนออกจากระบบ

Title

The Development of a Support System for Area Based on Comprehensive and Precise Poverty Alleviation Project

Keywords

Precise Poverty Alleviation,Multi-dimensional Poverty Approach,Sustainable Livelihoods Framework

Abstract

The Office of National Higher Education Science Research and Innovation Policy Council (NXPO) by the Program Management Unit on Area Based Development has given the full support to the Project on “The Development of a Support System for Area Based on Comprehensive and Precise Poverty Alleviation”. With the main objective to build the platform for personalized poverty alleviation (PPA), the project has been working strategically with the survey of poor households, and assessment of their capitals for sustainable livelihoods. The context of the working areas and problems are analyzed. The project seriously focused and supported on mobilizing the energetic engagement of the government agencies and universities in the working areas to work as coordinating unit with the stakeholders (poor people at different levels) in solving the problems and influencing for the systematic development working approaches for poverty alleviation at local level through policy recommendation for the precise poverty alleviation at the national level. At the beginning of the project, Thai People Map and Analytics Platform (TPMAP) was used basic database. The number of poor people identified by the TPMAP was 131,040. Research questions are “Where are poor people? Why are they poor (What are the reasons for becoming poor?) and how can the poor moving out from poverty? The Project thus identified the objectives (and working processes) as follows: (1) Review concepts, principles, and guidelines to develop poverty alleviation from experiences in the country and internationally, including monitoring of information on the development of poverty alleviation at national and local levels, (2) Design for the mechanism, processes, tools, including capacity building for the universities partners’ teams working on poverty alleviation in 10 provinces of the project’ areas. (3) Monitor, analyze the working situation and support for the area-based working mechanism for precise poverty alleviation, (4) collect and synthesize working knowledge from 10 provinces pilot projects, and prepare for policy recommendation on precise poverty alleviation. Results of the project work: During the first phase of one year and two months in 10 provinces, the results of precise poverty alleviation are as follows: 1. Targeting and verification (of the poor) system Develop targeting and verification (of the poor) system at local level, the tools and processes can be replicated in other areas, 2. Classification and grouping of the targeted poor. Set up the process with tools to classify different groups of the poor. This will help prioritize the need to work with which group orderly. Information of four different groups is explained further down below. 3. Precise database With the effective and precise database of the targeted poor of the project, information can be linked to the provincial development plan, the poor can benefit from the government plan at provincial level, 4. Referring system With the precise information of the targeted poor, they can be referred to relevant line agencies or partners in different sections, (especially the poor who are missing from the official survey and database), and bring them into the official services system as it should have been, 5. Operating Model The project is working on the Operating Model in line with the context of the targeted poor. The development projects for poverty alleviation in the pilot areas were organized as well as creating the learning opportunities for the targeted poor to develop their skills in sustainable livelihoods. 6. Proposal and guideline to clarify the database of the poor The project is working on the proposal and guideline to clear out the information of the poor who are already move out the poverty standard. Definition and measurement of the poverty (from the project result no.2- Classification and grouping of the targeted poor.) Guidelines to understand the conditions of poverty are formulated by the combination of two types of framework: Sustainable Livelihood Framework (SLF) and contextual analysis. Thus, poor people are classified and identified into four groups upon their living conditions and livelihoods strategies. They are as follows: Group 1. living is in trouble (in trouble): They do not have enough fundamental needs for their living. They are immediately referred to the welfare system. Group 2. They live with the hardship. (Live with hardship): They have only basic needs for their everyday life only. There is need to acquire the more profound fundamental capital for longer period of time. Group 3 They are able to live. (Able to live): This group has basic needs for their living but will be vulnerable if facing with changes. Group 4 They have resilience in their living: this group of the poor can face with changes and can plan for their future. The will do well and can be the resources for the local level if they get support for the planning and extra capitals.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น