การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการจับคู่อุปสงค์และอุปทานสินค้าเกษตรในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ

cover

สถิติการเปิดชม ครั้ง
สถิติการดาวน์โหลด 26 ครั้ง

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็ม


เลขที่สัญญา A13F630087
นักวิจัย รองศาสตราจารย์ ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์
หน่วยงาน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ทุนวิจัย โครงการ Flagship ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ปีงบประมาณ 2563
แผนงานหลัก มหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่
แพลตฟอร์ม Platform 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ
โปรแกรม P13 นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม
Flagship FS 21: มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่
วันที่เริ่มต้น 1 กันยายน 2020
วันที่สิ้นสุด 30 เมษายน 2021
ระยะเวลา 1 ปี
สถานที่ทำวิจัย ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี

ชื่อโครงการ

การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการจับคู่อุปสงค์และอุปทานสินค้าเกษตรในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ

เศรษฐกิจดิจิทัล,แพลตฟอร์มดิจิทัล,เกษตรอินทรีย์,อุปสงค์,อุปทาน

บทคัดย่อ

ชุดโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่

  1. เพื่อรวบรวมข้อมูลกำลังการผลิตผลิตผลทางการเกษตร (เกษตรอินทรีย์) ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ
  2. เพื่อรวบรวมข้อมูลความต้องการผลิตผลทางการเกษตร (เกษตรอินทรีย์) ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ
  3. เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการซื้อขายผลิตผลทางการเกษตร (เกษตรอินทรีย์)

โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 โครงการย่อย นอกจากนี้ โครงการกลางดำเนินงานเพื่อประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ สร้างความเข้าใจและการรับรู้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสาธารณะ ในโครงการย่อยที่ 1 แพลตฟอร์มดิจิทัล Omart สำหรับการซื้อขายสินค้าเกษตร (เกษตรอินทรีย์) ซึ่งสามารถเข้าถึงผ่านเว็บบราวเซอร์ (web browser) ที่ https://omart.ubu.ac.th และแอปพลิเคชันไลน์ (LINE) ที่ @923lbtlg ได้ถูกพัฒนาขึ้น แพลตฟอร์มดิจิทัล Omart มีฟังก์ชันรองรับการใช้งานสำหรับ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้ขายหรือเกษตรกรซึ่งจะสามารถประกาศขายผลิตผลทางการเกษตรอินทรีย์หรือเลือกขายผลิตผลทางการเกษตรอินทรีย์ได้ กลุ่มผู้ซื้อซึ่งจะสามารถประกาศซื้อผลิตผลทางการเกษตรอินทรีย์หรือเลือกซื้อผลิตผลทางการเกษตรอินทรีย์ได้ และกลุ่มผู้รวบรวมซึ่งจะสามารถบริหารจัดการการซื้อขายผลิตผลทางการเกษตรอินทรีย์ในรูปแบบกลุ่มหรือเครือข่ายได้ จากการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัล Omart มีบัญชีผู้ใช้งานที่ลงทะเบียนรวม 596 บัญชี บัญชีจำนวน 228 บัญชีซึ่งเป็น ผู้ซื้อ บัญชีจำนวน 157 บัญชีซึ่งเป็นผู้ขาย จำนวนรายการซื้อขายรวมเท่ากับ 387 รายการ โดยคิดเป็นมูลค่า 212,966 บาท ในโครงการย่อยที่ 2 และ 3 ข้อมูลกำลังการผลิตผลิตผลทางการเกษตรอินทรีย์ได้ถูกรวบรวมมาจากเกษตรกรในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ ข้อมูลความต้องการผลิตผลทางการเกษตรอินทรีย์ได้ถูกรวบรวมมาจากกลุ่ม 4 ร ได้แก่ โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม และร้านอาหารในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ ผลจากการวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทานแสดงให้เห็นว่าความต้องการผลิตผลทางการเกษตรอินทรีย์มีมากกว่าผลิตผลทางการเกษตรอินทรีย์ที่สามารถผลิตได้ในปัจจุบัน นอกจากแพลตฟอร์มดิจิทัล Omart ที่ทำหน้าที่เป็นช่องทางสำหรับการซื้อขายสินค้าเกษตรอินทรีย์แล้ว แพลตฟอร์มดิจิทัลยังทำหน้าที่เป็นแหล่งสารสนเทศเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งถูกจัดทำขึ้นและเผยแพร่ในรูปแบบการแสดงผลข้อมูลแบบตอบสนอง (dashboard) คณะผู้วิจัยได้ขับเคลื่อนและผลักดันการนำไปใช้ประโยชน์ผลผลิตของชุดโครงการวิจัยผ่านเครือข่ายความร่วมมือที่ได้สร้างขึ้นกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร

Title

Development of Digital Platform for Agricultural Product Demand-Supply Matching in Ubon Ratchathani and Sisaket Provinces

Keywords

digital economy,digital platform,organic agriculture,demand,supply

Abstract

This research project has 3 objectives

  1. to collect data on production capacity of (organic) agricultural products in Ubon Ratchathani and Sisaket provinces.
  2. to collect data on consumption needs of (organic) agricultural products in Ubon Ratchathani and Sisaket provinces.
  3. to develop a digital platform for organic agricultural products trading as the operation is divided into 3 sub-projects.

In addition, a central project carries out an operation for making public relations, publishing, and making understanding and recognition to stake holders and public. In the sub-project 1, a digital platform Omart for (organic) agricultural products trading that can be accessed via a web browser at https://omart.ubu.ac.th and via the application LINE at @923lbtlg was developed. The digital platform Omart has functions supporting for 3 main groups including a group of merchants or organic farmers which can post for selling organic agricultural products or elect to sell organic agricultural products, a group of shoppers which can post for purchasing organic agricultural products or elect to buy organic agricultural products, and a group of collectors which can manage an organic agricultural product trading within their group or network. From the usage of digital platform Omart, there are a total of 596 accounts registered. There are 228 accounts who are a buyer while there are 157 accounts who are a seller. There are a total of 387 transactions of purchase that value 212,966 Baht. In the sub-projects 2 and 3, data on production capacity of organic agricultural products were collected from farmers in Ubon Ratchathani and Sisaket provinces. Data on consumption needs of organic agricultural products were collected from the so-called 4 group including hospitals, schools, hotels, and restaurants in Ubon Ratchathani and Sisaket provinces. Results on demand and supply analysis indicate that at present consumption needs of organic agricultural products is greater than organic agricultural products that can be produced. In addition to the digital platform Omart that serves as a channel for trading organic agricultural products, the digital platform also serves as an information source for organic agricultures in Ubon Ratchathani and Sisaket provinces that is created and published in a form of interactive dashboard. Researchers have driven and urged for utilization of this research projects outputs through a cooperation and networks built up with various organizations including public and private sectors and also farmers.

สำหรับสมาชิกเท่านั้น