ชื่อโครงการ
การยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภา-ขนมลา สู่การเป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์จังหวัดนครศรีธรรมราชคำสำคัญ
จักสานย่านลิเภา,ขนมลา,ผลิตภัณฑ์ชุมชน,นครศรีธรรมราชบทคัดย่อ
ผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภา-ขนมลาเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยกระบวนการผลิตที่เกิดจากการสั่งสมองค์ความรู้และภูมิปัญญามารุ่นต่อรุ่น จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ จักสานย่านลิเภา-ขนมลามีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่น ๆ และยังถือได้ว่าเป็นสินค้าในตลาดเฉพาะกลุ่ม (niche market) ที่มีความได้เปรียบในการลดการแข่งขันจากตลาด ที่มีขนาดใหญ่กว่า อีกทั้งกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทานมีการใช้ทั้งทรัพยากรและแรงงาน ในท้องถิ่นเกือบทั้งสิ้น ดังนั้นหากสามารถยกระดับผู้ประกอบการจักสานย่านลิเภา-ขนมลาให้ดีขึ้นได้ ก็จะสามารถช่วยยกระดับเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่นครศรีธรรมราชให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลง ได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามจากการเปิดเวทีวิเคราะห์ประเด็นปัญหาของผู้มีส่วนได้เสียทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ หน่วยจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ และนักวิจัย พบประเด็นปัญหาหลัก คือ ผู้ประกอบการยังขาดองค์ความรู้และสมรรถนะในการบริหารจัดการธุรกิจของตนเอง ดังนั้น ชุดโครงการวิจัยการยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภา-ขนมลาสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ อัตลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการวิจัย 4 ข้อ ประกอบด้วย 1) เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับการผลิตจักสานย่านลิเภา-ขนมลาสู่ผลิตภัณฑ์ อัตลักษณ์ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีการจัดการห่วงโซ่คุณค่าใหม่ (New Value Chain) 2) เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสำหรับการผลิตจักสานย่านลิเภา-ขนมลาสู่ผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช 3) เพื่อวัดอัตราการเติบโตของมูลค่าเศรษฐกิจฐานรากและมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน สำหรับการผลิตจักสานย่านลิเภา-ขนมลาสู่ผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช และ 4) เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการเชิงพื้นที่สู่การสร้างผู้ประกอบการจักสานย่านลิเภา-ขนมลาในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีโครงการวิจัยภายใต้ ชุดโครงการจำนวน 17 โครงการ แบ่งเป็นโครงการพัฒนาผู้ประกอบการขนมลา จำนวน 8 โครงการ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการย่านลิเภา จำนวน 8 โครงการ และโครงการหนุนเสริมและการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานโครงการวิจัย จำนวน 1 โครงการ และมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการรวม 11 กลุ่ม แบ่งเป็นผู้ประกอบการขนมลา จำนวน 6 กลุ่ม และกลุ่มย่านลิเภา จำนวน 5 กลุ่ม จากการดำเนินโครงการพบว่า 1) สามารถสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของผลิตภัณฑ์ขนมลา จำนวน 22 ห่วงโซ่ มีการกระจายรายได้ภายในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 99.64 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่ม (value added) ในช่วง ต่ำ-สูง เฉลี่ยมูลค่าผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นตั้งแต่ 2.06 ถึง 7,546.38 เปอร์เซ็นต์ ฝและสร้างห่วงโซ่คุณค่าใหม่ของผลิตภัณฑ์ย่านลิเภา จำนวน 9 ห่วงโซ่ มีการกระจายรายได้ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 100 เปอร์เซ็นต์ โดยปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการจดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ต่อไป 2) เกิดผลผลิตที่จับต้องได้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จำนวน 12 รายการ ได้แก่ เครื่องจักตอกรีด เครื่องผลิตภัณฑ์ย่านลิเภา กระเป๋าหนังผลิตภัณฑ์ย่านลิเภา ลวดลายของผลิตภัณฑ์จักสานย่านลิเภา บรรจุภัณฑ์สินค้าย่านลิเภาและงานสื่อสาร กลยุทธ์การตลาดและช่องทางการ จัดจำหน่ายย่านลิเภาออนไลน์ สารสกัดยืดอายุผลิตภัณฑ์ขนมลา ไมโครเวฟสำหรับการอบแห้ง ขนมลากรอบ ผลิตภัณฑ์ขนมลาสอดไส้ ระบบบำบัดน้ำเสียด้วยถังปฏิกรณ์ไร้อากาศ รูปแบบบรรจุภัณฑ์ขนมลา สื่อขนมลาออนไลน์ และผลผลิตที่จับต้องไม่ได้เป็นชุดองค์ความรู้ จำนวน 6 รายการ ได้แก่ ข้อมูลภูมิปัญญาย่านลิเภา หลักสูตรช่างเครื่องถมพันธุ์ใหม่ ห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ย่านลิเภา ข้อมูลด้านคติชนวิทยาของขนมลา ห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ขนมลา และสมรรถนะการจัดการการเงิน แบบธุรกิจ 3) รายได้ของกลุ่มผู้ประกอบการหลังการวิจัยมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญในทุกกลุ่ม ในส่วนของโครงสร้างการกระจายรายได้พบว่าการประกอบการจักสานย่านลิเภามีโครงสร้างการกระจายรายได้ภายในจังหวัดนครศรีธรรมราช 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการประกอบการขนมลา ส่วนใหญ่ก็มีโครงสร้างการกระจายรายได้ภายในพื้นที่เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกัน 4) เกิดการพัฒนาระบบกลไกและแนวทางการบริหารจัดการเชิงพื้นที่สู่การสร้างผู้ประกอบการจักสานย่านลิเภา-ขนมลาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านการยกระดับผู้ประกอบการชุมชน ในปัจจัยของผู้ประกอบการ ปัจจัยผลิตภัณฑ์สินค้า และปัจจัยของตลาด ด้วยการจัดการองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน ในการประกอบการ ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านการสื่อสารแบรนด์ ด้านการตลาด (อุปสงค์-อุปทาน) และด้านการผลิต แม้ว่าทางชุดโครงการวิจัยได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับมูลค่าของผลิตภัณฑ์และการพัฒนาสมรรถนะความเป็นผู้ประกอบการแล้วก็ตาม แต่กลับพบว่าผลรายได้ของผู้ประกอบการ ไม่สามารถเพิ่มขึ้นเกินร้อยละ 15 ตามที่ตั้งเป้าไว้นั้น เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดในจังหวัดนครศรีธรรมราชในวงกว้าง ส่งผลให้มีมาตรการยกเลิกการจัดงานเทศกาลเดือนสิบ ยิ่งไปกว่านั้นผู้ประกอบการบางรายมีการติดเชื้อโควิดจนต้องหยุดประกอบการอีกด้วย อย่างไรก็ตามทั้งผลผลิตที่เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าใหม่รวมถึงสมรรถนะของผู้ประกอบการที่เกิดจากงานวิจัยนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการนำพาธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้ และเป็นปัจจัยที่ช่วยเร่งการฟื้นตัวของกลุ่มผู้ประกอบการเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงในอนาคต
Title
The Enhancement and Value Added in Lipao Handicraft Products and Kha Nom La to Nakhon Si Thammarat Provinces Identity-Based ProductsKeywords
Lipao Handicraft Products,Kha nom Lah,Community Products,Nakhon Si ThammaratAbstract
Lipao handicraft products and Kha Nom La were among important products of Nakhon Si Thammarat province. Lipao handicraft products and Kha Nom La showed their local unique identities that were different from other products according to the production processes filled with the accumulated knowledge and local wisdoms over generations. They were also products in the niche markets with the competitive advantages from reducing the competition in the bigger mass markets. Further, most of local resources and labors were used throughout their supply chains. If Lipao handicraft and Kha Nom La entrepreneurs’ skills are enhanced, local economy in Nakhon Si Thammarat area will be boosted up and show empirical evidences of change. However, when holding a meeting with stakeholders from public sectors, private sectors, entrepreneurs, the area-based research management unit, and researchers, key problems were found. That was the entrepreneurs lacked of knowledge and capabilities for management their own businesses. The research project ‘The enhancement and value added in Lipao handicraft products and Kha Nom La to Nakhon Si Thammarat province’s identity-based products’ aimed 1) to enhance and add value to community products for producing Lipao handicraft and Kha Nom La to Nakhon Si Thammarat province’s identity-based products with their new value chain, 2) to research and develop the innovation for producing Lipao handicraft-Kha Nom La to Nakhon Si Thammarat province’s identity-based products, 3) to measure the growth rate of local economy and value of community products for producing Lipao handicraft and Kha Nom La to Nakhon Si Thammarat province’s identity-based products, and 4) to develop the system and mechanism for area-based management to build the entrepreneurship of Lipao handicraft and Kha Nom La in Nakhon Si Thammarat province. There were 17 research projects under this research program. They consisted of 8 projects focusing on developing Kha Nom La entrepreneurships, 8 projects highlighting in developing Lipao entrepreneurships, and 1 project supporting and increasing the efficiency of research project performances. There were 5 Kha Nom La entrepreneurs and 5 Lipao entrepreneurs. From the research, it was found that 1) the research could build 22 new value chains of Kha Nom La products with 99.64% of income internally distributed in Nakhon Si Thammarat province. The average value added for products were increased from 2.06 to 7,546.38%. There were 9 new value chains of Lipao handicraft products with 100% of income internally distributed in Nakhon Si Thammarat province. Currently, the research outputs were under intellectual property registration for future commercial use. 2) There were 12 new tangible products which were yanlipao smoothing machines, Lipao handicraft products, Lipao handicraft decorated with leather bags, patterns of Lipao handicraft products, packaging for Lipao handicraft products, and communication, marketing strategies, and online distribution channels for selling Lipao handicraft products, life cycle extension extract for Kha Nom La, microwave oven for dried crispy Kha Nom La, stuffed Kha Nom La products, wastewater treatment system with anaerobic reactor, packaging for Kha Nom La, and online media for Kha Nom La. There were intangible outputs which were 6 sets of knowledge; namely, information about Lipao wisdoms, courses for new generation of nielloware artisans, value chain for Lipao handicraft products, folkloristic of Kha Nom La, value chain for Kha Nom La, and business capability in financial management, 3) Income of all entrepreneurs after joining the research project tended to significantly decrease. In terms of income distribution infrastructure, it was found that Lipao handicraft entrepreneurships showed 100% of internal income distribution. Kha Nom La entrepreneurships also showed almost 100% of internal income distribution. 4) the system and mechanism for area-based management were developed to build the entrepreneurship of Lipao handicraft and Kha Nom La in Nakhon Si Thammarat province via boosting up local entrepreneurs with 4 entrepreneurial factors; namely, finance, brand communication, marketing (demand-supply), and production. Although the research program developed the products to enhance the value of products and developed the entrepreneurial capabilities, the income of the entrepreneurs were unable to go beyond 15% as targeted. That was because of serious COVID-19 pandemic outbreak in Nakhon Si Thammarat at that time. The 10th lunar month festival was cancelled. Some entrepreneurs were COVID-19 patients and had to stop their businesses. However, both outputs from new value innovation and entrepreneurial capabilities emerging from this research program would be essential factors leading the local businesses in facing the crisis. They would also be the factors to accelerate the economic recovery of the entrepreneurs after the COVID-19 situation.